การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ระดับ “พออยู่พอกิน”บ้านหนองแฝก หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ แนวทางการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ

By admin, เดือนกรกฎาคม 15, 2011

บันทึกองค์ความรู้

ชื่อ-นามสุกล                                 นางศรีวรา    นามวงค์

image002

ตำแหน่ง                                      นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด                                         สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสารภี

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   ๐๘๑-๗๑๖๕๖๔๖

ชื่อเรื่อง                              การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ

พอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ  ๘๔ พรรษา ระดับ “พออยู่พอกิน”บ้านหนองแฝก  หมู่ที่ ๕  ตำบลหนองแฝก  อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่

เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ                  แนวทางการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ

พอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ             ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบบริหารจัดการชุมชน

วิธีการทำงาน

กิจกรรม ที่ 1 ส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้าน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทนครอบครัวพัฒนา 30 คนโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้แทนครอบครัวพัฒนา ให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 วันและนำผู้แทนครอบครัวพัฒนา ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ 2 วัน

สรุปผลกิจกรรม

  1. ผู้แทนครอบครัวพัฒนา 30 คน โดยส่วนมากมีอาชีพทำการเกษตรอินทรีย์ ชีวภาพเป็นหลักมีรายได้จากสวนลำไยเป็นรายปี และปลูกพืชผักผสมผสาน เลี้ยงปลา  เลี้ยงเป็ด  เลี้ยงไก่ เป็นรายได้รองด้วยการยึดถืออาชีพเกษตรกรทีเน้นอินทรีย์ ชีวภาพมานานจึงมีภูมิความรู้และใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ในเรื่องการลดสารเคมี การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ด้วยการผลิตปุ๋ยอัดเม็ดด้วยมูลสัตว์และเศษใบไม้ และผลิตสารไล่แมลงชีวภาพ และครอบครัวพัฒนาบางครอบครัวที่เลี้ยงปลาเป็นอาชีพรอง ก็สามารถถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาให้แก่ผู้ที่สนใจจากการสั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองมาหลายปี  การส่งเสริมแนวและสร้างความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ใน 1 วัน จึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มเพื่อการขยายผลในอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
  1. การศึกษาดูงาน ได้เดินทางศึกษาดูงานในหลาย ๆ จุดการเรียนรู้ตามความต้องการของครอบครัวพัฒนา และความเหมาะสมของจุดพื้นที่จุดเรียนรู้เพื่อกับการนำมาปรับใช้ อาทิเช่นการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มฯได้เก็บเกี่ยวความรู้  เทคนิควิธีการ เคล็ดวิธี จากวิทยากรประจำสถานที่ อ.ระพีพล  ทับทิมทอง ซึ่งเป็นวิทยาที่เชี่ยวชาญมีองค์ความรู้ทุกเรื่องที่เน้นการเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งมีการและเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มและใช้เวลาซักถามเก็บเกี่ยวความรู้ ด้านการบำรุงรักษาต้นลำไย เทคนิคการขยายพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ การบำรุงดิน การทำปุ๋ยหมัก การทำสารไล่แมลง ฯลฯ  ทางกลุ่มฯมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และได้ขอเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้อีก 1 ครั้งโดยใช้งบประมาณส่วนตัวของครอบครัวพัฒนา 30 ครอบครัว

กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการฝึกทำแผนชีวิตของครัวเรือน ผู้แทนครอบครัวพัฒนา 30 คน

สรุปผลกิจกรรม

ครอบครัวพัฒนาได้เข้าใจการจัดระบบข้อมูลของการดำรงชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่การฝึกจดบันทึก  การทบทวนตัวเองในความเป็นอยู่โดยอาศัยข้อมูลและการจดบันทึก  การกำหนดอนาคตของตนเองอย่างเป็นระบบด้วยการจัดทำบัญชีรับจ่ายของครัวเรือน เข้าใจในการจดบันทึกเพื่อเป็นสถิติเปรียบเทียบเพื่อใช้ในการพิจารณางบดุลของครัวเรือน พฤติกรรมการใช้จ่ายที่เป็นภัยต่อการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปเป็นข้อมูลการวางแผนกำหนดแนวทางการใช้จ่ายของครอบครัวอย่างพอประมาณ และสามารถนำข้อมูลจากทุกครัวเรือน มาสรุปผลเป็นภาพรวมของชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำและปรับปรุงแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนได้ด้วย

กิจกรรมที่ 3  กิจกรรมการสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียงด้วยการสาธิตและฝึกปฏิบัติ กิจกรรมลดรายจ่าย (การทำปุ๋ยชีวิภาพ การทำปุ๋ยอัดเม็ด  การทำปุ๋ยเคมีแบบลดต้นทุน การทำสารไล่แมลงด้วยพืช) จำนวน 1 วัน และกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพวัสดุเหลือใช้เพื่อเป็นประโยชน์ การถ่ายทอดภูมิปัญญา ด้วยการทำบายศรี  ทำสะตวง การจัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ จำนวน 1 วัน

สรุปผลกิจกรรม

หลังจากฝึกอบรมอาชีพ ถ่ายทอดเทคนิควิธีการ จากวิทยากรภาคราชการ ได้แก่เกษตรตำบลหนองแฝก กศน.ตำบลหนองแฝก และวิทยากรภาคเอกชนที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญา แก่ครอบครัวพัฒนา โดยพื้นฐานแต่ละครัวเรือนมีรายได้จาการทำการเกษตรผสมผสานเคียงคู่กันทำสวนลำไยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพื่อให้กิจกรรมของชุมชนสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน จึงได้เกิดกลุ่มอาชีพเพื่อการเรียนรู้ การพึ่งตนเองของครอบครัว และชุมชนโดยใช้รูปแบบการจัดการที่เหมาะสมตามที่วิทยากรได้แนะนำ เพื่อให้เป็นกิจกรรมของชุมชนที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน ได้แก่

(1) กลุ่มเกษตรผสมสานโดยมีนายแปง  ฟองมี  เป็นประธาน  มีกิจกรรมหลักการทำปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอัดเม็ด  มีกิจกรรมย่อยภายในกลุ่มเกษตรผสมผสาน เช่นการเลี้ยงไก่ชนโดยนางโสพรรณ  ฟองบัว  การเลี้ยงเป็ดโดยนางศรีนวล  ฟองดวง  การเลี้ยงปลาโดยนายธงชัย  ฟองดวง  การปลูกพืชผักปลอดสารพิษโดยนายทวี  แสงรัตน์  และนายสมาน  แสงใส  การปลูกดอกมะลิโดยนายพิทักษ์  ฟองดวง  และการปลูกลำไยเพื่อการส่งออกโดยนายนิกร  ดวงงามเป็นต้น

2) กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีนางศรีลา  เจริญสุขเป็นประธาน  กิจกรรมหลักที่สร้างรายได้คือการทำบายศรีสู่ขวัญ  และการทำเครื่องสืบชะตา

ทั้งสองกลุ่มใหญ่มีสมาชิกกลุ่มย่อยเป็นครัวเรือนในชุมชนเกินกว่า 30 ครัวเรือน ให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน

กิจกรรมที่ 4  กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน และการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน

สรุปผลกิจกรรม

เน้นการประชุมจัดการความรู้ร่วมกัน วิธีการที่เป็นวิธีที่สร้างความสำเร็จเพื่อเป็นความรู้ที่เป็นแบบอย่าง และข้อบกพร่อง เพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านในประเด็น

การกำหนดข้อปฏิบัติข้อตกลงภายในหมู่บ้าน อันได้แก่การร่วมกันพิจารณา สภาพปัญหา ค่านิยม จารีตประเพณี วัฒนธรรม ที่สืบทอดกันค่อมาของหมู่บ้าน จนได้ข้อตกลงกำหนดข้อปฏิบัติ  กฎ  ระเบียบ เป็นลายลักษณ์อักษร มีระบบและช่องทางการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในหมู่บ้านรับทราบ เช่นป้ายประกาศ  ประกาศในที่ประชุม  หอกระจายข่าย  เสียงตามสาย และประชาชนยอมรับนำไปปฏิบัติอย่างเต็มใจ ในการดำเนินชีวิตร่วมกันในชุมชน

การยึดมั่นหลักประชาธิปไตย รู้จักหน้าที่ สิทธิในการเป็นพลเมืองของประเทศ ใช้เสรีภาพทางการแสดงออกทางการเมือง  มีส่วนร่วมในการบริหารงานของหมู่บ้านด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูล  รับฟังเหตุผลด้วยข้อมูลทึ่ถูกต้องและหลักการความรู้ในการร่วมตัดสินใจ ยอมรับในความเห็นเหตุผลของส่วนใหญ่

หลักจริยธรรม คุณธรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกันในชุมชน โดยคนในชุมชนยึดถือวัดเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจแสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้นหรือกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาป็นประจำ ให้การเคารพยกย่อง  ส่งเสริมเชิดชูบุคคลที่กระทำตนเป็นอบบอย่างเพื่อสังคมจัดกิจกรรมเพื่อแสดงการยกย่องเชิดชู เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติของบุคคลอื่นในหมู่บ้าน ให้ความเคารพ เชื่อฟังและดูแลผู้สูงอายุ  แสดงออกด้วยท่าทีตามวัฒนธรรมประเพรีท้องถิ่นตามมารยาทไทย เช่นการไหว้ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การขอโทษ การขอบคุณ ให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันทั้งชุมชน

การออมในรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามหลักคุณธรรม ของกรมการพัฒนาชุมชน จากอดีด 14 ปีที่ผ่านมาของการเริ่มต้นของคนในหมู่บ้านที่มองเห็นความสำคัญ ความจำเป็นและได้รับผลคุณประโยชน์ที่เกิดจากการออม เมื่อเวลาผ่านไป เกิดการคิดได้ ทำได้เองในการพัฒนาชีวิตของคนในชุมชนอีกลักษณะหนึ่ง คือการให้รู้  ให้คิด และให้ทำในสิ่งดีมีประโยชน์ การออมเป็นการกระทำของคนในชุมชนในการจัดการกับรายได้ที่เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่และนำส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยไปเก็บไว้ในรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองแฝก หมู่ที่ 5  ตำบลหนองแฝก ซึ่งปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองแฝก  เป็นที่พึ่งของสมาชิกภายในชุมชน ในการเป็นแกนนำการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาสังคม ความขัดสนของคน การหมดที่พึ่งในเรื่องทุนของคนในชุมชน  เป็นการสร้างสังคมที่ดี  มีการเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ในชุมชน ที่เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ของการรวมเงิน และคน นำมาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี ในหมู่บ้านไม่เคยเกิดหนี้นอกระบบและทำให้กลุ่มออมทรัพย์ฯ มีความเข้มแข็ง ภายใต้คุณธรรม ๕ ประการ  คือ  ความซื่อสัตย์  ความเสียสละ  ความเห็นอกเห็นใจกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความไว้วางใจกัน ของคนในหมู่บ้าน

กองทุนสวัสดิการเพื่อให้การบริการแก่สมาชิก ที่ขับเคลื่อนโดยประธาน ศอช.ต หนองแฝก คุณประกิต  นามวงศ์  การมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ เกื้อกูลกันระหว่างคนในหมู่บ้านขยายสู่ระดับตำบลคือกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองแฝกที่เป็นกลุ่มสวัสดิการการจัดสิ่งเอื่ออำนวยในชีวิตของสมาชิกให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เป็นสิ่งตอบแทน ผลประโยชน์พิเศษที่กลุ่มจัดให้มีขึ้นเพื่อความพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิก รวมทั้งจัดทำขึ้นเพื่อให้บริการกับบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ เช่น เด็ก  คนชรา ผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส ตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยแบ่งสวัสดิการด้านเศรษฐกิจ เช่นบริการการรักษาพยาบาล บริการค่าเล่าเรียนบุตร บริการเงินช่วยเหลือบุตรและบริการเงินสะสม  ส่วนสวัสดิการด้านสังคมเพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านจิตใจ เช่นการกีฬาของหมู่บ้านตำบล เป็นต้น

กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมการจัดการความรู้วิธีปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้านประชุมเชิงปฏิบัติการตัวแทนครอบครัวพัฒนา เพื่อติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชนและจัดการความรู้เป็นความรู้เรื่องวิธีการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการพัฒนาชุมชนในภาพรวมเพื่อจัดทำเป็นเอกสารความรู้ และเพื่อนำข้อมูลความรู้ใช้ในการปรับปรุงพัฒนาขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น

สรุปผล  ปํญหาและข้อเสนอแนะจากเวทีฯ

ในหมู่บ้านได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านเกณฑ์ 6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด มีกิจกรรมและเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความสามารถของครอบครัวที่ดำเนินการให้สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ กำหนดเป็นจุดเรียนรู้ในหมู่บ้าน ได้ 2 จุดเรียนรู้ โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และภูมิสังคมของหมู่บ้าน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของคนในหมู่บ้านหรือชุมชน และให้การเรียนรู้เพื่อแก่ผู้สนในภายนอกชุมชน โดยมีพัฒนากร  และภาคีส่วนราชการในพื้นที่ ครัวเรือนต้นแบบ 30  ครัวเรือน ผู้นำชุมชนทุกกลุ่มทุกองค์กร ร่วมกันขับเคลื่อนทั้งนี้อาศัยคนในหมู่บ้านชุมชนเป็นแกนหลัก  คนในชุมชน เป็นหัวใจ หรือพลังหลักในการพัฒนาตัวจริง กล่าวคือผู้ที่จะเข้าใจปัญหา ความต้องการ ความเดือดร้อน ความเป็นพื้นฐาน ความเป็นไปประวิติศาสตร์ พฤติการทั้งหมด จะพูดได้ว่าเป็นผู้ได้รับ ผู้ก่อปัญหา ทราบปัญหา แก้ปัญหา ให้คำตอบการแก้ปัญหา ได้รับผลการแก้ปัญหาจากกระบวนการพัฒนาชุมชนก็คือชุมชนนี้แหละ จึงควรเป็นเจ้าภาพตัวจริงของการพัฒนา  คน/สมาชิกในชุมชน จึงเป็นผู้กำหนดชี้ความสำเร็จล้มเหลวของการพัฒนาชุมชนพวกเขามีศักยภาพเพียง พอในตัวเอง แต่จะขาดอะไรไปสักอย่าง จึงต้องอาศัยปัจจัยจากภายนอกไปกระตุ้น หรือช่วยเหลือบ้างนิดหน่อย มิใช่ไปครอบงำเหมือนแนวคิดการพัฒนาที่มีปัญหาที่ผ่านมา ชาวบ้าน/ชุมชนถูกกระทำตลอดมา ถูกมองในแง่ลบ ส่งผลให้การพัฒนาตามใบสั่งเบื้องต้นในระบบโครงสร้างใหญ่ ซึ่งมีผลการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน สุดท้ายเหลือไว้แต่อนุสรณ์แห่งการพัฒนากับป้ายโครงการ ส่วนผลการพัฒนาส่วนบนเอาไปหมด ชาวบ้านชุมชนมีปัญหาต่อสู้กับปัญหาต่อไป เพราะนั่นเป็นอะไรที่เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ทำให้ชาวบ้าน ชุมชน หมดความมั่นใจ ฐานคิดใหม่ ควรมอง หรืออยู่บนฐานของความเข้าใจเรื่องศักยภาพ หรือมีส่วนร่วมในการพัฒนา คงต้องใช้กลยุทธ์อันหลากหลายจนชนะใจชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะแยกส่วนกันระหว่างรัฐ นักพัฒนา และชุมชน ผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเป็นองค์รวม (Holistic) หรือ บูรณาการ (integrate) ถ้าแยกส่วนไปไม่รอด

การที่จะให้เกิดความสุขมวลรวมของชุมชน  ไม่ใช้เป็นเรื่องยากหากคนในชุมชนให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจ  มากกว่าการพัฒนาด้านวัตถุ  เข้าใจและมองเห็นถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ  สังคม ของกระแสทุนนิยม ในโลกปัจจุบัน  วัด/พระสงฆ์ พลังที่จะพัฒนาจิตใจ คือ บ้านหนองแฝกมีวัดประจำหมู่บ้าน มีผู้นำของวัด คือเจ้าอาวาส พระครูสุจิตบุญญาภรณ์  ดูแลบริหารจัดการวัดตามกฎหมาย นอกจากตัวผู้นำวัดแล้วยังมีที่ดินของวัดเป็นสถานที่ใช้ประกอบสาธารณะประโยชน์ร่วมกันของชุมชน เป็นศูนย์กลางด้านกิจกรรมบุญและกิจกรรมส่วนรวม  อีกองค์ประกอบหนึ่งของวัด ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็คือ หลักธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พระวินัย และพระธรรม

พระวินัย เป็นเรื่องของข้อบัญญัติ ข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ กติกา ของพระสงฆ์และชาวบ้าน ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ศีล พระธรรมเป็นเรื่องของหลักปฏิบัติ คำสอนของพระพุทธองค์ เป็นตัวชี้นำให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลตามกำลังศรัทธา สติปัญญาของแต่ละบุคคล นำผู้ปฏิบัติไปสู่เป้าหมายปลายทางของชีวิต

หลักธรรมแฝงไปด้วยปรัชญาธรรมเหมาะกับการที่จะนำไปเป็นปรัชญาชีวิตปัจเจก เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นสรณะอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน

วัดมีตัวแทน คือพระสงฆ์เป็นผู้นำทางวิญญาณของชาวพุทธในชุมชน จะเป็นกลไกฟันเฟืองอันสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน เพราะโดยปกติชาวพุทธมีความเคารพนับถือพระสงฆ์อยู่แล้ว ถ้าพระสงฆ์ผู้นำทางวิญญาณได้ให้ความสำคัญสนับสนุน ให้การศึกษาชี้แนะนำในกระบวนการพัฒนา ย่อมจะเป็นนิมิตรแห่งความสำเร็จในการพัฒนาอย่างประเสริฐและเป็นสิริมงคล

พุทธศาสตร์เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจเป็นสำคัญ การพัฒนาต้องพัฒนาจิตให้มีคุณภาพ มั่นคง หนักแน่นเป็นปกติ บริสุทธิ์ และมีพลัง สมาธิแน่วแน่พร้อมที่จะรับการพัฒนา พุทธศาสตร์ไม่ปฏิเสธวัตถุภายนอกแต่มองว่าวัตถุนิยมเป็นตัวสนับสนุนการพัฒนา ไม่ได้มองวัตถุนิยมเป็นแกนหลักของการพัฒนา หรือของทุกสิ่ง มองจิตใจและคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

ดังนั้นกระบวนการพัฒนาชุมชนไม่ควรมองข้าม หรือละเลยเมินเฉยต่อองค์กรศาสนาอันได้แก่วัด พระสงฆ์ ในการพัฒนาชุมชน เพราะสถาบันหลักอย่างหนึ่งของประเทศ และเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วประเทศ สมควรที่จะอาศัยภูมิปัญญา คือพระพุทธศาสนามาเป็นกลไกการพัฒนา

แผนที่จะดำเนินงานต่อไป

  1. จัดเวทีการแลกเปลี่ยน ทบทวน ร่วมกับผู้นำกลุ่ม องค์กร  ครัวเรือนต้นแบบ เพื่อติดตามประเมินผลความสุขมวลรวม ทุกเดือน เดือน ละ 1 ครั้ง
  2. แสวงหางบประมาณจากภายนอกหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้านเพื่อการต่อเนื่องของกิจกรรมโครงการในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
  3. อาศัยกระบวนการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองแฝก เป็นแกนหลักในการพัฒนาคนในชุมชนตามหลักการคุณธรรมของกลุ่มออมทรัพย์ฯ
  4. คนในชุมชนร่วมคิด ร่วมรู้ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์กับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ทำงานในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลอย่างบูรณาการ
  5. ส่งเสริมและยกระดับแหล่งเรียนรู้ จุดเรียนรู้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
  6. ขยายผลครัวเรือนต้นแบบให้ครอบคลุมทั่วทุกครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน

ความรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1) แนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนาของปาริชาติ  วลัยเสถียร และคณะ,(กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว), 2543)

2)แนวคิดเรื่องการพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ ของทนงศักดิ์  คุ้มไข่น้ำ และคณะ (กรุงเทพมหานคร : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2534)

3)ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4)การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

5)กระบวนการมีส่วนร่วม

******

OfficeFolders theme by Themocracy