คุ้มบ้านพัฒนา ประชาเป็นสุข บ้านมหาธาตุ หมู่ที่ 4 ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

By admin, เดือนสิงหาคม 11, 2011

คุ้มบ้านพัฒนา ประชาเป็นสุข บ้านมหาธาตุ หมู่ที่ 4 ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

\\

บ้านมหาธาตุ
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านปางป๋อ ม.5 ต.แสนไห แต่เมื่อมีประชากรหนาแน่นจึงขอแยกมาจัดตั้งหมู่บ้านใหม่และบริเวณหมู่บ้านเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุแสนไห ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่ามหาธาตุ
ในอดีตชาวบ้านปลูกสร้างบ้านเรือนกันบริเวณที่ราบลุ่ม ซึ่งมีแม่น้ำแตงไหลผ่านแต่เนื่องจากเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง
ชาวบ้านจึงย้ายมาสร้างที่พักอาศัยบริเวณเนินเขาด้านตะวันออกของแม่น้ำแตง บ้านมหาธาตุประกอบด้วยบ้านบริวาร ได้แก่ บ้านสันติสุข ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยใหญ่
ที่ตั้ง
บ้านมหาธาตุ ตั้งอยู่ในตำบลแสนไห ห่างจากอำเภอเวียงแหง ไปทางทิศเหนือประมาณ 11กิโลเมตร
อาชีพ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนกระเทียม พริก และทำนา ว่างเว้นจากการทำนาก็จะปลูกพืชตระกูลถั่ว
เช่น ถั่วเหลือง และรับจ้างบ้าง
ศาสนา
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านคือ “วัดพระธาตุแสนไห” เป็นศูนย์รวมจิตใจ

\\

ลักษณะทั่วไป
– เนื้อที่ 480 ไร่ ใช้ทำการเกษตร 400 ไร่
– จำนวนครัวเรือน 72 ครัวเรือน
- จำนวนประชากรทั้งหมด 329 คน (ชาย 166 คน หญิง 163 คน)

\\

ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านมหาธาตุ ลักษณะเป็นเนินเขา และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่เหมาะแก่การเพาะปลูก น้ำแม่แตง
ไหลผ่าน มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน,ฤดูฝน และ ฤดูหนาว โดยในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนมากนักและเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ
เนื่องจากสภาพอากาศส่วนใหญ่ของอำเภอเวียงแหงจะเย็นตลอดปีในช่วงกลางคืนและเช้า และในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น มีหมอกหนาปกคลุมในเวลาเช้า

สภาพทางเศรษฐกิจ
– รายได้เฉลี่ย 51,546 บาท/คน/ปี
– ครัวเรือนมีการเก็บออมร้อยละ 93.06% ของครัวเรือนทั้งหมด
– ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนกระเทียม,พริก ทำนาและถั่วเหลือง
– ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและภายนอกชุมชน ได้แก่ กระเทียม พริกขี้หนู ถั่วเน่าแผ่น
– ประชาชนมีไฟฟ้าและน้ำประปา มีเส้นทางคมนาคมสะดวก ใช้ได้ตลอดปี
\\
สภาพสังคม
– สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านมหาธาตุมีความมั่นคงถาวร มีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบถูกสุขลักษณะ
ครอบครัวมีความอบอุ่น
– ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 100 %
– เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15- 60 ปี อ่านออกเขียนได้
คิดเป็น 100 %
– บ้านมหาธาตุ เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้โทษ
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา ไม่ติดบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน มีการปฏิบัติศาสนกิจอย่างน้อย
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี
– ครัวเรือนในบ้านมหาธาตุส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน
\\

ประเพณี
เป็นประจำทุกปี เดือนพฤษภาคม หรือช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (เหนือ) จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุแสนไหซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และชาวบ้านนับถือในความศักสิทธิ์อย่างยิ่ง
เป็นงานที่คนทั้งอำเภอเวียงแหงจะมาชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาและยังเคยมีผู้พบเห็น
แสงเปล่งสว่าง เหมือกับลูกไฟลอยขึ้นสู่บนท้องฟ้าที่บริเวณพระธาตุ
ผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนผลิต

ถั่วเน่าแผ่น

สถานที่ท่องเที่ยว
-พระธาตุแสนไห มีประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนท์องค์อุปัฐากเสด็จสุวรรณภูมิเพื่อจาริกและสั่งสอนโปรดสรรพสัตว์
จนบรรลุถึงเมืองๆ หนึ่ง มีผู้คนจำนวนมากเหมาะแก่การเผยแพร่ธรรม พระพุทธองค์ได้ประทับยืนอยู่บนเนินเตี้ยๆ
ได้ทรงเห็นภูมิประเทศอันรื่นรมย์และเป็นสถานที่วิเวกวังเวง เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
จวบกับเวลานั้นใกล้ค่ำ พระพุทธองค์จึงตัดสินพระทัยประทับแรม พอรุ่งเช้า ชาวกระเหรี่ยง
ได้นำข้าวปลาอาหารพร้อมกับแตงโมลูกหนึ่งไปถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์ได้นำแตงโมลูกนั้นไปผ่าเป็นซีกๆและได้ทิ้งเปลือกลงลอยในลำธารที่ไหลผ่าน
ณ ที่ประทับนั้น นับแต่นั้นมาจึงเรียกชื่อลำธารนั้นว่า “แม่น้ำแตง” เมื่อพระอานนท์นำแตงโมไปถวายพร้อมกับอาหาร
ขณะพระองค์กำลังเสวยอยู่นั้น พระทนต์(เขี้ยว) ได้กะเทาะออก(กะเทาะออกภาษาท้องถิ่นเรียกว่า
แหง) พระพุทธองค์ได้มอบพระทนต์ที่กะเทาะออกนั้น ให้อุบาสกอุบาสิกาชาวกระเหรี่ยงเพื่อเป็นทาน(ทานเขี้ยวแหง)
ต่อมาเมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “เมืองแหง” พระทนต์ที่กะเทาะนั้นบรรจุก่อเป็นสถูปไว้บนยอดเขาแห่งนั้น
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุแสนไหปัจจุบันนี้
อนึ่งตามตำนานเล่าสืบๆ กันมาว่า ภายใต้เขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุมีถ้ำ ภายในถ้ำมีทรัพย์สมบัติอันมีค่านานาประการนับมูลค่าได้ถึงแสนไห
จึงได้ชื่อว่าพระบรมธาตุแสนไห
-บ่อน้ำช้าง สมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพขึ้นมาทางเชียงใหม่
เพื่อตีเมืองอังวะของพม่า โดยเสด็จร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ อันเป็นที่ประชุมรวมพล
200,000 คน ที่เมืองงาย (อ.เชียงดาวปัจจุบัน) แล้วยกทัพออกเป็น 2 กระบวนทัพ ให้พระเอกาทศรถยกไปเมืองฝางทัพหนึ่ง
สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพไปทางเมืองห้างหลวง เป็นเมืองอยู่ชานพระราชอาณาเขสมัยนั้น
ซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบัน เพราะเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับกรุงอังวะของพม่าและอยู่ในอาณาเขตไทย
สันนิฐานว่าพระองค์พักทัพที่บริเวณหน้าพระบรมธาตุแสนไห เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสมมีน้ำแตงไหลผ่าน
เป็นจุดกึ่งกลางมีผู้คนอาศัยสามารถเรียกรวมพลและเสบียงอาหารเพิ่มเติมอย่างสะดวก
ขณะที่พักทัพคงจะมีการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ส่วนพระองค์และช้างศึกก็เป็นได้เพราะตรงบริเวณลานหน้าพระบรมธาตุแสนไหมีบ่อน้ำเก่าแก่มีน้ำใสสะอาดชาวบ้านเรียกว่า
“บ่อน้ำช้าง” เดิมภายในบ่อน้ำใช้ไม้เรียงกั้นดินพัง ต่อมาพี่น้องชาวไทยใหญ่ได้ก่อเป็นสถูปครอบบ่อน้ำไว้

มีรูปปั้นช้างศึกนอนหมอบอยู่ข้างบนสถูปหันหน้าเข้าหาพระบรมธาตุ

\\

คณกรรมการคุ้ม

คุ้ม 1
นายผัด มุ้งยอด หัวหน้าคุ้ม
นายทอง หนั่นตา กรรมการ
นายอิ่นคำ อินพรม กรรมการ
คุ้ม 2
นายจันต่า เจริญคุณ หัวหน้าคุ้ม
นายบุญลอย เจริญรัตน์
นายปุ้น หนั่นตา กรรมการ
คุ้ม 3
นายดี คำแหลง หัวหน้าคุ้ม
นายประจวบ สุวรรณ กรรมการ
นายหมอกเงิน หนั่นตา กรรมการ
คุ้ม 4
นายอินทร ลุงจี๋ หัวหน้าคุ้ม
นายปานศักดิ์ แสงคำ กรรมการ
นายปั๋น กันยา กรรมการ
คุ้ม 5
นายไพโรจน์ เรือนตุ่ม หัวหน้าคุ้ม
นายยี่คำ แสงป็อก
นายวิหลิ่ง ลุงต๊ะ

\\

คุ้ม 6
นายริ ลาวัน หัวหน้าคุ้ม
นายยอน หมอกเงิน กรรมการ
นายวิรัตน์ วงศาบวรรัตน์ กรรมการ
คุ้ม 7
นายสิทธิ ใจวรรณ หัวหน้าคุ้ม
นายสมบุญ กันตี กรรมการ
นายอิ่นคำ หนั่นตา กรรมการ
คุ้ม 8
นายศรีวรรณ กันตี หัวหน้าคุ้ม
นายธานินทร์ สุวรรณ กรรมการ
นายคำ สายผาบ กรรมการ
คุ้ม 9
นายปานอ่อน ตันเหน่ หัวหน้าคุ้ม
นายโยธิน เขิ่งนวล กรรมการ
นายศักดา จิ่งต่า กรรมการ
คุ้ม 10
นายเสาร์ ศรีวงสาย หัวหน้าคุ้ม
นายบุญทา พวงเงิน กรรมการ


นายปานโหย่ ลุงทุน กรรมการ

\\

OfficeFolders theme by Themocracy