การขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

By admin, เดือนสิงหาคม 15, 2014

ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นางลำดวน อินชัย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-9922968/053-495949
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ จำนวนสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เป็นนโยบายที่สําคัญของรัฐบาล สําหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนแบบดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ย ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อการพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการให้แก่สตรี รวมถึงการพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี การพัฒนาบทบาทสตรี การสร้างภาวะผู้นํา และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะทํางานร่วมกับองค์กรสตรีตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมพัฒนา เพื่อสตรีทุกคน โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรีต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อให้สตรีไทยได้ใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนฯ จำนวน130 ล้านบาท แยกเป็นเงินทุนหมุนเวียน(๘๐%) ๑๐๔ ล้านบาท เงินอุดหนุน(๒๐%) ๒๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยกำหนดคุณสมบัติของสตรีที่ที่จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี คือต้องเป็นสตรี มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ขอขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 6 เดือนสามารถสมัครเป็นสมาชิกฯ ได้ทางOnline ได้ที่Websitehttp://www.womenfund.thaigov.go.th หรือ สมัครด้วยตนเอง โดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ ในพื้นที่ของผู้สมัคร จากข้อมูลประชากรทะเบียนราษฎร์อำเภอดอยสะเก็ด สตรีที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีจำนวน 30,427 คน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555ปรากฏว่ามีสตรีสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯจำนวน 18,087 คน คิดเป็นร้อยละ 59 ในปี 2557 สำนักงานพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เน้นการเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุนฯเพื่อให้สตรีที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดทุกคนสมามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
วิธีการแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จ
1.ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและคอยให้คำแนะนำ ปรึกษา แก่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลทุกตำบล
3.ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการประชุมหัวหน้าส่วนอำเภอและการประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นประจำทุกเดือน
3.ประสานภาคีการพัฒนาและผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางการดำเนินงานและหาแนวทาง วิธีการ ร่วมดำเนินการขับเคลื่อน กิจกรรมตามโครงการด้วยกัน

ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
1.การดำเนินการขับเคลื่อนกองทุนด้านการเพิ่มจำนวนสมาชิกต้องอาศัยการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ จากทุกภาคส่วน ถึงจะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่
2.สร้างภาคีในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุนฯให้ได้ร้อยละ 70 เป็นอย่างต่ำ โดยแจงนับให้ทุกตำบลรับเป้าหมายไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2557
3.ชี้เป้าสตรีที่ยังไม่มีชื่อปรากฏในระบบ online ให้แก่คณะกรรมการกองทุนฯ โดยเปรียบเทียบกับบัญชีรายชื่อสตรีที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจากทะเบียนราษฎร์
บันทึกขุมความรู้
เนื่องจากการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นงานที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปีเศษ จึงต้องใช้เวลา ในการสร้างความเข้าใจแก่องค์กรสตรีและสมาชิกกองทุนฯ ภาคีการพัฒนาในพื้นที่ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนงาน ขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยดำเนินงานในลักษณะการมีส่วนร่วมและการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
แก่นความรู้
1.จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรสตรี และหน่วยงานภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
2.มอบหมายภารกิจ แบ่งงานและประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ในการทำงาน
ยึดหลักการมีส่วนร่วมทุกระดับ โดยการประสานงาน ดำเนินการประชุม ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การประสบความสำเร็จของจำนวนสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีครบตามเป้าหมายและตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1.ระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีพ.ศ.2555
2.ระเบียบคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงใหม่
3..แนวคิดหลักการและกระบวนการตามขั้นตอนของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
4. แนวทางข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของภาคีการพัฒนา
วันที่จัดการความรู้ วันที่ 6 กรกฎาคม 2557

OfficeFolders theme by Themocracy