การขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน (ดอยสะเก็ด)

By admin, เดือนกรกฎาคม 23, 2010

image002

แบบจัดเก็บความรู้ในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 

ความรู้ในการปฎิบัติงาน เรื่อง  การขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน

เจ้าของความรู้ชื่อ    นางมธุรส   วงษ์ต๊ะ

ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยสะเก็ด

วันที่บันทึกความรู้  19   กรกฎาคม  2553

 

วัตถุประสงค์ของความรู้ :  การขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน/วิธิปฎิบัติ

               ในปี พ.ศ. 2548  ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งปรับเปลี่ยนสายงานจากธุรการเป็นพัฒนากร และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประสานงานตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

                หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ ข้าพเจ้าได้ขอพบปะกับอาสาพัฒนาชุมชนในตำบลป่าเมี่ยง ได้พูดคุยสอบถามการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกันเอง และได้รับทราบถึงความรู้สึกที่บ่งบอกถึงความน้อยใจ จากคำพูดที่ว่า พวกเขาเป็นเหมือนเสือกระดาษ ถูกแต่งตั้งขึ้นในคำสั่งแต่ไม่มีบทบาทใด ๆ ในหมู่บ้าน ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครยอมรับ  หากเปรียบเทียบแล้วแตกต่างจาก อสม.

                 ความรู้สึกที่สัมผัสได้ เขาเหล่านั้นเป็นคนในหมู่บ้าน ที่ล้วนมีจิตอาสา ยังไม่ได้รับการพัฒนาตนเอง  ยังไม่ได้รับโอกาสที่จะทำงานอย่างแท้จริง  และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อให้หมู่บ้านของเขาได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง

                  ข้อมูลต่าง ๆ เป็นจุดประกาย ที่ให้ข้าพเจ้าได้นำมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานอาสาพัฒนาชุมชนในระดับตำบล ดังนี้

  1. มีการประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชน
  2. สอดแทรกบทบาทหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเวทีการ

ประชุมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ ตำบล เพื่อให้ผู้นำได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ

  1. ประสานงานกับ อบต.ป่าเมี่ยง ให้เล็งเห็นความสำคัญในบทบาท

ของอาสาพัฒนาชุมชน โดยให้อาสาพัฒนาชุมชนเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และได้รับการสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพอาสาพัฒนาชุมชน

หลังจากนั้นการขับเคลื่อนกิจกรรมของอาสาพัฒนาชุมชนตำบลป่า

เมี่ยง ก็เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ด้วยกลไกตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน เช่น การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ,  การแก้ไขปัญหาความยากจน,  การปลูกป่า, การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอมาปฏิบัติโดยฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน

                    ผลลัพธ์ที่ได้อาสาพัฒนาชุมชน ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง จนเป็นกลุ่มองค์กรที่ได้การยอมรับจากประชาชน/องค์กรต่าง ๆ  อาสาพัฒนาชุมชนจำนวน 2 ท่านได้รับการคัดเลือกเป็น สอบต. / สท.ในปัจจุบัน    ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำอื่น ๆ เข้ามาเป็นอาสาพัฒนาชุมชน   และกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน/ตำบล เช่น เครือข่าย กทบ.ตำบลป่าเมี่ยง  ได้พิจารณาสนับสนุนเงินจำนวน  6,000 บาท เพื่อพัฒนางานอาสาพัฒนาชุมชน ในปี 2553 นี้    

1.  การสื่อความรักความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ที่มีต่อประชาชนคนไทยทุกคน ให้แก่อาสาพัฒนาชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจของเขาเหล่านั้นให้มีจิตใจเปี่ยมล้วนด้วย  จิตอาสา

2.  อาสาพัฒนาชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน

3. การพัฒนาผู้นำในระดับท้องถิ่น ควรเป็นบทบาทหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาคนในระดับฐานราก และพัฒนาไปสู่ระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

               ในปี พ.ศ. 2548  ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งปรับเปลี่ยนสายงานจากธุรการเป็นพัฒนากร และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประสานงานตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

                หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ ข้าพเจ้าได้ขอพบปะกับอาสาพัฒนาชุมชนในตำบลป่าเมี่ยง ได้พูดคุยสอบถามการทำงานของอาสาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกันเอง และได้รับทราบถึงความรู้สึกที่บ่งบอกถึงความน้อยใจ จากคำพูดที่ว่า พวกเขาเป็นเหมือนเสือกระดาษ ถูกแต่งตั้งขึ้นในคำสั่งแต่ไม่มีบทบาทใด ๆ ในหมู่บ้าน ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครยอมรับ  หากเปรียบเทียบแล้วแตกต่างจาก อสม.

                 ความรู้สึกที่สัมผัสได้ เขาเหล่านั้นเป็นคนในหมู่บ้าน ที่ล้วนมีจิตอาสา ยังไม่ได้รับการพัฒนาตนเอง  ยังไม่ได้รับโอกาสที่จะทำงานอย่างแท้จริง  และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อให้หมู่บ้านของเขาได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง

                  ข้อมูลต่าง ๆ เป็นจุดประกาย ที่ให้ข้าพเจ้าได้นำมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานอาสาพัฒนาชุมชนในระดับตำบล ดังนี้

1.        มีการประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชน

2.        สอดแทรกบทบาทหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเวทีการ

ประชุมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ ตำบล เพื่อให้ผู้นำได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ

3.        ประสานงานกับ อบต.ป่าเมี่ยง ให้เล็งเห็นความสำคัญในบทบาท

ของอาสาพัฒนาชุมชน โดยให้อาสาพัฒนาชุมชนเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และได้รับการสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพอาสาพัฒนาชุมชน

หลังจากนั้นการขับเคลื่อนกิจกรรมของอาสาพัฒนาชุมชนตำบลป่า

เมี่ยง ก็เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ด้วยกลไกตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน เช่น การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ,  การแก้ไขปัญหาความยากจน,  การปลูกป่า, การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอมาปฏิบัติโดยฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน

                    ผลลัพธ์ที่ได้อาสาพัฒนาชุมชน ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง จนเป็นกลุ่มองค์กรที่ได้การยอมรับจากประชาชน/องค์กรต่าง ๆ  อาสาพัฒนาชุมชนจำนวน 2 ท่านได้รับการคัดเลือกเป็น สอบต. / สท.ในปัจจุบัน    ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำอื่น ๆ เข้ามาเป็นอาสาพัฒนาชุมชน   และกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน/ตำบล เช่น เครือข่าย กทบ.ตำบลป่าเมี่ยง  ได้พิจารณาสนับสนุนเงินจำนวน  6,000 บาท เพื่อพัฒนางานอาสาพัฒนาชุมชน ในปี 2553 นี้     

ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง

1.  การสื่อความรักความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ที่มีต่อประชาชนคนไทยทุกคน ให้แก่อาสาพัฒนาชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจของเขาเหล่านั้นให้มีจิตใจเปี่ยมล้วนด้วย  จิตอาสา

2.  อาสาพัฒนาชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน

3. การพัฒนาผู้นำในระดับท้องถิ่น ควรเป็นบทบาทหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาคนในระดับฐานราก และพัฒนาไปสู่ระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

OfficeFolders theme by Themocracy