การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย OTOP
ความคิดเห็น (36)
แบบบันทึกองค์ความรู้
ชื่อ-นามสกุล นางสินิทธิ์ ณ น่าน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ โทร. 053- 826630
ชื่อเรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย OTOP
เป็นการการส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP และการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการตลาด
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2554
สถานที่เกิดเหตุการณ์
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปีงบประมาณ 2553
จำนวน 30 ราย แยกเป็น
ประเภทผ้า/เครื่องแต่งกาย 18 ราย ประเภท ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 7 ราย
ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 1 ราย ประเภทเครื่องดื่ม 1 ราย ประเภทอาหาร 3 ราย
อาชีพทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วิถีชีวิตและภูมิปัญญา
ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนานและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ล้วนมีคุณค่าที่จะนำมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก
ภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานเศรษฐกิจ ของ
ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการรวมกลุ่มของประชาชนระดับฐานราก ในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ในท้องถิ่นให้เป็น
ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างพลังการ
พึ่งตนเองและ ช่วยเหลือกันของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับ
กลุ่ม ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่างๆให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตามแนว ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนา ต่อยอดไปถึงระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อไป
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
คณะกรรมการเครือข่าย OTOP อำเภอจอมทอง เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนในการดำเนินงานผสมผสานแนวคิด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำงาน โดยการนำศักยภาพของคน/กลุ่มในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาสู่การเป็น
สินค้า OTOP ในการบริหารจัดการเครือข่าย OTOP ของอำเภอจอมทอง ให้ประสบผลสำเร็จเกิดจาก
1.เครือข่ายมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม
2. เครือข่ายมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
3. เครือข่ายมีแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมที่ชัดเจน
4. เครือข่ายมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน
5. สมาชิก/กลุ่ม ยอมรับและปฏิบัติตามกฎระเบียบเครือข่าย
แก่นความรู้ (Core Competency)
1. การสร้างเครือข่ายควรมาจากการสมัครใจของกลุ่มที่จะดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างกลุ่ม OTOP
ด้วยกัน ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบ
สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้
2. การสร้างเครือข่ายร่วมกันควรมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม
3. เครือข่ายควรมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม สามารถประสานงานติดต่อกับทุกภาค
ส่วนได้
4. เครือข่ายต้องประสานความร่วมมือกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
5. เครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีต่างๆ ระหว่างเครือข่ายด้วยกัน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. สร้างความเข้าใจและ มีทัศนคติที่ดีร่วมกัน ประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP /กลุ่มอาชีพอย่าง
สม่ำเสมอ
2. สนับสนุนส่งเสริมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาสินค้าเช่น การอบรมเพิ่มทักษะ การบริหารจัดการ
กลุ่ม การอบรมทำแผนธุรกิจ
3. ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ ์ ยกระดับมาตรฐานสินค้าOTOP
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย OTOP
4. ส่งเสริมการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในการสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่าย
กฏระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีการมีส่วนร่วม
2. แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. แนวคิดเกี่ยวกับการประสานงาน
5. แนวคิดการส่งเสริมการพัฒนากลุ่มอาชีพ
6. ระเบียบการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP
7. การบริหารการตลาด 4 P
ชื่อผู้บันทึกความรู้ นางสินิทธิ์ ณ น่าน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง เชียงใหม่
แบบบันทึกองค์ความรู้
ชื่อ-นามสกุล นางสินิทธิ์ ณ น่าน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ โทร. 053- 826630
ชื่อเรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย OTOP
//////////////////////////////
เป็นการการส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP และการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการตลาด
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2554
สถานที่เกิดเหตุการณ์
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปีงบประมาณ 2553
จำนวน 30 ราย แยกเป็น
ประเภทผ้า/เครื่องแต่งกาย 18 ราย ประเภท ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 7 ราย
ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 1 ราย ประเภทเครื่องดื่ม 1 ราย ประเภทอาหาร 3 ราย
อาชีพทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วิถีชีวิตและภูมิปัญญา
ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนานและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ล้วนมีคุณค่าที่จะนำมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก
ภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานเศรษฐกิจ ของ
ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการรวมกลุ่มของประชาชนระดับฐานราก ในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ในท้องถิ่นให้เป็น
ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างพลังการ
พึ่งตนเองและ ช่วยเหลือกันของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับ
กลุ่ม ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่างๆให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตามแนว ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนา ต่อยอดไปถึงระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อไป
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
คณะกรรมการเครือข่าย OTOP อำเภอจอมทอง เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนในการดำเนินงานผสมผสานแนวคิด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำงาน โดยการนำศักยภาพของคน/กลุ่มในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาสู่การเป็น
สินค้า OTOP ในการบริหารจัดการเครือข่าย OTOP ของอำเภอจอมทอง ให้ประสบผลสำเร็จเกิดจาก
1.เครือข่ายมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม
2. เครือข่ายมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
3. เครือข่ายมีแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมที่ชัดเจน
4. เครือข่ายมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน
5. สมาชิก/กลุ่ม ยอมรับและปฏิบัติตามกฎระเบียบเครือข่าย
แก่นความรู้ (Core Competency)
1. การสร้างเครือข่ายควรมาจากการสมัครใจของกลุ่มที่จะดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างกลุ่ม OTOP
ด้วยกัน ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบ
สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้
2. การสร้างเครือข่ายร่วมกันควรมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม
3. เครือข่ายควรมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม สามารถประสานงานติดต่อกับทุกภาค
ส่วนได้
4. เครือข่ายต้องประสานความร่วมมือกันโดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
5. เครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคโนโลยีต่างๆ ระหว่างเครือข่ายด้วยกัน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. สร้างความเข้าใจและ มีทัศนคติที่ดีร่วมกัน ประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP /กลุ่มอาชีพอย่าง
สม่ำเสมอ
2. สนับสนุนส่งเสริมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาสินค้าเช่น การอบรมเพิ่มทักษะ การบริหารจัดการ
กลุ่ม การอบรมทำแผนธุรกิจ
3. ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ ์ ยกระดับมาตรฐานสินค้าOTOP
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย OTOP
4. ส่งเสริมการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในการสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่าย
กฏระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีการมีส่วนร่วม
2. แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. แนวคิดเกี่ยวกับการประสานงาน
5. แนวคิดการส่งเสริมการพัฒนากลุ่มอาชีพ
6. ระเบียบการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP
7. การบริหารการตลาด 4 P
ชื่อผู้บันทึกความรู้ นางสินิทธิ์ ณ น่าน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง เชียงใหม่