คุ้มบ้านพัฒนา ประชาเป็นสุข บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง

By admin, เดือนสิงหาคม 11, 2011

<code>
<object classid=”clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000″ width=”480″ height=”385″ codebase=”http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0″><param name=”allowFullScreen” value=”true” /><param name=”allowscriptaccess” value=”always” /><param name=”src” value=”http://www.youtube.com/v/BEraVRyZNBA?fs=1&amp;hl=en_US” /><param name=”allowfullscreen” value=”true” /><embed type=”application/x-shockwave-flash” width=”480″ height=”385″ src=”http://www.youtube.com/v/BEraVRyZNBA?fs=1&amp;hl=en_US” allowscriptaccess=”always” allowfullscreen=”true”></embed></object></code>

1. ข้อมูลทั่วไปของบ้านป่าไผ่

บ้านป่าไผ่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภ อเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

บ้านป่าไผ่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีเพียงคำบอกเล่าการจัดตั้งหมู่บ้านที่สืบทอดมาจากการอพยพโยกย้ายครอบครัวของคนสมัยก่อน

โดยมีกองคาราวานของ พ่ออุ้ยนุ แม่อุ้ยต๋า ธิดิน พร้อมด้วยลูกหลาน และเพื่อนบ้านอีกหลาย

ๆ ครอบครัวเริ่มเดินทางมาจาก อำเภอสะเมิง เพื่อแสวงหา ที่ทำกิน พร้อมทั้งที่อยู่อาศัยแห่งใหม่

โดยได้เดินทางลัดเลาะผ่านหุบเขา และพบอุปสรรคคือโรคระบาด, การคมนาคมที่ยากลำบาก

ซึ่งการเดินทางต้องใช้วัวเป็นพาหนะ (วัวต่าง) รวมไปถึงอันตรายจากสัตว์ป่าและโจรป่าในสมัยนั้น

เมื่อกองคาราวานของคณะพ่ออุ้ยนุ มาถึงอำเภอเวียงแหงได้ใช้หลักภูมิศาสตร์เลือกทำเลเพื่อการอยู่อาศัย

และทำมาหากิน โดยได้เลือกสถานที่บ้านป่าไผ่แห่งนี้เป็นที่ตั้ง โดยมีจำนวนหลังคาเรือนไม่ถึง

10 หลังคา เพราะสมัยก่อนอาศัยแบบครอบครัวใหญ่

\\\\\\

เดิมหมู่บ้านป่าไผ่มีต้นไผ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก (ไผ่หนาม) ซึ่งเป็นไผ่ที่มีหนามที่แหลมคม  จึงทำให้ชาวบ้านใช้ชื่อนี้มาตั้งเป็นหมู่บ้าน (ป่าไผ่) จนถึงปัจจุบันนี้ โดยสมัยการปกครองเมื่อก่อนบ้านป่าไผ่ต้องเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านเวียงแหง  เพราะจำนวนประชากรมีไม่เพียงพอ หลังจากนั้นในปี พ.ศ 2524 อำเภอเวียงแหงได้แยกการปกครองมาจากอำเภอเชียงดาว หลังจากเคยเป็นตำบลเมืองแหง ก็แยกมาเป็นกิ่งอำเภอเวียงแหง ด้วยเหตุนี้เอง บ้านป่าไผ่จึงแยกการปกครองจากบ้านเวียงแหงมาตั้งหมู่บ้านใหม่ พร้อมกับบ้านปางควายหมู่ที่ 9 และ บ้านแม่แพมหมู่ที่ 8 โดยมี พ่อหลวงคำ จิ่งหลู่  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และด้วยวิสัยทัศน์ในการเลือกทำเลที่ตั้งของพ่ออุ้ยนุในสมัยนั้นทำให้ที่แห่งนี้บ้านป่าไผ่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านภูมิศาสตร์

รายชื่อผู้นำหมู่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1. พ่อหลวงคำ จิ่งหลู่ พ.ศ 2521 – 2531

2. พ่อหลวงทนงค์ ครองสมบัติ พ.ศ 2531 – (ช่วงระยะเวลา 8 เดือน)

3. พ่อหลวงทุนจิ่ง จิ่งหลู่ พ.ศ 2531 – ปัจจุบัน

\\\\\\

ลักษณะภูมิศาสตร์

บริเวณที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ อาณาเขตพื้นที่

บ้านป่าไผ่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และเขตติดต่อระหว่างหมู่บ้านโดยมีเขตติดต่อ ดังนี้

• ทิศเหนือ ติดกับ บ้านกองลม หมู่ที่ 2 ต.เมืองแหง

• ทิศตะวันออก ติดกับเขตป่าชุมชน บ้านเวียงแหง หมู่ที่ 4 ต.เมืองแหง

• ทิศใต้ ติดกับ บ้านเวียงแหง หมู่ที่ 4 ต.เมืองแหง

• ทิศตะวันตก ติดกับเขตป่าชุมชนบ้านเวียงแหง หมู่ที่ 4 บ้านกองลม หมู่ที่ 2

ต.เมืองแหง

หมู่บ้านป่าไผ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 325 ไร่

• พื้นที่ทำการเกษตร 850 ไร่

• พื้นที่อยู่อาศัย 120 ไร่

• พื้นที่ดินสาธารณะ 25 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้าน บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง

มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูงบนเทือกเขาสูงชันระดับความสูงตั้งแต่ 750 เมตร ถึง

1,200 เมตร เหนือระดับ น้ำทะเล มีพื้นที่ราบลุ่มแคบๆ ระหว่างภูเขาริมสองฝั่งแม่น้ำแตง

และ ลำน้ำแม่แพม ที่ไหลผ่านอยู่ตลอดทั้งปี สภาพพื้นที่ป่าสวนใหญ่ยังคงความอุดมสมบูรณ์

พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สนสองใบ และสนสามใบ ยังมีป่าไม้เต็งรัง และ ป่าไม้สัก

สภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นดินร่วนปนทรายเพราะอยู่ใกล้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ และยังมีปริมาณในการพังทลายหน้าดินสูง

สภาพภูมิอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว และอากาศค่อนข้างร้อนในช่วงฤดูร้อน และ

ฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน ในช่วงฤดูแล้งที่นี้จะไม่ค่อยแห้งแล้งเพราะที่นี้มีต้นน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านอย่างเพียงพอในการใช้ทำการเกษตร

ข้อมูลประชากร

จำนวนประชากรจากการเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ปี 2554 มีผู้อาศัยจำนวน 83

ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น แยกเป็นประชากรชาย 118 คน ประชากรหญิง 123 คน

โดยแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้

\\\\\\

สภาพสังคม

-มีการปฏิบัติศาสนกิจอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และจะปฏิบัติธรรมทุกวันพระในช่วงเข้าพรรษา

- ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

-ครัวเรือนในบ้านป่าไผ่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้านและมีส่วนร่วมในการแสดง

ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน

สภาพทางเศรษฐกิจ

รายได้เฉลี่ย 50,813.11 บาท/คน/ปี (ตามเกณฑ์ จปฐ.ปี 2554)

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย และ รับจ้าง

ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและภายนอกชุมชน ได้แก่ กระเทียม ข้าว

ประชาชนมีไฟฟ้าและน้ำประปา มีเส้นทางคมนาคมเข้าหมู่บ้านที่สะดวก ใช้ได้ตลอดปี

โครงสร้างทางสังคม

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

ราษฎรบ้านป่าไผ่ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ

มีวัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วัดกำแพงใหม่

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

1. กลุ่มตัดเย็บเสื้อบ้านป่าไผ่ ประธาน นางเฉลิมชัย โปธา

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มี 4 ประเภท ได้แก่

- ชุดสตรีสำเร็จรูป (พื้นเมือง,สากล)

- ชุดสตรีไทยใหญ่

- ชุดเก้าเผ่า

- ชุดนักเรียน

- ชุดนักเรียน

\\\\\\

2. กลุ่มจักสานบ้าป่าไผ่ ประธาน นางอาภร อินตานิ

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมี 2 ประเภท ได้แก่

- ไม้กวาดดอกหญ้า

- เครื่องจักสาน

องค์กรปกครองท้องถิ่น/ท้องที่ และผู้นำธรรมชาติ

\\\\\\

คณะกรรมการพัฒนาสตรีบ้านป่าไผ่

1.นางเฉลิมชัย โปธา ประธาน

2.นางโสภิต มูลคำ รองประธาน

3.นางอำไพ เตอะป้อ เลขานุการ

4.นางแสงหล้า บัวแก้ว ผู้ช่วยเลขานุการ

5.นางจันทร์ทอง มูลคำ เหรัญญิก

6.นางเกี๋ยงคำ บุญเป็ง ผู้ช่วยเหรัญญิก

7.นางจอมแปง ทีดิน ประชาสัมพันธ์

8.นางทิม โปธา ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

9.นางสมพร กาวิเนตร ปฏิคม

10.นางแสงหล้า ทีดิน ผู้ช่วยปฏิคม

11.นางนวล มูลคำ กรรมการ

12.นางโสภา ครองสมบัติ กรรมการ

13.นางอาภร อินตานิ กรรมการ

14.นางบัวผัน ชมพู กรรมการ

15.นางแสงคำ สายผึ้ง กรรมการ

วัฒนธรรมประเพณีความเชื่อถือประจำหมู่บ้าน ประเพณีที่เกี่ยวกับเทศกาลเป็นประเพณีที่ทุกคนในชุมชนปฏิบัติร่วมกันเป็นประเพณีที่มีขึ้นตามกาลต่างๆ ที่บรรพบุรุษทำสืบเนื่องกันมาที่สำคัญประกอบด้วย

• ประเพณีตานข้าวใหม่ (ข้าวหลาม , ข้าวจี่) เป็นประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษโดยจะมีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า  และชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกและข้าวสาร มาถวายที่วัด เพราะชาวบ้านมีความเชื่อที่ว่าหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยจะไม่นำไปทานก่อนถ้ายังไม่มีการถวายให้กับพระ ประเพณีนี้ทำกันในช่วงเดือน มกราคม หรือ เดือน ๔ เป็งของทางเหนือ

• ประเพณีแห่ไม้ค้ำ เป็นประเพณีที่นิยมทำมากันตั้งแต่บรรพบุรุษ ประเพณีแห่ไม้ค้ำมีความเชื่อว่า เมื่อนำไม้ไปค้ำต้นไม้ที่อยู่ในวัดเชื่อว่าเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  และยังเชื่อว่าเป็นการค้ำชะตาชีวิตของตนเองให้มีความสุขปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  เป็นประเพณีที่เชื่อมโยงความสามัคคีให้กับหมู่บ้านได้ร่วมด้วยช่วยกันและถือว่าเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน   ประเพณีแห่ไม้ค้ำจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี

• ประเพณีตานหลั๋วหิ๋งหนาวพระเจ้า(กองไฟ)เป็นประเพณีที่จะทำพร้อมๆ กับประเพณีตานข้าวใหม่  ในวันเดียวกัน จะมีการนำเอาฟืนที่มีกลิ่นหอม มาสุมเป็นกองเพื่อจะทำการจุดเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า    เพราะในช่วงเดือนมกราคมถือว่าเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูหนาวชาวบ้านมีความเข้าใจว่าถ้ามีการถวายกองไฟให้กับพระพุทธเจ้า  ก็จะเกิดความอบอุ่นในชีวิต ประเพณีนี้ทำกันในช่วงเดือน มกราคม หรือ เดือน ๔  เป็งของทางเหนือ

• ประเพณีสงกรานต์ วันสงกรานต์ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของพี่น้องคนเมืองเหนือ  และเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั่งแต่เดิม ก่อนที่ทางการจะได้กำหนดให้วันที่ ๑   มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๓ เทศกาลวันสงกรานต์ มี ๓   วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง วันนี้ทุกบ้านจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเอง    และมีการทำความสะอาดร่างกายของตนเองด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเหนา   หรือวันเน่า วันนี้ทุกคนจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่ดีเพราะเชื่อว่าถ้าพูดสิ่งที่ไม่ดีจะไม่เป็นศิริมงคลแก่ตนเอง   ทุกบ้านจะช่วยกันทำอาหาร ขนมคาวหวาน เพื่อถวายพระในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นยังช่วยกันขนทรายเข้าวัดเพื่อทำเป็นกองเจดีย์ทราย วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุด ชาวบ้านจะร่วมกันถวายข้าว  ปลาอาหาร ให้กับพระสงฆ์ เข้าวัดทำบุญตักบาตร ถวายกองเจดีย์ทราย และที่สำคัญคือ รดน้ำดำหัว ผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อขอพรจากท่าน

• ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ (ดอยนายาง) บ้านป่าไผ่มีพระธาตุที่ประดิษฐานบนยอดดอยเล็กๆ  ที่เรียกว่า ดอยนายาง พระธาตุแห่งนี้จึงมีชื่อว่า พระธาตุดอยนายาง พระธาตุแห่งนี้เป็น พระธาตุบริวารทั้ง ๗ ดวง ของพระธาตุแสนไห พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเวียงแหง  พระธาตุดอยนายางเป็นพระธาตุที่บูรณะขึ้นมาใหม่แทนองค์เดิมที่มีความทรุดโทรมตามกาลเวลา  พระธาตุแห่งนี้บูรณะเสร็จเมื่อปี พ.ศ 2546 และได้ทำการเฉลิมฉลองในวันที่ 28  ของปีนั้นเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็จะถือเอาวันที่ 28 เมษายน เป็นวันสรงน้ำพระธาตุดอยนายาง ในประเพณีนี้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญ ตักบาตรในช่วงเช้า และนิมนต์พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ ตอนบ่ายก็จะมีการแข่งขันบั้งไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

• ประเพณีเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านจะร่วมด้วยช่วยกันในการสืบทอดประเพณีอันดีงามโดยจะมีการถวายเทียนเข้าพรรษา  และยังมีการถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นประจำทุกปี ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าเพื่อจะนำอาหารมาถวายให้พระสงฆ์และส่วนหนึ่งก็ถือเป็นอุทิศส่วนกุศลเพื่อให้ญาติมิตรของตนที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นเอง

• ประเพณีต่างข้าวซอมต่อหลวง (ถวายข้าวมธุปยาส) เป็นประเพณีที่อยู่ในช่วงเดือน ๑๒ เป็งของทางเหนือหรือประมาณเดือนกันยายนจะอยู่ในช่วงที่พี่น้องทั่วไปเสร็จสิ้นการงานทางทุ่งนา และยังเป็นช่วงที่อยู่ปลายฝนผลหมากรากไม้มีจำนวนมากมาย ชาวบ้านจึงได้นำผลไม้ต่าง ๆ มารวมกันเพื่อทำการแกะสลักดูให้สวยงาม เพื่อน้อมถวายให้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังมีการถวายเข้าซอมต่อหลวงในช่วงเช้าตรู่ ถือว่าเป็นประเพณีที่นิยมทำกันมาสืบมาจนถึงทุกวันนี้

• ประเพณีบวชป่า สืบชะตาป่า เป็นประเพณีที่ชาวบ้านป่าไผ่ร่วมด้วยช่วยกันในการอนุรักษ์รักษาผืนป่าชุมชนในพื้นที่ของวัดร้างป่าสักจำนวน ๓๒ ไร่ เพื่อไม่ให้ผู้มีอำนาจเข้ามาครอบครอง เป็นประเพณีที่ชุมชนได้มีการเรียนรู้ร่วมกันในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรของชุมชนระหว่างวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุก ๆ ปี เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

• ประเพณีออกพรรษา ตักบาตรเทโว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเพราะมีความเชื่อว่าหลังจากที่พระพุทธเจ้าขึ้นไปเทศนาโปรดพระมารดาที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงเป็นเวลา ๓ เดือน แล้วจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงชาวเมืองจึงต้องทำการต้อนรับพระพุทธองค์ในวันแรม 1ค่ำ นั้นเอง กิจกรรมก่อจะมีการทำบุญตักบาตรเข้าสารอาหารแห้ง ในช่วงเช้า และพี่น้องชาวไทยใหญ่ยังมีการสร้างหอพระเจ้า (เข่งต๋าปุ๊ด) เป็นหอที่ชาวบ้านสร้างขึ้นคล้ายปราสาทเล็กและที่สำคัญมีการนำผลหมากรากไม้มาร้อยเป็นพวง เพื่อถวายกับพระพุทธองค์

• ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่นิยมทำกันมาตั่งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย

เพราะเชื่อว่าเป็นเทศกาลของความกตัญญู หลังจากที่ออกพรรษาแล้วทางบ้านป่าไผ่จะมีประเพณีตานก๋วย-สลากเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว

และยังเป็นการนำปัจจัยที่ถวายร่วมสร้างถาวรวัตถุที่ทางวัดดำเนินการก่อสร้างอีกส่วนหนึ่งด้วย

เป็นประเพณีที่ญาติ ๆ จะมารวมกัน และเล่าเรื่องราวของตนเองให้กันฟัง

• ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทางบ้านป่าไผ่จะมีการรวมกลุ่มเพื่อการทำกิจกรรมครั้งนี้โดยการจัดทำกระทงใหญ่

ของแต่ละกลุ่ม(หมวด) เพื่อนำออกมาอวดประชันกัน แล้วยังมีการถวายผ้าจำนำพรรษา

ให้แก่พระภิกษุ – สามเณร ที่จำพรรษาอยู่ในวัดอีกด้วย แล้วยังมีการอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมโดยการจุดถางประทีป

ปล่อยโคมลอย ในเทศกาลนี้อีกด้วย

• ประเพณีปฏิบัติธรรม หลังจากที่ทางหมู่บ้านได้ร่วมด้วยช่วยกันมีข้อตกลงร่วมกันกับการทำกิจกรรมภายในหมู่บ้าน

ประเพณีปฏิบัติธรรมถือว่าเป็นประเพณีของหมู่บ้านไปเรียบร้อยแล้ว ในกิจกรรมจะมีพระภิกษุ-

สามเณร และชาวบ้านบางส่วนร่วมกันปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ระหว่างวันที่ ๓ – ๖ ธันวาคม ของทุก ๆ ปี

• ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาตรเวลาหลังเที่ยงคืนของวันอังคาร

คือ 0 นาฬิกาของวันพุธที่เป็นวันเพ็ญ

2. วิถีชีวิตงามท่ามกลางขุนเขา

2.1 กิจกรรมการส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านเป้าหมายของอำเภอเวียงแหงตามโครงการ

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ “พออยู่ พอกิน” เฉลิมพระเกียรติ84 พรรษา

ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามแนวทางโครงการดังกล่าวจากสำนักงานพัฒนาชุมชนและหน่วยงานภาคี

หรือคณะทำงานการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

ปี 2554 โดยมีกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนา จำนวน 30 คน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชนและการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตย

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน

กองทุนแม่ของแผ่นดิน

กองทุนแม่ของแผ่นดินคือ กองทุนขวัญถุงสำหรับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ

ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ผ่านเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในระดับหมู่บ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

และเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านในการเฝ้าระวังยาเสพติดอย่างยั่งยืนและเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านที่ได้รับเงินพระราชทานขวัญถุง

8,000 บาท และให้เป็นตัวแทนของกองทุนที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการทำความดีทั้งกายใจการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชนหรือกองทุนเพื่อประโยชน์สาธารณะ

บ้านป่าไผ่ เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ได้รับพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดินจำนวน

8,000 บาท โดยมีหน่วยงานประสานและคัดเลือก คือ กอ.รมน./สย.1 ส่วนแยกที่ 1 ในปี

พ.ศ.2550 บ้านป่าไผ่เป็นหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผ่านกระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง หรือมีความเข้มแข็งด้วยแนวทางต่าง

ๆ ในการต่อสู้กับยาเสพติดจนประสบผลสำเร็จมากที่สุดของอำเภอ

2. เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่เป็นแกนนำสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

3. เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เต็มใจที่จะเข้าร่วมโครงการและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ

4. เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีการดำเนินการรวมกลุ่มกิจกรรมในชุมชน ที่แสดงออกถึงการพึ่งพาตนเองของชุมชน

กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านป่าไผ่ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกของหมู่บ้าน

ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในพื้นที่ ในการระดมเงินทุนสมทบทั้งเงินบริจาค การทอดผ้าป่ากองทุนแม่ของแผ่นดิน

และการรับแลกเงินเงินขวัญถุง จนสามารถรวมรวมเงินจัดตั้งกองทุนฯได้เพิ่มมากขึ้น

ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนฯ และ

ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้เป็นไปตามแนวทางพระราชทานมาจนถึงปัจจุบันนี้

คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน

บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

1. นายทุนจิ่ง จิ่งหลู่ ประธานคณะกรรมการ

2. นางศุลีรัตน์ ปวงแก้ว รองประธาน

3. นางอำไพ เตอะป้อ เลขานุการ

4. นางแสงหล้า บัวแก้ว รองเลขานุการ

5, นางเกี๋ยงคำ บุญเป็ง เหรัญญิก

6. นางวันดี มูลคำ ผู้ช่วยเหรัญญิก

7. นางจันทร์ทอง มูลคำ ปฏิคม

8. นางหก รุ่งเรือง ผู้ช่วยปฏิคม

9. นายสุทัศน์ ครองสมบัติ ประชาสัมพันธ์

10. นางเฉลิมชัย โปธา ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

ฝ่ายตรวจสอบ

1. นางอัมพร เขาคำ

2. นางจอมแปง ทิดิน

3. นางแสงคำ สายคำ

4. นางจันทร์แก้ว สุวรรณเลิศ

5. นางสมพร กาวิเนตร

6.นางแดง ผายนาง

ที่ปรึกษา

1. นางนวล มูลคำ

2. นางโสภา ครองสมบัติ

3. นางอุรา เมฆวิบูลย์

4. นางพร ยอดแสง

5. นางป็อก ต้าวลาด

6. นางส่วยอ่อง จิ่งหลู่

บ้านป่าไผ่ไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้โทษ ประชาชนส่วนไม่ติดสุรา

ร้อยละ 99.6 และประชาชนไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 95.4

ส่งเสริมการออม

การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตป่าไผ่ สมาชิกแรกเริ่ม จำนวน 37 คน โดยการระดมหุ้น

ขั้นต่ำ ตั้งแต่ 20 – 30 บาท จนถึง 100 บาท ใช้บ้านเหรัญญิกเป็นที่ทำการกลุ่มชั่วคราว

โดยเริ่มต้นก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2538

ประโยชน์ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าไผ่

1. เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสังคม

2. ก่อให้เกิดรายได้ในการกู้ไปประกอบอาชีพ

3. ก่อให้เกิดอาชีพ

4. ก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง

5. ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพชุมชน

6. เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชน

7. ได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน

8. ก่อให้เกิดคุณธรรม 5 ประการ

9. พ้นขีดความยากจน

10. ส่งเสริมการทำบัญชีรับ-จ่าย ของครัวเรือน

กิจกรรมของกลุ่มออมทรัพย์บ้านป่าไผ่โดยสรุป

1. การปล่อยเงินกู้ให้สมาชิก

2. มีสวัสดิการแก่สมาชิก ได้แก่ เงินสงเคราะห์ผู้เจ็บป่วย ชราภาพ และเสียชีวิต

เงินทุนการศึกษา และเงินเพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน

3. ปันผลให้กับสมาชิก – ปันผลตามหุ้น – เฉลี่ยคืนผู้กู้

สร้างงาน สร้างรายได้

สมาชิกหมู่บ้านป่าไผ่ มีการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ได้แก่

กลุ่มจักสานบ้าน ป่าไผ่ กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์ กลุ่มน้ำมันไบโอดีเซล และกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านป่าไผ่

กลุ่มจักสานบ้านป่าไผ่ มีคณะกรรมการ จำนวน 6 คน ดังนี้

1. นางอาภร อินตานิ ตำแหน่ง ประธาน

2. นางเฉลิมชัย โปธา ตำแหน่ง รองประธาน

3. นางวันดี มูลคำ ตำแหน่ง เลขานุการ

4. นางโสภา ครองสมบัติ ตำแหน่ง เหรัญญิก

5. นางแสงคำ สายผึ้ง ตำแหน่ง กรรมการ

6. นางหก รุ่งเรือง ตำแหน่ง กรรมการ

กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์

1. นายสมชาย มูลคำ ตำแหน่ง ประธาน

2. นางสมพร กาวิเนตร ตำแหน่ง รองประธาน

3. นางเฉลิมชัย โปธา ตำแหน่ง เลขานุการ

4. นางจอมแปง ธิดิน ตำแหน่ง เหรัญญิก

5. นางเกี๋ยงคำ บุญแปง ตำแหน่ง กรรมการ

6. นางนวล มูลคำ ตำแหน่ง กรรมการ

7. นางแสงหล้า บัวแก้ว ตำแหน่ง กรรมการ

8. นางวันดี มูลคำ ตำแหน่ง กรรมการ

9. นางจันทร์แก้ว สุวรรณเลิศ ตำแหน่ง กรรมการ

10. นางอัญชลี การะหงษ์ ตำแหน่ง กรรมการ

11. นายเสกสรรค์ วรรณพรม ตำแหน่ง กรรมการ

12. นางสุข ครองสมบัติ ตำแหน่ง กรรมการ

13. นางสุคำ จองเหม่ ตำแหน่ง กรรมการ

14. นายเริญ กันทะวัน ตำแหน่ง กรรมการ

15. นายเสาร์คำ จิ่งหลู่ ตำแหน่ง กรรมการ

กลุ่มน้ำมันไบโอดีเซล

1. นางแสงคำ สายผึ้ง ตำแหน่ง ประธาน

2. นางบัวไว กันทะวัง ตำแหน่ง รองประธาน

3. นางติ๋ม ต้าวลาด ตำแหน่ง กรรมการ

4. นายสะอาด มูลคำ ตำแหน่ง กรรมการ

5. นางหก รุ่งเรือง ตำแหน่ง กรรมการ

6. นางเสงี่ยม จิ่งหลู่ ตำแหน่ง กรรมการ

7. นางอัมพร เขาคำ ตำแหน่ง กรรมการ

8. นางโสภา ครองสมบัติ ตำแหน่ง กรรมการ

9. นายอนุชาติ ครองสมบัติ ตำแหน่ง กรรมการ

10. นางธันยพร ศรีธเนศร์กุล ตำแหน่ง กรรมการ

11. นายนิคม นั่งหล่า ตำแหน่ง กรรมการ

12. นางศุลีรัตน์ ปวงแก้ว ตำแหน่ง กรรมการ

13. นางเตี่ยง อินตานิ ตำแหน่ง กรรมการ

14. นางหน่อ องอาจ ตำแหน่ง กรรมการ

15. นายต๋า ดวงผัด ตำแหน่ง กรรมการ

กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านป่าไผ่ มีผลิตภัณฑ์เด่น คือ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป

(ชุด 9 เผ่า)

จากสภาพสังคมของอำเภอเวียงแหง ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่หลากหลาย ทั้งคนพื้นเมืองและชนเผ่า

รวมได้ถึง 9 เผ่า กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าจึงได้คิดสร้างสรรค์เสื้อผ้าสำเร็จรูปออกมาในลักษณะของการผสมผสานสีสัน

ลวดลาย และสัญลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ รวมกันออกมาเป็นเครื่องแต่งกายสำเร็จรูปสำหรับสุภาพสตรีได้สวมใส่ในเทศกาล

งานประเพณีต่างๆ ให้เป็นที่โดดเด่น และ สะดุดตา โดยจินตนาการออกมาทางสีของชุด

และ รูปแบบ ดังนี้

1. ออกแบบชุดผสมผสานระหว่างไทยพื้นเมือง และ ไทลื้อ

2. ผ้าสีดำแต่งสีแดง เป็นของเผ่าปะโอ

3. ผ้าถุงแต่งลายขวางแบบชั้นๆ เป็นของเผ่า ปะลอง

4. ลายที่เอวเป็นของเผ่า ปกากะญอ

5. ผ้าสีเขียว สัญลักษณ์แทน เผ่าลีซู

6. เทปเส้น สีเขียวแดง แทน ชาวจีน

7. เทปเส้นเล็กรูปหัวใจ สัญลักษณ์ของ ชาวไทใหญ่

8. สีผ้าผสมระหว่างสีดำและสีแดง สัญลักษณ์ แทน เผ่ามูเซอ

\\\\\\

การเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง

ศูนย์เรียนรู้บ้านป่าไผ่ตั้งอยู่ที่อาคารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์

สภาพสังคม เศรษฐกิจของหมู่บ้าน ภูมิปัญญา และเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้านทุนชุมชนได้แก่

กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

นอกจากนั้น ยังมีจุดเรียนรู้จำนวน 15 จุด ได้แก่

1. พระธาตุดอยนายาง

2. เจ้าเมือง

3. วิถีชนไทใหญ่ หมวด 5 ป่าสัก

4. น้ำบ่อเหล็ก

5. ธาตุเก่า

6. สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

7. การจักสาน

8. กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

9. ภาษาล้านนาและพิธีกรรม

10. แพทย์แผนไทย

11. การทำน้ำยาเอนกประสงค์

12. การทำน้ำมันไบโอดีเซล

13. การเพาะถั่วงอกและการเกษตร

14. โหราศาสตร์

15. การทำไม้กวาด

ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา

\\\\\\

แหล่งน้ำ ผืนฟ้า ป่าลำเนา ขุนเขา เรารักษา

บ้านป่าไผ่ มีประเพณีบวชป่า สืบชะตาป่า ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านป่าไผ่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์รักษาผืนป่าชุมชนในพื้นที่ของวัดร้างป่าสักจำนวน

๓๒ ไร่ เพื่อไม่ให้มีผู้บุรุก หรือเข้ามาทำลายป่า เป็นประเพณีที่ชุมชนที่มีแนวคิดในการการเรียนรู้ร่วมกันเพื่ออนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรของชุมชนซึ่งปฏิบัติเป็นประจำทุกปี

ในวันที่วันที่ ๑๒ สิงหาคมของทุก ๆ ปี เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

2.2 การบริหารจัดการชุมชน

บ้านป่าไผ่ มีการบริหารจัดการชุมชนโดยใช้ระบบหมวดบ้าน หรือคุ้มบ้าน โดยแบ่งออกเป็น

5 คุ้ม และให้หัวหน้าครัวเรือน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการหมวด เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้านทุกครัวเรือน

ได้แก่

1) หมวดที่ 1

\\\\\\

2) หมวด 2

\\\\\\

3) หมวด 3

\\\\\\

4) หมวด 4

\\\\\\

5) หมวด 5 (ชนเชื้อสายไทใหญ่)

\\\\\\

กฎกติกาของสมาชิกชุมชนเข็มแข็ง บ้าน ป่าไผ่ หมู่ที่ ๓

ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

กฎระเบียบข้อที่ ๑ ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านยามวิกาล ประชาชนปรับนัดละ ๕๐๐ บาท

ข้าราชการปรับ นัดละ ๑,๕๐๐ บาท

กฎระเบียบข้อที่ ๒ ห้ามตัดไม้ในวัดร้าง ( ป่าสัก ) ฝ่าฝืนปรับนิ้วละ ๑,๐๐๐

บาท (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

กฎระเบียบข้อที่ ๓ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดกระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมาย

กฎระเบียบข้อที่ ๔ ห้ามดื่มสุราอาละวาด ฝ่าฝืนปรับ ๕๐๐ บาท

กฎระเบียบข้อที่ ๕ ขาดการประชุมและขาดการพัฒนาเป็นส่วนรวมโดยไม่มีเหตุจำเป็น

ปรับครั้งละ ๑๐๐ บาท / ครั้ง / ครอบครัว

กฎระเบียบข้อที่ ๖ การลักเล็กขโมยน้อย ฝ่าฝืนปรับ ๒ เท่าของราคาสิ่งของที่ขโมย

2.3 การดำเนินงานตามระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)

2.3.1 ผู้นำชุมชนบ้านป่าไผ่ที่ผ่านการประเมินตามระบบมาตรฐานผู้นำชุมชน ในปี

2552 ได่แก่ นายทุนจิ่ง จิ่งหลู่ ผู้ใหญ่บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง

โดยมีแนวทางการพัฒนาตนเอง ดังนี้

- ด้านการบริหารตนเอง ประกอบด้วย บคุลิกภาพ ,ความรู้ความสามารถ, คุณธรรม/ศีลธรรม/จริยธรรม

และความมีวินับในตนเอ’

- ด้านการบริการสังคม ประกอบด้วย ความมีมนุษยสัมพันธ์ , ความเป็นประชาธิปไตย,

การประสานงานที่ดี, การเป็นที่ปรึกษาที่ดี และการวางแผน

- ด้านการบริหารงาน ประกอบด้วย การวางแผน, การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ, การบริหารงบประมาณ/การเงิน/บัญชี,

การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง, การควบคุมและประเมินผล, การสร้างและพัฒนาทีมงาน

และมีความรับผิดชอบต่องาน

2.3.2 หมู่บ้านป่าไผ่เป็นหมู่บ้านเป้าหมายเข้าประเมินตามระบบมาตรฐานงานชุมชน ในปี 2554


OfficeFolders theme by Themocracy