ความรู้ในการปฎิบัติงาน เรื่อง การทำข้าวกล้อง

By admin, เดือนกรกฎาคม 28, 2010

 

แบบจัดเก็บความรู้ในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (Km)

image001

ความรู้ในการปฎิบัติงาน  เรื่อง      การทำข้าวกล้อง  

เจ้าของความรู้ชื่อ    นางจิรัฐิกาล   การะหงษ์

ตำแหน่ง     นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงดาว

วันที่บันทึกความรู้      28   กรกฎาคม  2553

วัตถุประสงค์      เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้ในการเพิ่มรายได้

กระบวนการ / ขั้นตอน  /  วิธีปฎิบัติ

ในยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็งโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งนำกระบวนการเรียนรู้ สร้างเสริมขีดความสามารถของชุมชนให้ อยู่เย็นเป็นสุข  

ข้าพเจ้าปฎิบัติงานรับผิดชอบผู้ประสานงานตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้คัดเลือก กลุ่มสตรีแม่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลแม่นะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้มีการจัดเวทีประชาคม กลุ่มสตรีแม่บ้านเพื่อหาสภาพปัญหาของกลุ่มสตรี  และมีกลุ่มสตรีแม่บ้านอาสาสมัครในการจัดทำข้าวกล้อง เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของชุมชน โดยมี อาสาสมัคร 3  คน ดำเนินการสาธิตและรวมกลุ่มจัดทำข้าวกล้อง  คือ

  1. นางจันทร์เพ็ญ เกสรพรม   
  2. นางกัตติกา   แก้วฟอง
  3. นางสังวาลย์    มณี

ขั้นตอนในการทำข้าวกล้อง 

อุปกรณ์ในการทำข้าวกล้อง

          เครื่องชั่ง,ถุงพลาสติก ขนาด 8×12 6×9 , ตราชั่งกระด้ง , กระบุง,กะลามะพร้าว,เครื่องผนึกถุงถาด

วิธีการทำข้าวกล้อง  จัดเตรียมอุปกรณ์เทข้าวลงในเครื่องกระเทาะข้าวเครื่องจะทำการแยกข้าวกับเปลือกจากนั้นนำมาร่อนนำเข้าเครื่องอีก 1 ครั้งแล้วนำมาแยกข้าวอีกทีโดยการนำข้าวมาร่อน เพื่อแยกข้าวกับเปลือก

 

                   

 

 

 

                   ข้าวกล้องมีประโยชน์   1.ร่างกายแข็งแรง

                  2.ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มได้นานกว่า จึงไม่ทำให้อ้วน

                                                                        3.ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคโลหิตจาง

กรรมวิธีการหุงข้าวกล้อง

จากการเก็บสิ่งแปลกปลอมออกเสียก่อน และควรซาวข้าวเพียงครั้ง เดียวเพื่อไม่ให้สูญเสียวิตามินไปกับน้ำซาวข้าว ในการหุงข้าวกล้องนั้น ต้องใส่น้ำในปริมาณที่มากกว่าการหุงข้าวขาวเพราะข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ด การดูดซึมน้ำจะยากกว่าจึงต้องใช้เวลาหุงนาน แต่เพื่อเป็นการประหยัดเวลาควรจะแช่ข้าวกล้อง ก่อนหุงประมาณ5-10 นาที ข้าวกล้องที่หุงแล้วจะได้นุ่มหอมน่ารับประทาน

สารอาหารจากข้าวกล้อง

โปรตีน ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วน ที่สึกหรอ

แป้ง แป้งในข้าวกล้องถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) ที่มีการย่อยสลายอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะควบคุม ข้าวกล้องจึงช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ และให้พลังงานต่ำ ช่วยรักษาน้ำหนักตัวไม่อ้วน แต่แป้งในข้าวขาวถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (simple carbohydrate)ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว ไม่สมดุลกับระดับอินซูลิน ทำให้น้ำตาลเหลือในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนง่าย
วิตามินและเกลือแร่ ข้าวกล้องมีวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี 1 ที่ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก และวิตามินบีอื่นๆ อีกหลายชนิด และยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม แมกนีเซียมที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิต
ใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการท้องผูก ป้องกันโรคเกี่ยวกับลำไส้ และโรคมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน
สารต่อต้านอนุมูลอิสระ
เช่น แอนโทไซยานิน ไฟโตสเตอรอล โทโคเฟอรอล ออริซานอล กรดโฟลิก

เทคนิคการหุงที่ถูกต้องมีดังนี้
                   เริ่มจากล้างข้าวกล้องให้สะอาดและแช่น้ำก่อนหุง จะทำให้เนื้อนุ่มขึ้นและหุงเร็วข้าวกล้องที่วางขายในซูเปอร์มาร์เกตหรือร้านค้าก็มีมากมายจนเลือกไม่ถูก เช่น ข้าวกล้องบางชนิดที่มีผิวเมล็ดไม่เรียบ ข้าวกล้องสีน้ำตาลหรือสีเหลืองนวล สีแดง สีม่วงซึ่งขึ้นกับสารสีที่อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ด

OfficeFolders theme by Themocracy