ยกระดับ Quandart D
ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นางสุนันท์ จันทร์สว่าง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 086-9217071/053-495949
ชื่อเรื่อง ยกระดับ Quandart D
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การพัฒนากลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP และผลิตภัณฑ์ Quandart D
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2555-2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในปี 2555 กรมการพัฒนาชุมชนได้ลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ซึ่งแต่เดิมในการลงทะเบียนOTOPแต่ละครั้ง ได้แบ่งประเภทกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOPเป็น 5 ประเภทได้แก่ (อาหาร,เครื่องดื่ม,ผ้าและเครื่องแต่งกาย,ของใช้ของตกแต่งและของที่ระลึก และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ) แต่ในปี 2555 นี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้แบ่งกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์(Quandrant) เพื่อง่ายต่อการพัฒนา ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่ม A สินค้ามีคุณภาพ/ราคาสูงและผลิตได้ปริมาณมาก
2.กลุ่ม B อนุรักษ์สร้างคุณค่า สินค้ามีคุณภาพ/ราคาสูง และผลิต/ด้ปริมาณน้อย เพื่อตอบสนองลูกค้าเฉพาะราย
3. กลุ่มC พัฒนาสู่การแข่งขัน สินค้ามีคุณภาพ /ราคาต่ำ และผลิตได้ในปริมาณมาก
4. กลุ่มD ปรับตัวสู่การพัฒนา สินค้ามีคุณภาพต่ำ /ราคาต่ำ ผลิตได้ในประมาณน้อย
ภารกิจในการพัฒนาOTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องพัฒนาในกลุ่ม C และ D โดยได้กำหนดรายละเอียดกระบวนงานการพัฒนาและยกระดับOTOP ในกลุ่ม C และ D ออกเป็น 3 มิติ อันได้แก่
มิติด้านการบริหารจัดการกลุ่ม เน้นเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการกลุ่มฯ ให้สามารถพึ่งพาตนเองมีการวางแผนการบริหารจัดการกลุ่มที่ชัดเจนและเป็นระบบกลุ่มสามารถนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิต การตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบบเครือข่ายOTOP เพื่อให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาOTOP ได้อย่างตรงเป้าหมาย และต่อเนื่อง โดยอาศัยเครือข่ายกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ (Cluster)
มิติด้านการพัฒนาการผลิต เสริมสร้างความมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยต้องผ่านการรับรองมาตรฐานหรือเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน โดยจะต้องรักษาระดับของคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ รักษาระดับของปริมาณการผลิตให้สามารถรองรับความต้องการทางการตลาด ส่งเสริมการใช้องค์ความรู้(KBO) และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าสู่กระบวนการผลิต มีการสร้างแบรนด์ของสินค้าพร้อมนำเสนอข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแรงจูงใจดึงดูดผู้บริโภค สร้างการมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์พร้อมกำหนดเป้าหมายในการผลิตให้ชัดเจน
มิติด้านการตลาด มีการศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ แล้วกำหนดตำแหน่ง(Positioning) ของผลิตภัณฑ์ทางการตลาด ส่งเสริมองค์ความรู้การวิเคราะห์ทางการตลาด ที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้มีการศึกษา สร้างนวัตกรรมต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดท้องถิ่นและตลาดสากล
ในส่วนของอำเภอเอดอยสะเก็ด ปี 2555 มีกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการotop ที่มาลงทะเบียนจำนวน 84 กลุ่มราย แยกเป็น ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP กลุ่ม C จำนวน 46 กลุ่มราย และ กลุ่ม D จำนวน 10 ราย แต่ถ้าแยกตามตัวผลิตภัณฑ์ มีจำนวน 12 ผลิตภัณฑ์
ในการยกระดับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ กลุ่ม C และ D ตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ด้านการพัฒนา OTOP ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นั้น เป็นการดำเนินงานทั้งยากและง่ายปะปนคละเคล้ากัน เพราะ การอบรมจะมีทั้งในระดับอำเภอ คือ การอบรมส่งเสริมการให้บริการศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ด้านการจัดทำแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ในส่วนของจังหวัด จะอบรม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ด้านการผลิต 3 กิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเดียวกัน แรกเริ่ม การตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับอำเภอ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP จะมีทั้ง ตอบรับเข้าร่วมอบรมโดยความสมัครใจและเต็มใจ อีกส่วนหนึ่ง ปฏิเสธ โดยบอกเหตุผลต่าง ๆ นานา ทั้งด้านความไม่พร้อมด้านเวลา ด้านงบประมาณ เสียเวลา ขาดรายได้เมื่อต้องใช้เวลาบางช่วง ไปอบรม ขอถอนตัวออกจากOTOP ฯลฯ ซึ่งปัญหาเล่านี้ เริ่มสร้างความลำบากใจในการทำงาน และจะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความพยายามและหาแนวทางแก้ไขปัญหา จุดเป้าหมายคือ กลุ่ม D จะต้องได้รับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น และ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP กลุ่ม D มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
วิธีการแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จ
1.เจ้าหน้าที่ผู้ผิดชอบงานOTOP ศึกษาแนวทาง ยุทธศาสตร์ของOTOP ให้เข้าใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการพูดคุยกับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP กลุ่มเป้าหมาย
2.ดำเนินการสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลที่เขาเป็นกลุ่มเป้าหมาย และผลที่เขาจะได้รับหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา อธิบายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรับฟังเหตุและผลแบบตัวต่อตัว ไม่เข้าใจให้ซักถาม จูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเปิดใจและยอมเข้ารับการพัฒนา
3.ประสานภาคีการพัฒนาที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถให้คำแนะนำ สร้างความเชื่อมั่นในตัวกลุ่มเป้าหมายทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ (เช่นโรงพยาบาลและ รพสต.ในพื้นที่ จะให้ความรู้เรื่องการผลิตและคุณภาพการผลิตในกลุ่มที่เป็นประเภทอาหาร,เครื่องดื่ม,สมุนไพร) ในส่วนภาคีนอกพื้นที่ เช่นสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความรู้ด้านคุณภาพมาตรฐาน มผช. เป็นต้น ส่วนเครือข่ายOTOPทั้งระดับตำบลและระดับอำเภอ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งด้านประสานงาน การติดตามให้ความช่วยเหลือลูกสมาชิกกลุ่มของตนเอง
4. ส่งเสริมสนับสนุนทั้งในระดับอำเภอโดยการให้กลุ่มเป้าหมายมาร่วมเข้ารับการอบรมสร้างความรู้ และลงติดตามสนับสนุน ให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมาย ณ.สถานที่การผลิต
5.นำเทคโนโลยีทางการสื่อสารมาใช้ เช่น Facebook ,Line เพื่อติดต่อประสานงานและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับกลุ่มเป้าหมาย เช่นการบอกให้ผู้ผลิตเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แบบขวดแก้วใสขนาด 70 มิลิลิตร มาเป็นขวดขนาดพกพา การบอกให้ทำบางครั้งมันพูดง่ายแต่ผู้ผลิตนึกภาพไม่ออก กับการส่งรูปแบบตัวอย่างมาให้ดู ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจและมีไอเดียใหม่ ๆ ตัดสินใจได้เร็วขึ้น
6. การเอาใจใส่ให้กำลังใจ ทำงานแบบยืดหยุ่น และรับฟังปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ต้นแบบจากการ
ประชุม สวทช.
ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนา
ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
1.การสร้างความเข้าใจ การมีเหตุมีผล การยอมรับและรับฟังซึ่งกันและกัน
2.การประสานและการขอความร่วมมือจากภาคีในการพัฒนา ทั้งระดับเครือข่าย ระดับอำเภอ จนถึงระดับจังหวัด
3.การเอาใจใส่ การใส่ใจ การให้กำลังใจ การยืดหยุ่นในการทำงาน
4.การนำเอาเทคโนโลยีใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การติดตามช่วยเหลือให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมาย ณ. ที่ทำการกลุ่มฯ ร่วมกับภาคีการพัฒนา
บันทึกขุมความรู้
เนื่องจากOTOP กลุ่ม D เป็นกลุ่มที่ปรับตัวสู่การพัฒนา ความไม่พร้อมทั้ง ด้านตัวผู้ผลิต ความไม่พร้อมทั้งตัวผลิตภัณฑ์ ความไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ ความไม่พร้อมทั้งการตลาดและไม่พร้อมอีกหลาย ๆอย่างมีสูง ตัวนักพัฒนาเองจะต้องมีการสร้างความเข้าใจ(ทั้งตัวเอง และกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้) ความมีเหตุมีผล ความยืดหยุ่น และการเอาใจใส่ ให้กำลังใจ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในการดำเนินงาน เมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับสิ่งเหล่านี้จากนักพัฒนาแล้ว เปิดใจยอมรับแล้ว การให้ความร่วมมือในการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาทั้ง 3 มิติ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เป้าหมายกลุ่มD ถูกยกระดับก็จะประสบผลสำเร็จ
แก่นความรู้
1.การสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ,ภาคีการพัฒนาทั้งในและนอกพื้นที่
2.แนวทางการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีความพร้อมไม่พอ
กลยุทธ์ในการทำงาน
ยึดหลักการเชื่อมั่นในศักยภาพของคน ยึดหลักกระบวนการการมีส่วนร่วมทุกระดับ และยึดหลักจิตวิทยาเพื่อความสำเร็จในการทำงาน และใช้หลักการทำงานเป็นทีมโดยใช้จิตวิทยาทางบวก
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1.ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน (OTOP) ปี 2556-2558
2.หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3.แนวคิดหลักจิตวิทยาเพื่อความสำเร็จในการทำงาน
4.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีมโดยใช้จิตวิทยาทางบวก
5แนวคิดหลักการและกระบวนการตามขั้นตอนของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
วันที่จัดการความรู้ วันที่ 9 กรกฎาคม 2557
nagle@reunion.taller” rel=”nofollow”>.…
ñïñ….
jacchia@replenishment.musculature” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî!…
choral@projection.stubs” rel=”nofollow”>.…
good!…
baseball@aristocracy.gorgeous” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
wynston@patriot.buckling” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðñòâóþ!!…
plane@shippin.irresponsibility” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðþ!…
scraped@faculty.games” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
impairment@republicans.partitions” rel=”nofollow”>.…
tnx for info….
usurp@supersonic.spraying” rel=”nofollow”>.…
good info!…
saint@horribly.ditches” rel=”nofollow”>.…
tnx for info!…
arresting@horsepower.understand” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðåí….
actuarially@rheumatic.purvis” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
adamantly@wild.paean” rel=”nofollow”>.…
thank you!!…
breathless@correlating.bubbly” rel=”nofollow”>.…
ñïñ!…
dreisers@intervals.flourish” rel=”nofollow”>.…
good!…
folders@greville.outputting” rel=”nofollow”>.…
thank you….
seigner@campuses.existentialist” rel=”nofollow”>.…
ñïñ çà èíôó….
electors@diety.extension” rel=”nofollow”>.…
hello!…
hurdle@admired.aloft” rel=”nofollow”>.…
good info….
poked@mcalester.hobbled” rel=”nofollow”>.…
ñýíêñ çà èíôó!…
primed@ambition.bellman” rel=”nofollow”>.…
good info….