การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านท่ามะขาม ม.5 ต.สันทราย อ.สารภี

By admin, เดือนกรกฎาคม 28, 2010

1. ชื่อความรู้.การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านท่ามะขาม ม.5 ต.สันทราย อ.สารภี

 2. เจ้าของความรู้..นางสุพิม   พรหมแก้ว

3. ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ…สังกัด….สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสารภี                

                              จังหวัดเชียงใหม่

4. แก้ปัญหาเกี่ยวกับ.เงินทุนหมุนเวียนในชุมชนมีไม่เพียงพอ

5. เรื่องเล่า…………..

                                ในปี  พ.ศ.  2541  สภาตำบลสันทราย มีนโยบายในการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ตำบลสันทราย   โดยให้ออมในรูปกลุ่มออมทรัพย์ตำบลสันทราย      ซึ่งในช่วงนั้นมีหลายหมู่บ้านในตำบลได้มีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์แล้ว   ทางคณะผู้นำในชุมชนจึงปรึกษากันวางแผนร่วมกัน     นำเข้าที่ประชุมหมู่บ้าน     ซึ่งมติที่ประชุมเห็นว่าหมู่บ้านท่ามะขามของเรา  ควรจะออมทรัพย์หมู่บ้านก่อน เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเงินของหมู่บ้าน  และเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่บ้าน เป็นแหล่งทุนของหมู่บ้าน   กรณีที่ไม่มีเงินทุนประกอบอาชีพ   กรณีฉุกเฉิน  สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน  จึงมีการเริ่มจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นในปี  2541    ปัจจุบันมีสมาชิก……228…..คน  มีจำนวนเงินออมทั้งหมด…1,699,835.. บาท   

         จำนวนเงินออมรายเดือนของสมาชิกขึ้นอยู่กับความสามารถของสมาชิก  โดยมีการส่งเงินออมรายเดือนประมาณ    46,700  บาท

  ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินงานกลุ่มประสบผลสำเร็จ

1. เป็นการใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน      การก่อตั้งเป็นแนวคิดตามนโยบายของหน่วยงานงานภาครัฐ(สภาตำบลสันทราย) ซึ่งผู้นำชุมชนเห็นด้วยกับความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่ม  จึงได้ร่วมกันวางแผน   ขยายแนวคิดในการออมเงิน และได้จัดประชุมชาวบ้านเพื่อร่วมกันคิดวางแผนกับชาวบ้านอีกครั้ง  ซึ่งชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มในทุกขั้นตอน    ตั้งแต่ร่วมรับรู้ข้อมูล  ร่วมกันคิด   ร่วมกันตัดสินใจ  ร่วมกันวางแผนจัดตั้งกลุ่ม  ลงมือปฏิบัติ(จัดตั้งกลุ่ม) ร่วมกันติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงาน  และร่วมรับผลประโยชน์  มีการนำผลการดำเนินงานแล้วที่ประชุมสมาชิก  เพื่อรับทราบข้อมูลและเพื่อการพัฒนากลุ่มให้ดีขึ้น

2. เป็นแหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน  ชาวบ้านเล็งเห็นผลประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในแง่เป็นแหล่งเงินทุนใกล้ตัว  ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน    ใช้ความเชื่อใจ    ไว้วางใจกัน

             3. ความสามัคคีในชุมชน  บ้านท่ามะขามเป็นสังคมชนบท  ชาวบ้านมีความผูกพันกันฉันญาติมิตร  มีความรักเพื่อนบ้าน   มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มฯ   ทำให้ห่วงใย เกิดความรู้สึกภูมิใจ   ที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนบ้าน

            4. เป็นการส่งเสริมการออมของชาวบ้านเป็นการสร้างนิสัยที่ดีเป็นแบบอย่างแก่เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง

            5. มีความโปร่งใสตรวจสอบได้

6. ขุมความรู้

     6.1    กิจกรรมพัฒนาชุมชนมีทั้งที่เกิดจากปัญหาความต้องการของชุมชน และนโยบายภาครัฐ

     6.2    กิจกรรมพัฒนาจะประสบความสำเร็จหากมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือชุมชน

     6.3    การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาในทุกระดับ

     6.4    หมู่บ้านที่มีสมาชิก เข้มแข็ง รู้รัก สามัคคี    การพัฒนาต่างๆ จะเกิดสัมฤทธิผลได้มากกว่าหมู่บ้านที่

                 สมาชิกมีความขัดแย้ง

7. แก่นความรู้

     7.1 ชาวบ้านจะเกิดการยอมรับ  หากมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม

     7.2  ชาวบ้านจะเห็นความสำคัญหากกิจกรรมนั้นส่งผลประโยชน์ให้กับตนเองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม

     7.3 การทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน   สร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในชุมชน

     7.4  การปฏิบัติให้เห็น ดีกว่าการสอนด้วยคำพูด

     7.5 ความโปร่งใสเป็นหัวใจของการทำงานส่วนรวม

8. แนวคิด/ทฤษฎีที่สอดคล้องกับแก่นความรู้

    8.1   กระบวนการมีส่วนร่วม

    8.2  ทฤษฏีภาวะผู้นำ

    8.3   ทฤษฏีการติดต่อสื่อสาร

    8.3  เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

OfficeFolders theme by Themocracy