เทคนิคในการใช้น้ำเสียงในการพูด
ชื่อ-นามสกุล นางอรพินท์ วงศ์บุรินทร์พาน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ท่านเคยประสบปัญหาในการพูดหรือไม่ หรือเคยคิดไหมว่าการพูดที่ดีควรเป็นอย่างไร เนื่องจากข้าพเจ้า ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการพูดในที่ชุมชนมามากนัก ทำให้ข้าพเจ้าต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทั้งจากเอกสาร และจากผู้มีประสบการณ์ ทำให้รู้ว่าการพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำน้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ และความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟัง เพื่อให้เกิดการรับรู้และเกิดผลการตอบสนองอย่างสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของผู้พูดนั่นเอง
สำหรับเทคนิคการใช้น้ำเสียงในการพูด หรือวิธีการปรับปรุงน้ำเสียงในการพูดเพื่อให้เกิดผลดีที่สุด จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา รวมทั้งได้เคยทดลองนำมาใช้และได้ผลมาแล้ว คือเวลาพูดจะต้องพูดให้เสียงดังฟังชัด ซึ่งการพูดให้เสียงดังไว้ก่อน ได้ผลดีเสมอ อย่างน้อยก็เป็นการปลุกผู้ฟังให้ตื่น และแสดงถึงความเชื่อมั่นในตนเอง จังหวะการพูดจะต้องไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เพราะการพูดช้าเกินไป ทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย ง่วงเหงาหาวนอน พูดเร็วเกินไป ทำให้ผู้ฟังติดตามไม่ทัน และผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นการพูดคล่องจึงไม่เป็นผลดีเสมอไป วิธีพูดให้ได้จังหวะพอดี คือการหัดพูดหรือหัดอ่านเป็นประโยค ๆ เว้นวรรคตอนให้ถูก พูดให้ชัดเจน และอย่าพูดเอ้อ-อ้า เพราะทำให้เสียเวลา เสียรสชาติของการพูด ทำให้ผู้ฟังรำคาญ และอย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือหรือท่องจำ ทางที่ดีควรพูดในลีลาสนทนา คือ พูดไปนึกไป ถ่ายทอดความคิดโดยตรงจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง พูดด้วยความรู้สึกที่จริงใจ ต้องใจความกระตือรือร้น ใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไป อย่างพูดราบเรียบโดยใช้เสียงทำนองเดียวตลอด มีการเน้นหนักเบา มีการใช้เสียงสูงเสียงต่ำ และมีการเน้นจังหวะ ตลอดจนการหยุดเล็กน้อยก่อนหรือหลังการพูดที่สำคัญ ๆ นั่นเอง
ขุมความรู้
๑. จากเอกสารความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการพูด
๒. จากการสังเกตวิทยากรในการอบรมโครงการต่าง ๆ
แก่นความรู้
๑. ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
๒. ปรึกษาหารือ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
unpopular@blame.careworn” rel=”nofollow”>.…
thank you….