การใช้แผนชุมชนลดความขัดแย้งของชุมชน บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

By admin, เดือนกรกฎาคม 23, 2010

 

image002

แบบบันทึกองค์ความรู้ 

 

ชื่อ – นามสกุล      นายทองสุข  ธาตุอินจันทร์

ตำแหน่ง   อดีตผู้ใหญ่บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง

เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้     081-7842743

ชื่อเรื่อง     การใช้แผนชุมชนลดความขัดแย้งของชุมชน 

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ   การลดความขัดแย้งภายในชุมชน  

สถานที่เกิดเหตุการณ์   บ้านป่าไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

เนื้อเรื่อง 

ผลดีของการมีแผนชุมชน 

                ครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2544  ข้าพเจ้า นายทองสุข  ธาตุอินจันทร์ ได้มีโอกาสได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปรากฏว่าข้าพเจ้าได้รับชัยชนะในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นจากหมู่บ้าน

                หลังเลือกตั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า คือ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะได้รับตำแหน่งนี้ ข้าพเจ้าเคยเป็นกรรมการหมู่บ้าน และเป็นสมาชิกสภาตำบลมาก่อน และได้เข้าร่วมกับผู้นำในหมู่บ้านรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการของหมู่บ้านร่วมกับผู้ใหญ่บ้านคนเก่า จึงมีข้อมูลมากมาย แต่พอข้าพเจ้าได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ไปขอข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านคนเดิม ได้รับคำตอบอย่างไม่น่าเชื่อว่า เขาได้เผาเอกสารไปหมดแล้ว

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของแผนชุมชนบ้านป่าไผ่ เพราะข้าพเจ้าได้ปรึกษากับชาวบ้านว่าเราใช้แผนชุมชนเป็นกุศโลบายในการลดข้อขัดแย้งในชุมชน โดยมีข้อตกลงร่วมกันในเวทีประชาคม ว่าต่อไปนี้จะไม่มีใครนำเอาแผนชุมชนไปเผาได้ เพราะข้อมูลต่างๆ เป็นความคิดของทุกคน ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ดี เพราะแผนชุมชนจะต้องเป็นมรดกตกทอดของชุมชน

                แผนชุมชนเป็นเสมือนแผนชีวิต-เศรษฐกิจของชุมชนบ้านป่าไผ่ ดังนั้น ต่อมาเมื่อมีการแข่งขันการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะต้องมีการมอบแผนหรือมอบมรดกให้กับคนต่อไป คนเดิมไม่สามารถเผาหรือหนีหายไปจากชุมชนอย่างไม่มีเหตุผลได้ จะต้องอยู่เพื่อแสดงความยินดีให้กัน ถ้าหนีไปไม่ร่วมด้วยจะถูกสังคมนินทาว่ากล่าวเอา จนกว่าจะเสร็จพิธีส่งมอบกันอย่างสมบูรณ์

 เทคนิค……ในการใช้แผนชุมชน

                ทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง ผู้ที่ไม่ได้รับชัยชนะย่อมจะทำตัวเหินห่างจากสังคมชุมชนไป แต่เมื่อบ้านป่าไผ่มีกติการ่วมกันแล้วสามารถลดปัญหาได้เป็นอย่างดี เช่น

                หลังวันเลือกตั้งแล้ว แต่ละหมู่บ้านก็จะมีเวทีแสดงความยินดี ซึ่งกันและกัน มีการมอบหมายงานหรือแผนชุมชนให้กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นผลจากการจัดเวทีทำให้เกิดความอบอุ่น คนทึ่ได้รับตำแหน่งใหม่ก็จะได้รับมอบแผนชุมชนจากคนเก่า ผู้นำคนเก่าก็จะแสดงความยินดีให้กับคนใหม่ แล้วบอกกับคนใหม่ว่า ถ้ามีอะไรเราจะร่วมมือกัน มีปัญหาอะไรก็ปรึกษากันได้

                ผู้ได้รับตำแหน่งใหม่ กล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ทอดทิ้งผมนะ มีอะไรผมก็จะไปปรึกษาหารือ ซึ่งไม่ใช่เป็นการมอบเพียงแค่แผนชุมชนหรืองานเท่านั้น เป็นการมอบแผนและเป็นการมอบทั้งหัวใจของผู้นำให้กันและกันด้วย

                ผลที่ได้รับทันตาเห็น คือ ผู้ที่มาร่วมงานทั้งสองฝ่ายก็เกิดความปิติยินดี ซาบซึ้งในไมตรีของผู้นำ ว่าเราทุกคนคือพวกเดียวกันหมด แถมเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย บางคนถึงกับน้ำตาซึม ทำให้เกิดความสงบและความสุของค์รวมอย่างยั่งยืน

 บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)

  1. การจัดเวทีประชาคม ขอความเห็นจากชุมชน ปรึกษาหารือกันก่อนจะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
  2. มีข้อตกลงเป็นกติการ่วมกันในการมอบหมายงานของผู้นำ
  3. นำข้อมูลมาจัดทำแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน
  4. ผู้นำคนเก่าช่วยเป็นพี่เลี้ยงแนะนำและสอนงานให้กับผู้นำคนใหม่ในชุมชน

แก่นความรู้ (Core Competency)

  1. จัดเวทีประชาคม ยึดหลักการมีส่วนร่วม
  2. สร้างกติกา กฎระเบียบ ยึดเป็นหลักปฏิบัติภายในชุมชน (กฎหมู่บ้าน)
  3. การจัดทำแผนชุมชนต้องมีข้อมูลและเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง
  4. ผู้นำรุ่นเก่า เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้นำรุ่นใหม่

กลยุทธ์ในการทำงาน 

  1. ยึดกฎระเบียบเป็นแนวทางปฏิบัติ
  2. รับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม
  3. เคารพซึ่งกันและกัน
  4. สืบทอดเจตนารมณ์ การสานต่องานกัน

แนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับแก่นความรู้ 

  1. กระบวนการมีส่วนร่วม
  2. การจัดเวทีประชาคม
  3. การยึดประเพณีสืบทอดมรดกการทำงาน

คติการทำงาน 

“ ซื่อตรงต่อเวลา ศรัทธาต่อกฎระเบียบ    ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน”

สุภาษิตโบราณ 

“รู้จักกิน  รู้จักอยู่  รู้จักใช้”

 บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)

1.        การจัดเวทีประชาคม ขอความเห็นจากชุมชน ปรึกษาหารือกันก่อนจะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

2.        มีข้อตกลงเป็นกติการ่วมกันในการมอบหมายงานของผู้นำ

3.        นำข้อมูลมาจัดทำแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน

4.        ผู้นำคนเก่าช่วยเป็นพี่เลี้ยงแนะนำและสอนงานให้กับผู้นำคนใหม่ในชุมชน

แก่นความรู้ (Core Competency)

1.        จัดเวทีประชาคม ยึดหลักการมีส่วนร่วม

2.        สร้างกติกา กฎระเบียบ ยึดเป็นหลักปฏิบัติภายในชุมชน (กฎหมู่บ้าน)

3.        การจัดทำแผนชุมชนต้องมีข้อมูลและเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง

4.        ผู้นำรุ่นเก่า เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้นำรุ่นใหม่

กลยุทธ์ในการทำงาน

1.        ยึดกฎระเบียบเป็นแนวทางปฏิบัติ

2.        รับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม

3.        เคารพซึ่งกันและกัน

4.        สืบทอดเจตนารมณ์ การสานต่องานกัน

แนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับแก่นความรู้

1.        กระบวนการมีส่วนร่วม

2.        การจัดเวทีประชาคม

3.        การยึดประเพณีสืบทอดมรดกการทำงาน

คติการทำงาน

“ ซื่อตรงต่อเวลา ศรัทธาต่อกฎระเบียบ    ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน”

สุภาษิตโบราณ

“รู้จักกิน  รู้จักอยู่  รู้จักใช้”

OfficeFolders theme by Themocracy