การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

By admin, เดือนธันวาคม 14, 2011

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน ๒๕๕๔
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง การสนับสนุนการบริหารคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเกี่ยวกับกฎหมายและทางด้านบัญชี การทำงานตามยุทธศาสตร์ และภารกิจในบทบาทพัฒนากรผู้ประสานงานและติตามการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้ง 49 หมู่บ้าน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ออน ที่ได้ทำความรู้จักคน/กลุ่มองค์กรและการทำงานเกี่ยวกับกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงิน กลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ และศึกษาสถานการณ์ /แกนนำคนสำคัญ ๆ ที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมในการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกกองทุน ที่เด่นชัดในประเด็นต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหา หนี้นอกระบบและหนี้สินเรื้อรังของสมาชิกกลุ่ม มีทั้งสมาชิกที่รับผิดในหนี้สินที่ตนเองก่อ/หนี้สินที่ต้องรับผิดชอบแทนคนอื่น คณะกรรมการบางคนที่มีคุณธรรมมีความรับผิดชอบ มีการติดตามและให้คำแนะนำแก่สมาชิกและกรรมการบางคนที่มีปัญหาที่ในด้านหนี้สินที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านกฎหมายและด้านบัญชีต่างๆปัญหาของการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนที่ได้พบ คือ

– การดำเนินงานของ กทบ.ดำเนินการแบบลองผิดลองถูก
– การดำเนินงานไม่ยึดระเบียบของกองทุนในการดำเนินงาน
– คณะกรรมการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ
– คณะกรรมการไม่ติดตามภาวะหนี้สินของลูกหนี้
-สมาชิกไม่ให้ความสำคัญและตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการ
-สมาชิกเป็นหนี้นอกระบบ/นำเงินนอกระบบในการชดใช้หนี้สิน
-กรรมการมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะของผู้นำในหมู่บ้าน
-ประธานและกรรมการบางกองทุนไม่สนใจในการเข้ารับการประชุม/อบรม
การปฏิบัติงานของพัฒนากรในพื้นที่
๑. ศึกษาข้อมูล/ผลงาน/วิเคราะห์
๒. ศึกษาและเชื่อมต่องานในประเด็นการบริหารของคณะกรรมการและการประกวดกิจกรรมของสมาชิกกองทุน
๓.ประสานเชื่อมต่องานของ กทบ.ทุกกลุ่มในการคัดเลือกสมาชิกที่กู้ยืมเงินและนำเงินไปประกอบอาชีพและประสบผลสำเร็จสามารถเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกคนอื่นๆได้พร้อมกับวางเงื่อนไขในการประกวดกิจกรรม โดย สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกัน ยอมรับร่วมกันที่จะขับเคลื่อนงานบนฐานของการบริหารเงินในการเชื่อมสู่วิถีการดำรงชีวิต หลักเกณฑ์การประกวดกิจกรรม (ใช้ประเด็นการบริหารเงินในการสร้างรายได้และปลดหนี้สินได้ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้-นำเสนอ)
๔.เตรียม/ปรับปรุง/นำเสนอ รวบรวม ข้อมูลที่แต่ละกองทุนมีอยู่ เพื่อสรุปเป็นผลงานภาพรวมของเครือข่าย กทบ.ระดับตำบล โดยเครือข่าย กทบ.ระดับตำบล นำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรูปแบบของเขาเอง
๕.สนับสนุนช่วยเหลือ ให้แนวคิด ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นของงาน พช. และงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านกฎหมาย/การบัญชี/การบริการ/ด้านวิชาการที่เป็นปัจจุบัน
บันทึกขุมความรู้
๑.พัฒนากรต้องรู้ เข้าใจในยุทธศาสตร์ตามภารกิจของงาน และทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ (ศักยภาพของพื้นที่) การสนับสนุน กทบ. และเครือข่ายกทบ.ระดับตำบล/ระดับอำเภอ ในบทบาทพัฒนากรผู้รับผิดชอบงาน กทบ. ทำการศึกษาแนวทางการทำงาน วิธีการ/ขั้นตอน เป้าหมาย ผลลัพท์สุดท้าย
๒.พัฒนากรต้องทำหน้าที่เอื้ออำนวยการให้การนำเสนอของ กทบ./เตรือข่ายกทบ.ระดับตำบลทุกตำบล เป็นไปอย่างราบรื่น
แก่นความรู้
๑.การเชื่อมโยงภาพรวมของงานในพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ วิเคราะห์หางานที่เด่น ๆ
๒.รู้คน/รู้งาน/รู้สถานการณ์/รู้ข้อจำกัดของตนเอง-ศักยภาพคนในพื้นที่
๓.การเติมเต็มในเรื่องของความรู้-ความเชื่อมโยง-คนในพื้นที่ –สื่อที่ใช้ง่าย ๆ โดยเจ้าหน้าที่ศึกษาแนวทางการบูรณาการงาน วิเคราะห์ถึงกิจกรรมที่จะนำมาเชื่อมโยงตามภารกิจ และปฏิทินงานที่เกิดขึ้นในช่วงของการทำงาน ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ (ความพร้อมในการนำเสนอ-เล่นประเด็น)
กลยุทธ์ในการทำงาน (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)
-มีหน้าที่ – ทำ – ทำให้ดี – ทำให้ได้ -,มีขันติในการทำงาน- เติมเต็มอยู่เสมอ/ให้อาหารสมอง
– อ่าน วิเคราะห์ให้มาก ๆ และทำงานอย่างเป็นระบบมีระเบียบในตนเอง

วิธีการ
๑). คัดเลือกประเภท กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ตามทรัพยากรที่มีอยู่ว่าควรจะเลือกประเภทไหน มีปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนให้สำเร็จ เมื่อคัดเลือกแล้ว-สรุปงาน-ส่งผลต่อหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างไร สามารถนำผลที่ได้สร้างการเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มองเห็นความสำคัญของงานพัฒนาชุมชน. ประเภท กทบ./เครือข่าย กทบ.ระดับตำบล/ระดับอำเภอ อย่างไร เช่น การผ่านระบบ มชช.การจัดระบบฐานข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผน การคัดเลือกกิจกรรมที่เป็นเครื่องมือในการทำงานของ กทบ./เครือข่าย กทบ.
๒) นำเสนอการเชื่อมโยง ภารกิจเพื่อให้สอดคล้องกับงานที่สำคัญของหมู่บ้าน เป็นประเด็นหลักนำไปสู่งานที่สำคัญ ชัดเจนในภาพรวมของตำบล แนวทางการคัดเลือก/ให้ความสำคัญกับกิจกรรมโดยการคิดเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมที่เด่น ๆ ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การทำความเข้าใจร่วมกันของสมาชิก/คณะกรรมการกองทุน/ ปฏิทินการทำงานของคณะกรรมการ กทบ.ทุกระดับที่จะดำเนินการขับเคลื่อนได้อย่างไร
๓) การจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยให้กลุ่มที่มีการดำเนินงานเข้มแข็ง มีกิจกรรมต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมสามารถบอกถึงภารกิจของกทบ.ทุกระดับ ได้อย่างชัดเจน แต่ละกลุ่มจัดทำแผนปฏิบัติการ แล้วรวบรวมเป็นแผนปฏิบัติการของเครือข่าย กทบ.ระดับตำบล/อำเภอ (การบริหารจัดการเครือข่าย ) การประชุมชี้แจงให้ เข้าใจ วัตถุประสงค์ แนวทางการทำงาน/วิธีการประสานกิจกรรม เชื่อมโยงการทำงานอย่างไรถึงจะมองเห็นภาพผลงานเป็นภารกิจของเครือข่าย ในขั้นตอนนี้จะเห็นว่าตัวแทนของกลุ่มกิจกรรมที่จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน มาร่วม กิจกรรม (การให้ความรู้ – สร้างทางเลือก และให้ดำเนินงานในอนาคตเอง)
กฎระเบียบ – ระเบียบสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
แนวคิด –ส่งเสริมให้ กทบ.ทุกหมู่บ้านศึกษาใช้เป็นแนวทางและปรับกระบวนการดำเนินงานของ กทบ./เครือข่ายทุกระดับตามระเบียบของ กทบ. แห่งชาติ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง – คนทุกคนสามารถพัฒนาได้ – เลือกคนที่ใช่-ถ้าไม่ใช่ทำให้ใช่ให้ได้
ผลสำเร็จของ กทบ.หมู่บ้าน
๑.สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมในประเด็นอื่น ๆ เช่น การจัดนำเสนอกระบวนการพัฒนาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไปสู่การนำเสนอประเด็นกระบวนการบริหารกองทุน
๒.สามารถนำเสนอความภาคภูมิใจในการสร้างและพัฒนา กทบ./เครือข่ายให้มีกิจกรรมที่ยั่งยืน เป็นกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกันได้ในภาพรวมของตำบล
๓.สามารถเป็นตัวแทนขององค์กรในชุมชน/ตำบล/อำเภอ โดยมีกิจกรรมที่เป็นประเด็นหลัก สอดรับกับวิสัยทัศน์การพัฒนาของคณะกรมการ กทบ./เครือข่าย ตำบล/อำเภอ
๔. มีการคัดเลือกให้เป็น กทบ. ที่มีผลงานดีเด่นในระดับตำบล/อำเภอ เพื่อนำเสนอสู่ระดับจังหวัดด้วยกิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ การพึ่งพาตนเอง การมองอนาคตของกทบ.สู่สถาบันการเงินของชุมชน โดยชุมชนและชุมชนได้รับประโยชน์ภายใต้ศักยภาพของชุมชน
ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ประสานงาน ฯ
๑. การเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญและเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
๒. การประชาคมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับว่าเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาของคนส่วนใหญ่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
๓. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนโดยไม่ต้องหวัดพึ่งงบประมาณ/ ริเริ่มก่อน จึงได้รับการสนับสนุนภายหลัง (พึ่งตนเองให้ได้ก่อน)
๔. กลุ่ม/เครือข่ายได้รับการอบรม ส่งเสริม และพัฒนา เป็นประจำ มีประสบการณ์
๕. การส่งเสริมจากหน่วยงาน / ภาคีการพัฒนา และการรวบรวมเป็นภาพใหญ่ของตำบล/อำเภอ สร้างการเรียนรู้แก่สมาชิก/กรรมการ/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
๖. การให้ขวัญและกำลังใจ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เป็นที่ยอมรับของชุมชน เครือข่ายอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทุน/เครือข่าย
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน กทบ./เครือข่าย กทบ ต่อไป
๑. การใช้ประเด็นสำคัญของการดำเนินงานของคณะกรรมการ/เครือข่าย ระดับตำบลเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสร้างการเรียนรู้ สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของกรรมการ/สมาชิกในการพัฒนาการบริการอย่างมีคุณธรรมและนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้
๒. ภาคีการพัฒนาควรให้ความสำคัญ ๆ และเป็นการส่งเสริมการสร้างศักยภาพของ กทบ.ใน ภาพรวมของการพัฒนาที่มั่นคงต่อไป/ ทั้งทางด้านวิชาการใหม่ๆไม่ซ้ำในทุกครั้งที่มีการอบรมและวิทยากรที่มีความสามารถ/ความรู้ที่เกี่ยวข้องและตรงต่อกลุ่มเป้าหมาย
๓. ภาคีการพัฒนา ควรสนับสนุนเครื่องมือ/สื่อ/วัสดุ/งบประมาณ ในการสร้างสรรค์ การส่งเสริม
การเปิดประเด็นใหม่ ๆ ให้ กทบ./เครือข่าย ได้มีกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มี
กิจกรรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และใช้เวลาที่ตรงกัน หลีกเลี่ยง
เวลาที่มากมายและซ้ำซ้อนหลายครั้ง
๔.ควรส่งเสริมให้มีการยอมรับ กทบ.ที่มีความพร้อม ก้าวไปสู่สถานภาพที่สูงขึ้นต่อไป เช่นการเป็น
สถาบันการเงินของชุมชนและสนับสนุบงบประมาณตามความเป็นจริงในภาวะปัจจุบัน
๕.ให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ กทบ.แก่เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานเพื่อการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นทั้งแพ่ง/อาญาทุกระยะ

OfficeFolders theme by Themocracy