การส่งเสริมการทำอาหารแปรรูปจากปลา

By admin, เดือนกรกฎาคม 15, 2011

บันทึกองค์ความรู้ (KM)

การส่งเสริมการทำอาหารแปรรูปจากปลา

บ้านแปลง 5

หมู่ที่  3  ตำบลท่าเดื่อ

อำเภอดอยเต่า  จังหวัดเชียงใหม่

image002
เจ้าขององค์ความรู้

นางนิตยา  ปัญญามี

นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ

ชื่อความรู้ การส่งเสริมการทำอาหารแปรรูปจากปลา

เจ้าของความรู้ นางนิตยา  ปัญญามี

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ

หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า

เนื้อเรื่อง

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” การหาปลาในทะเลสาบดอยเต่า เป็นอาชีพสมัยดั้งเดิมของชาวบ้านแปลง  5  หัวหน้าครัวเรือนในสมัยโบราณ เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ทำสวน ก็จะหาปลา แทบทุกครัวเรือน เนื่องจากแต่เดิมไม่มีการซื้อขายสินค้า มีแต่มีการแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน  การหาปลาของคนสมัยโบราณจะหาโดยใช้ตาข่าย แห อวน ตุ้ม เหลือจากการรับประทานในครัวเรือน ก็ยังนำมาแปรรูป เช่น ปลาร้า ปลาย่าง ปลาส้ม แต่ปัจจุบันจะนำมาแปรรูปเป็นน้ำพริกปลาร้า ปลาสามรส ปลาร้าผง ปลาย่างโลมควัน สตรีไม่ต้องออกไปทำมาหากินนอกบ้านมีหน้าที่เฝ้าบ้าน  หุงหาอาหาร จึงมีเวลาว่างมากมายที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากปลาในรูปแบบต่าง ๆ   สมัยก่อนจะทำปลาร้าหมักไว้เป็นปี จึงนำออกมาบริโภค  ขณะที่ฝ่ายชาย  มีหน้าที่ออกไปหาปลาเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว หลังจากว่างเว้นจากการ  ทำนา ทำไร่ ทำสวน เนื่องจากห่างไกลความเจริญ  ประจวบกับในหมู่บ้านอยู่ใกล้กับทะเลสาบดอยเต่า  คือ ปลาในทะเลสาบมีมากมาย   ซึ่งสามารถหาปลาได้สะดวก จึงจำต้องหาปลาไว้กินในครัวเรือน เหลือจากกินในครัวเรือน จึงนำปลามาแปรรูปอาหารจากปลาดังกล่าว

เรื่องเล่า

วิถีชีวิตวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม

  1. การมีเอกลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นชุมชน

- ปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ บ้านแปลง 5 มีการ

สืบทอดภูมิปัญญา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้ความสามัคคีรวมกลุ่มกันผลิตสินค้า เพื่อจำหน่าย

-          ราษฎรบ้านแปลง 5 ทุกคน มีความเคารพนับถือ เชื่อฟังผู้อาวุโส จึงน้อมรับภูมิปัญญาดั้งเดิม ดังกล่าวสืบสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน

  1. การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม

-          จากการประกอบอาชีพประมงน้ำจืด และการผลิตสินค้าประเภทแปรรูปอาหารจาก

ปลา ได้มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการตั้งกฎเกณฑ์ของชุมชนในการประมงน้ำจืด ดังนี้ คือ

  1. ไม่ควรจับปลาในฤดูวางไข่
  2. ห้ามใช้สวิงในการจับปลาสวาดวง
  3. ให้ใช้เครื่องมือดังนี้เท่านั้นในการหาปลา
image005image006

ชาวบ้านแปลง 5  เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความผูกพันกันทางเชื้อชาติ มีการรวมกลุ่ม มีความรักความสามัคคี   มีความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่  ซึ่งกันและกัน  ดำรงชีพอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข   มีการแบ่งบันในเรื่องอาหารการกิน  เงินในสมัยก่อนไม่มีค่าเหมือนปัจจุบันเวลาจะซื้อของกินของใช้    จะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว     สตรีแม่บ้านจึงนำปลามาแปรรูปอาหารจากปลา     เพื่อนำมาเก็บกินไว้เป็นปี การหาปลาเป็นอาชีพของชาวบ้านแปลง 5 เป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านแปลง 5  คือ ตกเย็นก็จะนำอุปกรณ์ในการหาปลาไปวางในน้ำ ตอนเช้าก็จะไปเก็บแล้วแต่ละคนจะหาโดยวิธีใด

ขุนความรู้

จุดเริ่มต้น

จากความยากจนค่นแค้นอย่างแสนสาหัส ชาวบ้านต้องอยู่กินแบบประหยัด หาปลามาได้มีการแบ่งปันเพื่อนบ้าน เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่บ้าน ที่เหลือเก็บเอาไว้กินในวันต่อไปขาดห้องเย็นในการแช่แข็ง ขาดยวดยานพาหนะ ในการขนส่งไปขายยังตลาด ประสบปัญหาจับปลามาได้ขายไม่ออก ปลาเน่าเสียทิ้งขว้างในที่สุด แต่ด้วยความชาญฉลาดของบรรพบุรุษ บ้านแปลง 5 มีการคิดค้นหาวิธีการถนอมอาหารไว้กินในโอกาสต่อไป จึงนำปลามาหมักไว้ด้วยเกลือและคลุกเคล้าด้วยข้าวคั่วเพื่อดับกลิ่น ใช้สำหรับประกอบอาหารแทบทุกประเภท

3.3 การสั่งสมจนเป็นการสืบสานผลิตภัณฑ์

เนื่องจากราษฎร ตำบลท่าเดื่อทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะบ้านแปลง 5 มีน้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญหล่อเลี้ยงชีวิต มีทะเลสาบดอยเต่าเป็นที่อยู่อาศัยของปลา ดังนั้น วัตถุดิบในการผลิตปลาร้า จึงหาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มต้นจากการผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน มีการสืบสานภูมิปัญญาจากคนในครอบครัวและสู่เพื่อนบ้าน และด้วยนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) ของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชน/กลุ่มอาชีพต่าง ๆ รู้จักหาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลพึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรร ทำฝันให้เป็นจริง ความดื้อรั้นในอดีตเป็นบทเรียนสอนใจ จากนโยบายของรัฐบาลสตรีบ้านแปลง 5 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตปลาร้าเพื่อขาย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และในปัจจุบันประสบผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง คือเป็นสินค้าระดับ 4 ดาว ในปี พ.ศ. 2546

image008


ชาวบ้านแปลง 5 เป็นสังคมแห่งความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้บุตรหลานในการหาปลา  นับเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านสืบสานผลิตภัณฑ์   ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ทรงคุณค่า   มีการจำหน่ายไปข้างนอก   ปัจจุบันสามารถพัฒนาไปสู่ท้องตลาดทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด และได้ปรับปรุงคิดค้นในการแปรรูปอาหารจากปลาในรูปแบบต่าง ๆ   เกิดรายได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน   มีสมาชิกกลุ่ม ทั้งหมด 30 คน

การทำอาหารแปรรูปจากปลา

มีเอกลักษณ์  ที่สะท้อนความเป็นชุมชน

การทำอาหารแปรรูปจากปลา อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านแปลง 5   คือความเป็นพื้นบ้าน ความมีคุณภาพ รสชาดของอาหารแปรรูปจากปลา และสิ่งที่เป็นความภาคภูมิ ใจของชาวบ้านแปลง 5 คือ เป็นสินค้าที่ผ่านการคัดสรรเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 4 ดาว ในปี 2553

วัตถุดิบ

วัตถุดิบกับทรัพยากรในท้องถิ่น

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตราคาถูก/หาง่ายเนื่องจากสามารถหาได้เองในทะเลสาบดอยเต่า

1. ปลา  ปลาในทะเลสาบดอยเต่า เป็นปลาน้ำจืด การหาปลาจะไม่หาในฤดูวางไข่

2. อุปกรณ์ในการหาปลา  เช่น  ตาข่าย อวน ตุ้ม แห

วัตถุดิบสะท้อนความเป็นภูมิปัญญา

วัตถุดิบธรรมชาติที่นำมาแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ  เพื่อนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวันของชาวบ้านแปลง 5 ตัวอย่างเช่น ปลาร้า ปลาร้าผา น้ำพริกปลาเผา น้ำพริกปลาป่น ปลาย่าง ปลาโลมควัน ปลาแดดเดียว ปลาสามรส ฯลฯ  นำมาคัดแปลงในรูปที่นำมารับประทานเป็นปี เช่น ปลาร้า  ปัจจุบันมีการพัฒนาฝีมือ โดยใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ อุปกรณ์ในการทำปลาร้าผง ปลาป่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความละเอียดในการแปรรูปอาหารจากปลา

องค์ประกอบของการแปรรูปอาหารจากปลา

ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากปลาบ้านแปลง 5  เริ่มต้นจากการทำไว้รับประทานในครัวเรือน ต่อมาได้รับการส่งเสริม  สนับสนุนจากส่วนราชการต่าง ๆ  อาทิ     เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยจากเดิมนำมาประกอบอาหารในครัวเรือน  ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากอาหารจากปลาหลากหลาย  ได้แก่

ชื่อผลิตภัณฑ์

รายการแปรรูปอาหารจากปลา มีดังนี้

1.1  ปลาย่าง

1.2  ปลาสวาทวง

1.3  ปลาร้า, ปลาร้าผง

1.4  ปลาผง

1.5  ปลาอบกรอบ

1.6  ปลาส้ม, แหนมปลา

1.7  ปลาเนื้ออ่อนย่าง

1.8  ปลาสะหวายย่าง

1.9  ปลาแดดเดียว

1.10 น้ำพริกปลาย่าง

1.11 ปลาสามรส

1.12 ปลาหยอง

1.13 ปลาป่น

เรื่องเล่าของผลิตภัณฑ์

จากความยากจนในอดีตต้องทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา บางครั้งมีการแบ่งปัน

เพื่อนบ้าน และเหลือเก็บไว้กินในวันหลังหรือวันต่อไป หรือเก็บไว้กินนาน ๆ ในภาษาพื้นเมืองเหนือของชาวดอยเต่ามักบอกกับลูกหลานว่าแบ่งไว้หรือเก็บกินวันหล้า วันลูนบ้าง ดังนั้นปลาที่เหลือเก็บไว้กินวันต่อไป ชาวบ้านเรียกว่า ปลาหล้า ซึ่งหมายถึงปลาที่เหลือเก็บไว้กินวันหลัง หรือวันต่อไป หรือเก็บไว้กินนาน ๆ หลังจากนำปลาที่เหลือเก็บผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารเป็นปลาร้า เมื่อนำมาประกอบอาหารจึงมีรสชาดถูกใจคนทั่วไปเป็นที่นิยมของชาวบ้านทั้งในและต่างอำเภอ/จังหวัด แต่เนื่องจากภาษาพูดในชื่อของผลิตภัณฑ์ปลาหล้า ฟังดูแล้วคนทั่วไปไม่รู้ความหมายจึงเรียกกันเพี้ยนไปจากเดิมเป็น ปลาร้า จนถึงปัจจุบัน

1. ตำนานของผลิตภัณฑ์ปรากฏร่องรอยหลักฐานที่อ้างอิง ถึงโบราณศิลปวัตถุฯ ชื่อบ้าน นามเมือง

-          เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

-          ทะเลสาบดอยเต่า

-          ชื่อของหมู่บ้าน ในตำบลท่าเดื่อ

2. ผลิตภัณฑ์สะท้อนภูมิปัญญาด้านใด

-          ผลิตภัณฑ์ปลาร้าสะท้อนภูมิปัญญาด้านการดำรงชีพแบบเศรษฐกิจมีการดำรงชีวิต

ด้วยความรู้ รักสามัคคีในหมู่คณะ/รู้จักแลกเปลี่ยนแบ่งปัน/รู้จักประหยัดอดออม มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ แบ่งปันเพื่อนบ้านและขายเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว/สังคม

3.การเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับวิธีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ราษฎรบ้านแปลง 5 ได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษถึงปัจจุบัน เป็นความผูกพันระหว่างผลิตภัณฑ์ปลาร้ากับชุมชน เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบคือปลา เป็นวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น ไม่มีวันไปจากบ้านแปลง 5

4.ความดั้งเดิมของวัฒนธรรม และประเพณีของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ปลาร้าบ้านแปลง 5 เป็นภูมิปัญญาที่สืบสานกันมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้น

เมื่อครบรอบ 1 ปี คือ ในวันที่ …15…..เดือน เมษายน  ของทุกปี จะมีการกราบไหว้ แสดงความขอบคุณบรรพบุรุษ เพื่อระลึกถึงพระคุณที่ได้ประสาทวิชาความรู้ได้ ประสาทวิชาความรู้ในการ

ถนอมอาหารให้มีการทำบุญตักบาตร อุทิศร้านกุศลให้ปลาที่ถูกคร่าชีวิตเป็นอาหารของมนุษย์ มีสัตว์ และการทำประมงน้ำจืด และปริมาณปลาในลำแม่น้ำปิงมีชุกชุม สมัยก่อนไม่มีการซื้อขายปลา เนื่องจากสถานที่อยู่ห่างไกลชุมชนเมือง และการคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางส่วนใหญ่อาศัยการเดินทางทางน้ำ ปลาที่ไปจับได้จะมีปริมาณมาก นำมารับประทานยังไม่หมด ทำให้ปลาเน่า จึงคิดที่จะมีวิธีการที่จะถนอมอาหารจากปลาเพื่อเก็บไว้กินได้นาน จึงนำเอาปลาที่เน่าแล้ว นำมาล้างแล้วหมักด้วยเกลือ ใส่ข้าวคั่วเพื่อให้ปลาที่หมักดองมีรสชาดอร่อย ปลา 10 กิโลกรัม จะใส่ข้าวคั่ว 1 กิโลกรัม ดองไว้ประมาณ 3-6 เดือน จึงจะรับประทานได้ และเรียกชื่อปลาที่ดองไว้ว่าปลาร้า

การบรรจุภัณฑ์

การบรรจุภัณฑ์ในสมัยก่อน ไม่มีโอ่ง ไม่มีไห ไม่มีถังพลาสติก ชาวบ้านสมัยก่อนจึงนำปลาที่เน่าแล้วมาหมักป่นด้วยเกลือ นำใส่กระบอกไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่จะนำมาใส่ปลาร้าต้องทะลุป้องก่อนแล้วจึงนำไปอังไฟ เพื่อให้ไม้ไผ่มีความแข็งแรง แล้วจึงนำปลาร้าใส่ เสร็จแล้วปิดฝา ฝาที่ปิดทำด้วยท่อนไม้เสร็จแล้วนำเอาปูนขาวมาปิดเพื่อไม่ให้เกิดช่องลม ปูนขาวที่นำมาปิดจะต้องนำมาเผาเป็นเวลา 3 เดือน

วัตถุดิบ

ปลาสด เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหาได้จากทะเลสาบดอยเต่า

ปลา เช่น ปลาส้อย ปลาช่อน ปลาเนื้ออ่อน ปลาเพี๊ยะ ปลาหลิม ปลาสวาด ปลากด ปลาคลัง ปลานิน ปลาสหลิด ปลาซิว ฯลฯ

image011 image012

วัตถุดิบสะท้อนความเป็นภูมิปัญญา

วัสดุธรรมชาติที่นำมาทำอาหารแปรรูปจากปลา คือ ปลาย่าง ปลาสวาทวง ปลาร้า, ปลาร้าผง ปลาผง ปลาอบกรอบ ปลาส้ม, แหนมปลา ปลาเนื้ออ่อนย่าง ปลาสะหวายย่าง ปลาแดดเดียว น้ำพริกปลาย่าง ปลาสามรส ปลาหยอง ปลาป่น

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากปลา บ้านแปลง 5  เริ่มต้นจากการทำปลาร้า ไว้กินใน

ครัวเรือน ต่อมาได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากส่วนราชการต่าง ๆ อาทิ เพื่อพัฒนาคุณภาพ

ผลิตภัณฑ์ มีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยจากเดิมนำปลามาแปรรูปเป็นปลาร้าเปียก และ

ปลาที่นำมาทำปลาร้าที่ได้รสชาดดีที่สุด คือ ปลาส้อย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากปลาที่หลากหลาย ได้แก่ ปลาร้าผง ปลาผง น้ำพริกปลาร้า ฯลฯ

กระบวนการผลิตปลาร้า

1 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

7.1.1 ปลาสดทิ้งไว้ 1 คืน

7.1.2 เกลือ

7.1.3 ข้าวคั่ว

2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูป

  1. โอ่ง,
  2. ถังพลาสติกที่มีฝาปิด
  3. กระป๋องพลาสติก
  4. ขวดโหลแก้ว

3.ขั้นตอนหรือวิธีการผลิต

  1. ปลาส้อยที่เน่าแล้วมาล้างให้สะอาด
  2. นำปลามาคลุกเคล้ากับเกลือที่ป่นแล้ว
  3. ใส่ข้าวคั่วเพื่อเพิ่มรสชาดปลาร้า ดับคาว และให้มีกลิ่นหอม (ปลา 10 กิโลกรัม ต่อข้าวคั่ว 1 กิโลกรัม)
  4. ใช้เวลาในการดอง 3 – 6 เดือน ถึงจะมาปรุงอาหารได้
  5. จะไม่ใช้สารกันบูด

การพัฒนากระบวนการผลิตจากอดีตถึงปัจจุบัน ได้นำการพัฒนาโดยนำมาผ่านกระบวนการผลิตที่ทำให้ปลาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าก่อให้เกิดรายได้เสริม และนำมาสู่รายได้หลักของหมู่บ้านในที่สุด เริ่มต้นจาก

1 ทำไว้ใช้ในครัวเรือน

2 มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อจัดทำแปรรูปอาหารจากปลาหลายรูปแบบ

สมาชิกก่อตั้ง 10 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 50 คน โดยการสนับสนุน สำนักงานเกษตรอำเภอดอยเต่าสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ

3 ผลงานดีเด่น

-          ได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ระดับ 4 ดาว ประเภท น้ำพริกเผาปลา ปลาร้าผง

ประโยชน์และจุดเด่น

1 เป็นของพื้นบ้าน

2 เป็นของหาได้ในท้องถิ่น

3 ปลามีตามธรรมชาติ หาได้โดยไม่ต้องเลี้ยง

4 สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเพิ่มมากขึ้น

5 เกิดการใช้เวลาว่างในการสร้างรายได้เสริมนอกจากการทำสวนลำไย และทำนา

6 หาง่าย

7 ไม่ใช้สารกันบูด

รูปแบบหรือประเภทผลิตภัณฑ์

image015
image016

ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากปลา มีการบรรจุสวยงาม ไม่ใช้สารกันบูด

17 Responses to “การส่งเสริมการทำอาหารแปรรูปจากปลา”

  1. Patrick พูดว่า:

    fields@sang.launchings” rel=”nofollow”>.…

    good….

  2. Sam พูดว่า:

    coax@cancelling.nov” rel=”nofollow”>.…

    спс!!…

  3. michael พูดว่า:

    reproduce@applying.installation” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!…

  4. Ray พูดว่า:

    crudities@courtyards.riverboat” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó….

  5. ricky พูดว่า:

    chase@diversification.walbridge” rel=”nofollow”>.…

    thanks for information!…

  6. randy พูดว่า:

    latters@chaise.conning” rel=”nofollow”>.…

    good info….

  7. Andre พูดว่า:

    ares@scripps.appearance” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!…

  8. Chad พูดว่า:

    bostons@dressers.integral” rel=”nofollow”>.…

    thank you!…

  9. derrick พูดว่า:

    budieshein@sculptures.citron” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðåí….

  10. tyrone พูดว่า:

    striving@creature.untch” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!!…

  11. lance พูดว่า:

    portrays@enchained.industralization” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðñòâóþ!…

  12. Lester พูดว่า:

    autocratic@extirpating.commonplace” rel=”nofollow”>.…

    áëàãîäàðþ!…

  13. James พูดว่า:

    con@departmental.calumny” rel=”nofollow”>.…

    tnx for info!…

  14. louis พูดว่า:

    anglican@stingy.affaires” rel=”nofollow”>.…

    ñïàñèáî çà èíôó!!…

Leave a Reply

OfficeFolders theme by Themocracy