ภูมิปัญญานำพาเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปชา หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง

By admin, เดือนกรกฎาคม 20, 2010

 

ชื่อ นามสกุล    นางสมรักษ์    อริยะ

ตำแหน่ง               นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด                    สำนักงานพัฒนาชุมนอำเภอแม่แตง

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   08x-xxxxxxx

ชื่อเรื่อง                  ถูมิปัญญานำพาเศรษฐกิจชุมชน

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ   เศรษฐกิจชุมชน

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ       วันที่  6  กรกฎาคม  2553

สถานที่เกิดเหตุการณ์        บ้านประธานกลุ่มแปรรูปชา  หมู่ที่ 3   ตำบลป่าแป๋  อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่

เนื้อเรื่อง 

                เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553   ข้าพเจ้าได้ไปติดตามให้การสนับกลุ่มแปรรูปชาบ้านผาเด็ง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแป๋ ได้ไปพบกับสมาชิกกลุ่มแปรรูปชา จำนวน 9 คน ประธานกลุ่มแปรรูปชาบ้านผาเด็ง ได้เล่าให้ข้าพเจ้าในฐานะเป็นนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รับผิดชอบตำบลป่าแป๋  ว่าในชุมชนบ้านผาเด็งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนชา และได้มีการแปรรูปชา เป็นเมี่ยง  ซึ่ง เมี่ยงเป็นของขบเคี้ยวของคนไทยล้านนา โดยการนำยอดชามาหมักในภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ เรียกว่า ต่าง”  เมื่อหมักได้ที่ประมาณ 7-12 เดือน นำมาคลุกกับเกลือใช้อมหรือเคี้ยว เพื่อกระตุ้นประสาทไม่ให้ง่วงนอน สามารถใช้แทนกาแฟได้ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมของคนในชนบทและผู้สูงอายุ ของคนไทยล้านนา จะเห็นได้จากงานทำบุญต่างๆ จะนำเมี่ยงมาห่อด้วยไส้เมี่ยง (ไส้เมี่ยง นำมะพร้าว ขิง น้ำตาลทราย ถั่วลิสงคั่วมาคนรวมกัน)ต่อมาได้มานั่งคุยกันว่าการทำเมี่ยงยังมีคน

นิยมกน้อย จะอยู่ในกลุ่มของคนไทยล้านนาเท่านั้น ทางสมาชิกได้มาพูดคุยกันว่า ชาแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคนนิยมกันแพร่หลาย ทุกประเทศจะรู้จักชากันทั้งนั้น จึงคิดจะทำชาแห้ง โดยการค้นหาภูมิปัญญาในหมู่บ้านในการทำชาแห้ง โดยมีชาวบ้านที่มีความรู้ในการทำชาแห้ง ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากปู่ย่าตายายเมืองสิบสองปันนา นำยอดชามาคั่วเป็นชาแห้งออกจำหน่าย และได้มีการรวมกลุ่มกันซื้อยอดชามาคั่ว ใส่กล่องออกจำหน่าย  ปัจจุบันได้ส่งจำหน่ายทั้งภายในและต่างจังหวัดรวมทั้งจำหน่ายในหมู่บ้านซึ่งมีลูกค้ามาซื้อชาแห้งที่ทำจากยอดชาและใบชาแก่ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น  ทางสมาชิกกลุ่มไค้มีการพูดคุยกันตามประเด็นดังนี้

                1. เรื่องการพัฒนาคุณภาพของชา ว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์ชาแห้งเป็นที่ต้องการของตลาด สมาชิกกลุ่มได้ทำบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่าย เป็นที่สนใจของลูกค้า   แต่ไม่สามมารถวางจำหน่ายตามห้างร้านทั่วไปได้เนื่องจากยังไม่มี อย.

   2. เรื่องการจัดแสดงกระบวนการทำชาแห้ง ในหมู่บ้าน  เนื่องจากหมู่บ้านผาเด็งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมถนนสายอำเภอแม่แตง  -อำเภอปาย  ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวอำเภอปายเป็นจำนวนมาก และจะมีนักท่องเที่ยวมาแวะซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน จะมีชาแห้ง  ไม้กวาดดอกหญ้า ผลผลิตการเกษตร ตลอดจนแวะมาชิมกาแฟสดซึ่งเป็นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่บ้านผาเด็ง   ในหมู่บ้านผาเด็งมีที่พักซึ่งเป็นรีสอร์ทอยู่ 2 แห่ง  จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังเงินสามารถพักได้ แต่จะมีบางกลุ่มจะถามหาที่พักราคาถูก ทางสมาชิกจึงอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาช่วยให้คำแนะนำในการจัดทำหมู่บ้านท่องเที่ยว

      3.เรื่องการจัดหาวัสดุในการทำชาแห้งที่มีมาตรฐานในการทำชาแห้งให้มีคุณภาพ อาทิเช่น

เครื่องคั่วชา ที่สามารถคั่วชาได้ในปริมาณมาก ทางคณะกรรมาการกลุ่มได้ไปดูงานกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านป่าหนองหล่ม  สนใจเครื่องคั่วชาที่กลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านป่าหนองหล่มซื้อมาใช้ในราคา ประมาณ 100,000 บาท ซึ่งมีคุณสมบัติในการคั่วชาที่ได้มาตรฐานผ่านการวิจัยจากอาจารย์มหาวิทยาลัย และสามารถคั่วชาได้ปริมาณมาก คณะกรรมการได้ปรึกษาข้าพเจ้าว่าจะมีวิธีการเขียนโครงการของบประมาณจากอบต.อย่างไร ข้าพเจ้าให้แนะนำให้นำเข้าแผนชุมชนของหมู่บ้านผาเด็ง และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของอบต.ตำบลป่าแป๋

         หลังจากได้คุยกันเรื่องประเด็นดังกล่าวแล้ว ได้สรุปว่าทางคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มแปรรูปชาจะมีการประสานกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประกอบการด้านที่พัก ร้านอาหาร และผลผลิตในชุมชน มาประชุมจัดทำแผนร่วมกัน และนำประเด็นที่ได้พูดคุยกันวันนี้ไปพูดคุยกันอีกครั้ง และได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชน ตัวแทนอบต.เข้าร่วมประชุมอีกครั้ง

บันทึกขุมความรู้

-          การกำหนดหัวข้อประเด็นในการถ่ายทอดความรู้ ในการจัดทำหมู่บ้านท่องเที่ยว และกระบวนการในการให้บริการนักท่องเที่ยวแก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประกอบการด้านที่พัก ร้านอาหาร และผลผลิตในชุมชน

-          ประสานหน่วยงานภาคีอาทิเช่นตัวแทนอบต.,เกษตร,โครงการหลวงฯลฯเข้าร่วมประชุมและมาให้ความรู้

-          สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่คณะกรรมการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประกอบการด้านที่พัก ร้านอาหาร และผลผลิตในชุมชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และ ถ่ายทอดต่อไป

แก่นความรู้          

                -  วิเคราะห์และศึกษาค้นหาศักยภาพของชุมชน
                –   กระตุ้นความคิดของผู้เข้าร่วมเวทีและสนับสนุนเวทีพูดคุยสู่ชาวบ้าน
                -   สนับสนุนการจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงาน

                -   สนับสนุนการจัดเวทีเพื่อ จัดตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนปฎิบัติการ
                -   ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนโดย ให้คำปรึกษา,สนับสนุนแผนงาน โครงการ

แนวคิด/ทฤษฎีที่สอดคล้องกับแก่นความรู้

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่สะสมจากการปฏิบัติจริงในห้องทดลองของสังคม เป็นความรู้ดั้งเดิมที่ถูกค้นพบ มีการทดลองใช้ แก้ไขดัดแปลง จนเป็นองค์ความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาไทยเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่คนไทยทุกคนควรรู้ ควรศึกษา ปรับปรุงละพัฒนาใช้เพื่ออนาคตแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การการศึกษา ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้

ประเวศ วะสี (อ้างถึงในประโรม กุ่ยสาคร2547 : 62) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ เพราะฉะนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเรื่องของท้องถิ่นมากกว่าภูมิปัญญาที่มาจากข้างนอกซึ่งลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นก็คือมีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน มีความเป็นบูรณาการสูงทั้งในเรื่องของกาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่งอีกทั้งยังเน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุ เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ จึงมีความเคารพผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า

นิคม ชมภูหลง (อ้างถึงในประโรม กุ่ยสาคร2547 :62 ) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือดำเนินชีวิตโดยได้รับการถ่ายทอดและกลั่นกรองเป็นระยะเวลายาวนาน

สรุปภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือดำเนินชีวิตโดยได้รับการถ่ายทอดและกลั่นกรองเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่คนไทยทุกคนควรรู้ ควรศึกษา ปรับปรุงละพัฒนาใช้เพื่ออนาคตแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 

1. การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ถือว่าเป็นวิธีการถ่ายทอดของผู้อาวุโส หรือ ผู้เฒ่าผู้แก่โดยเป็นตัวอย่างของคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง ชุมชนเดียวกัน

2. การคิดร่วมกัน เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกในชุมชนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ มีการแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็นอย่างมีเหตุผล

เปิดโอกาสถ่ายทอดภูมิปัญญาซึ่งกันและกัน

3. การสร้างสรรค์กิจกรรมหรือการทำงานร่วมกัน โดยการขยายเครือข่ายระดับบุคคลระดับกลุ่มให้มากเพราะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาหลากหลายและนำมาพัฒนากิจกรรมที่กระทำอยู่

4. การบรรยาย หรือ เวทีชาวบ้าน เป็นกิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่ง สำ หรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ประสบการณ์ของชาวบ้านร่วมกัน อันจะส่งผลให้สมาชิกของชุมชนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้น

                                                                                                                                20 กรกฎาคม 2553

รายชื่อทีมงานจัดการความรู้ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่แตง 

 

1.  นายวิรัตน์  เรืองฤทธิโรจน์          พัฒนาการอำเภอแม่แตง    ประธาน

2.  นายนิรัติ   พรหมน้อย     นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ       ทีมงาน

3.  นายสุดใจ  พรหมสาขา ณ สกลนคร    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ      ทีมงาน

4.  นางชุติภา  จอมนงค์      นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ        ทีมงาน

5.  นางเสาวนีย์  ใจต๊ะมา        นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ        ทีมงาน

6.  นางสมรักษ์  อริยะ         นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ        ทีมงาน

7. นางกิ่งกาญจน์  หนุนแปง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ       ทีมงาน

8. นางสุกัญญา  สุวรรณ          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ        ทีมงาน

แบบจัดเก็บความรู้จากผู้มีประสบการณ์/คนเก่ง/ชำนาญ/เชี่ยวชาญ

วิธีทำ (วิธีปฏิบัติ)  การติดตามให้การสนับสนุนการพัฒนากลุ่มอาชีพทำชาบ้านผาเด็งไปสู่หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยใช้ภูมิปัญญานำพาเศรษฐกิจชุมชน

som

OfficeFolders theme by Themocracy