การทบทวนการจัดทำแผนชุมชน

By admin, เดือนสิงหาคม 15, 2014

ชื่อ – นามสกุล นางสาวนิลตระการ อมาตยกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก ๐๕๓ – ๓๕๐๐๗๒
ชื่อเรื่อง การทบทวนการจัดทำแผนชุมชน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การจัดทำแผนชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗
สถานที่เกิดเหตุการณ์ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง
จากการที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเวทีประชาคมเพื่อทบทวนการจัดทำแผนชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนสามปี และข้อบังคับของเทศบาล เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งให้หมู่บ้านจัดทำรูปเล่มแผนชุมชนส่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ทุกหมู่บ้านแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนชุมชนเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงาน โดยได้ชี้แจงให้ทราบถึงแผนชุมชนที่ดีต้องประกอบด้วย ๑. โครงการที่หมู่บ้านดำเนินการด้วยตนเอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ของโครงการทั้งหมด และต้องเป็นโครงการที่ทำได้จริงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๒. โครงการที่หมู่บ้านขอรับการสนับสนุนบางส่วนโดยมีหมู่บ้านร่วมดำเนินการด้วยบางส่วน
๓. โครงการที่หมู่บ้านไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ ต้องขอรับการสนับสนุนทั้งโครงการ
จากการจัดเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ได้แยกโครงการออกเป็นแต่ละประเภท โดยให้ผู้แทนกลุ่มต่างๆเสนอโครงการเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม และให้ผู้แทนครัวเรือนรับรองการเสนอโครงการ/กิจกรรม จัดลำดับโครงการ/กิจกรรมตามความเร่งด่วน ในการประชาคมครั้งสุดท้าย โดยต้องมีผู้แทนครัวเรือนที่เข้าร่วมประชาคมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน ในความเป็นจริง การจัดประชาคมทำแผนพัฒนาหมู่บ้านมีประชาชนให้ความสนใจร่วมประชุมน้อยมาก คณะทำงานจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านไม่สามารถจัดทำแผนชุมชนส่งให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตามกำหนด เนื่องจากความไม่แน่ใจในการจัดทำรูปเล่มและการจัดทำเนื้อหา
วิธีการแก้ไขปัญหา ให้ประสบความสำเร็จ
๑. ประกาศเสียงตามสายชี้แจงรายละเอียดผลการประชาคม เพื่อให้ทุกครัวเรือนทราบ และให้คณะกรรมการหมู่บ้านนำเอกสารให้ผู้แทนครัวเรือนแต่ละหลังลงนาม
๒. พิมพ์รายละเอียดผลการประชาคมแจกให้ทุกครัวเรือน และให้คณะกรรมการหมู่บ้านนำเอกสารให้ผู้แทนครัวเรือนแต่ละหลังลงนาม
๓. ก่อนการประชาคม พิมพ์รายชื่อโครงการทุกโครงการที่ได้รับการเสนอให้ลงในแผนพัฒนาหมู่บ้าน(เฉพาะส่วนที่ของบประมาณจากส่วนราชการ) แจกให้ทุกครัวเรือนลงลำดับความสำคัญ แล้วนำมาสรุปในที่จัดประชาคม

/.๔.กรณีคณะทำงานจัดทำแผนชุมชน…………..

๔. กรณีคณะทำงานจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านไม่สามารถจัดทำแผนชุมชนส่งให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตามกำหนด เทศบาลแก้ปัญหาโดยการส่งนักศึกษาฝึกงานไปช่วยขัดเกลาคำพูด การจัดทำรูปแบบการจัดรูปเล่มและเนื้อหา โดยให้ศึกษาจากรูปเล่มแผนชุมชนเดิมที่มีอยู่ ทำให้สามารถจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านสำเร็จ มีความถูกต้อง ครบถ้วน
ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
๑. ใช้ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ของหมู่บ้านมาแก้ไขปัญหา
๒. ใช้ผู้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ศึกษารายละเอียดการจัดทำแผนชุมชน เป็นพี่เลี้ยงในการ จัดทำรูปเล่ม และเนื้อหาภายใน
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
๑. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน
๒. การจัดเรียงลำดับความสำคัญโครงการ
๓. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
๔. ชี้แจงถึงองค์ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน การประเมินคุณภาพของแผน รวมถึง งบประมาณที่ได้รับ
๕. อธิบายด้วยความเป็นมิตร เป็นธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชี้แจงถึงการดำเนินงานที่ถูกต้อง
๖. สร้างความพึงพอใจให้ผู้แทนทุกกลุ่ม และคณะกรรมการหมู่บ้าน

แก่นความรู้ (Core Competency)
๑. รับทราบข้อมูล ศึกษาปัญหา และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
๒. ปรึกษาหารือ
๓. ชี้แจงด้วยความเป็นมิตร เป็นธรรม
๔. สร้างความพึงพอใจ
๕. งานสัมฤทธิ์ผล
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินการต้องมีการศึกษาข้อมูลในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง โดยละเอียด

/.๒ ปรึกษาหารือ………

๒. ปรึกษาหารือ
นำข้อมูลที่ได้มาปรึกษาหารือกับ คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการกลุ่ม พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล
สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร เห็นอกเห็นใจกัน พร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
ลดการกระทบกระทั่งกันด้วยคำพูด มีความเป็นกลาง
๓. ชี้แจงด้วยความเป็นมิตร เป็นธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
เมื่อรับทราบข้อมูล ได้ชี้แจงให้ทราบถึง ด้วยวาจาสุภาพ เป็นมิตร เป็นธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๔. สร้างความพึงพอใจ
สร้างความพึงพอใจด้วยการชี้แจง ตอบข้อซักถาม ข้อข้องใจของผู้เกี่ยวข้องได้
๕. งานสัมฤทธิ์ผล
สร้างความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน เกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของแผนพัฒนาหมู่บ้าน/แผนชุมชนร่วมกัน
เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแล ไม่ปัดความรับผิดชอบ หรือปล่อยให้คณะกรรมการที่ได้รับเลือกเป็นภาระผู้เดียว เกิดความเข้าใจในแนวทาง วิธีการ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ทำงานได้ถูกต้อง ตามขั้นตอนมากขึ้น
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
๑. แนวทางการดำเนินงานแผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
๒. แนวทางการประเมินมาตรฐานแผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

Leave a Reply

OfficeFolders theme by Themocracy