กระบวนการมีส่วนร่วมการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

By admin, เดือนมกราคม 31, 2012

แบบจัดเก็บความรู้ในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

ความรู้ในการปฎิบัติงาน เรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

เจ้าของความรู้ชื่อ นายชัยชาญ    นิ่มนวล

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงดาว

วันที่บันทึกความรู้ ๒๔  มกราคม   ๒๕๕๕

วัตถุประสงค์ของความรู้ :  เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ

กระบวนการ/ขั้นตอน/วิธิปฎิบัติ

การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เป็นประจำทุกปีในพื้นที่หมู่บ้าน/ตำบล มักพบปัญหา ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้เกิดการพึ่งพาตนเอง    จากประสบการณ์ การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. สามารถสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบูรณาการระหว่างหน่วยงานยังขาดการทำความเข้าใจที่ชัดเจน ต่างคนต่างทำ ดังนั้นแนวทางการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้

๑.      ประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลระดับอำเภอ/ตำบล เพื่อการทำความเข้าใจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างชัดเจน

๒.    คณะทำงานฯ ระดับตำบล ต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดของตัวชี้วัดอย่างชัดเจน  เพื่อสามารถเป็นพี่เลี้ยงและแนวร่วมในการทำความเข้าใจกับผู้จัดเก็บข้อมูลและชาวบ้าน

๓.    คณะทำงานฯ ระดับตำบลต้องมีการแลกเปลี่ยน เพื่อหาข้อยุติ ในการใช้ประชุมชี้แจงผู้จัดเก็บข้อมูล

๔.    คณะทำงานฯ ระดับตำบลต้องเข้าร่วมในการชี้แจงผู้จัดเก็บข้อมูลและแบ่งความรับผิดชอบในการทำความเข้าใจตัวชี้วัด รวมทั้งแบ่งภาระกิจในกานติดตามให้ชัดเจน เพื่อเกิดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คณะทำงานฯ ติดตามการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.อย่างสม่ำเสมอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อนำมาแก้ไขปัญหา

ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง

๑. ต้องมีใจเป็นกลาง เน้นข้อมูลที่ได้ไม่โน้มเอียงไปทางใด ทางหนึ่ง

๒. รับฟังข้อมูล และวิเคราะห์ในทุก ๆ ด้าน

๓. ต้องระมัดระวังคำพูดทุกคำ คำถามที่ได้ถามออกไปเพราะอาจไปกระทบความรู้สึกของคณะทำงาน

๔, ภาษาที่ใช้ต้องต้องสามารถสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ

๕. ให้กำลังใจคณะทำงานฯ ในการปฎิบัติงาน

Leave a Reply

OfficeFolders theme by Themocracy