การบันทึกบัญชีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

By admin, เดือนธันวาคม 7, 2011

นางชุติภา     จอมนงค์  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ   สพอ.แม่แตง
โปรแกรมสำเร็จรูป ในที่นี้ หมายถึง โปรแกรมบัญชีแยกประเภท M-GL และโปรแกรมธนาคาร MBS โดยการสนับสนุนของธนาคารออมสิน ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกกองทุนในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง
จำนวน 120 กองทุน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ระบบบัญชีของกองทุนชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วนตามระบบบัญชีได้อย่างสมบูรณ์ และสะดวกต่อการติดตาม ตรวจสอบข้อมูลของกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งลดเวลาในการบันทึกข้อมูลด้วยระบบเดิม
การเรียนรู้
โปรแกรมบัญชีแยกประเภท M-GL มีเมนูหลักสำหรับเรียกใช้งานทั้งสิ้น 4 เมนู คือ
เมนูหลักที่ 1 ค่าคงที่ แยกเมนูย่อยออกเป็น 7 เมนู ได้แก่ ค่าคงที่ระบบ ชื่อกิจการ
ชื่อสาขา ชื่อแผนก สมุดบัญชี ผังบัญชี และจบการทำงาน
เมนูหลักที่ 2 ข้อมูลรายวัน แยกเมนูย่อยออกเป็น 4 เมนู ได้แก่ บันทึกรายการฝาก-ถอน/
ชำระเงินกู้ ตรวจสอบความถูกต้อง คำนวณยอดใหม่ เอกสารยกเลิก
เมนูหลักที่ 3 รายงาน แยกเมนูย่อยออกเป็น 11 เมนู เช่น รายงานบัญชีแยกประเภท
รายงานประจำวัน งบดุล งบทดลอง งบกำไรขาดทุน เป็นต้น
เมนูหลักที่ 4 อื่น ๆ แยกเมนูย่อยออกเป็น 5 เมนู ได้แก่ กำหนดสิทธิ์ใช้งาน สำรอง
ข้อมูล ประมวลผลสิ้นปี โอนข้อมูลไป Log Off

โปรแกรมธนาคาร MBS มีเมนูหลักสำหรับเรียกใช้งานทั้งสิ้น 4 เมนู คือ
เมนูหลักที่ 1 ค่าคงที่ แยกเมนูย่อยออกเป็น 11 เมนู เช่น ค่าคงที่ระบบ ทะเบียนบุคคล
ชื่อสาขา /กองทุน ประเภทเงินฝาก ประเภทเงินกู้ เป็นต้น
เมนูหลักที่ 2 ข้อมูลรายวัน แยกเมนูย่อยออกเป็น 6 เมนู เช่น บันทึกรายการฝาก-ถอน/
ชำระเงินกู้ เปิดบัญชี บันทึกเงินกู้ เป็นต้น
เมนูหลักที่ 3 รายงาน แยกเมนูย่อยออกเป็น 10 เมนู เช่น รายงานทะเบียน รายงาน
การกู้เงิน รายงานลูกหนี้ รายงานด้านการเงิน เป็นต้น
เมนูหลักที่ 4 อื่น ๆ แยกเมนูย่อยออกเป็น 4 เมนู ได้แก่ กำหนดสิทธิ์ใช้งาน สำรอง
ข้อมูล/เรียกคืนข้อมูล ประมวลผลสิ้นปี โอนข้อมูลไป M-GL
/ขุมความรู้…
ขุมความรู้/วิธีการปฏิบัติงาน
1. เข้าร่วมการอบรมการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ร่วมกับตัวแทนกองทุนหมู่บ้านฯ
2. เรียนรู้ระบบโปรแกรมบัญชีแยกประเภท M-GL และโปรแกรมธนาคาร MBS
3. หลักการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน
4. ระบบบัญชีการเงิน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติ
1. ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
2. ตัวแทนกองทุนหมู่บ้านที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล
3. วิทยากร ผู้สอนงาน

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ
1. ระบบบัญชี ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วนตามระบบบัญชี
2. รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน
3. สะดวกและง่ายต่อการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน
ปัญหา/ข้อเสนอแนะ
1. บุคลากร มีความพร้อมอยู่น้อยมากต่อการรับระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2. การอบรม เรียนรู้ต้องใช้เวลามาก และต่อเนื่อง จึงเห็นผลมากกว่าปัจจุบันที่ใช้เวลาน้อย 1-3 วัน
3. “รู้เขา รู้เรา” เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเจ้าหน้าที่องค์กร ต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพราะจะส่งผลต่อการตรวจ/ติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฯ

OfficeFolders theme by Themocracy