การเตรียมเอกสารให้เป็นไปกำหนดการจัดส่งงานตามตัวชี้วัดงานพัฒนาชุมชน เรื่องแผนชุมชน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัดกลุ่ม/องค์กร สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ออน
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก ๐๘ ๑๙๕๐ ๙๒๗๕
ชื่องาน การเตรียมเอกสารให้เป็นไปกำหนดการจัดส่งงานตามตัวชี้วัดงานพัฒนาชุมชน เรื่องแผนชุมชน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การใช้เอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์(บางคนเรียกว่าเอกสารเชิงกระอัก-แต่ก็ทำ) ที่เกี่ยวข้อง-การบูรณาการ เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อรวบรวมให้ครบถ้วนตามที่ต้องการ – การรวบรวมงานในระดับอำเภอ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือน พฤษภาคม ถึง ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕
สถานที่เกิดเหตุการณ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง การทำงานเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ ของแผนชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของจังหวัด ที่เป็นกระบวนงาน (ไม่สามารถอธิบายได้หมดและเข้าใจงานได้ในเวลาอันจำกัด) คิดทำอย่างไรจึงจะทำให้งานเหล่านั้นเป็นเชิงคุณภาพและปริมาณ เสร็จเป็นระบบ ครบถ้วน ภายในกำหนดเวลา และภาพรวมระดับอำเภอ
วิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการทำงาน
๑. วิเคราะห์ เลือก สื่อสาร งานที่จะต้องทำให้ครบ ในส่วนของพัฒนากรผู้รับผิดชอบ กับเป้าหมาย KPI พื้นที่ของแต่ละคน
๒ สื่อและแจกเอกสารในรูปแบบที่แปลงจากของจังหวัดในภาพของตำบล รับรู้งานของตำบลที่รับผืดชอบให้ชดเจน เช่น พื้นที่ หมู่ จะใช้เอกสาร/หลักฐานอะไรบ้าง เรียงลำดับก่อนหลัง
๓.เตรียม/ปรับปรุง/ รวบรวม /เติมเต็ม เพื่อสรุปให้เป็นผลงานภาพรวมของ อำเภอแ ตั้งฟอร์มประเด็น KPI โดยใช้การยืดหยุ่น /ไม่มีรูปแบบตายตัว ให้ครบถ้วน (แยกแยะส่วนไหนของตำบล ของอำเภอ – เพื่อรับรู้ภาพรวมร่วมกัน)
๔. การตรวจสอบทบทวนให้ครบถ้วนทุกประเด็น ของแต่ละตำบลโดยพัฒนากรตำบล – แล้วทำรูปเล่ม /รายงาน/ ส่งจังหวัด
๖. เนื้อหา/สาระ งานในพื้นที่ จัดส่งเป็น File / ให้ชุมชนได้ศึกษา –นำไปปรับใช้ ประชาสัมพันธ์
บันทึกขุมความรู้
๑.พัฒนากรต้องรู้ เข้าใจในยุทธศาสตร์ตามภารกิจของงาน และ การสนับสนุน กิจกรรมงาน ในบทบาทพัฒนากรประจำตำบล ทำการศึกษา แนวทางการทำงาน วิธีการ/ขั้นตอน เป้าหมาย ผลลัพท์สุดท้าย ของพื้นที่เป้าหมาย
๒.พัฒนากรต้องทำหน้าที่ประสานงาน/เอื้ออำนวยการให้การทำงานในพื้นที่ เป้าหมาย เป็นไปอย่างราบรื่น บางครั้งรวดเร็ว รวบรัด ตามสถานการณ์
๓.พัฒนากรต้องมีความรู้ในการแก้ไขปัญหารอบทิศและต้องรวดเร็ว ชัดเจน ทันเวลา – (ไม่ติดกับคุณภาพมากนัก)
แก่นความรู้ (นำขุมความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้)
๑.การเชื่อมโยงภาพรวมของเอกสารจากงานในพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ วิเคราะห์หาส่วนที่ขาดหายไป เพื่อให้ครอบคลุม ตามที่ต้องจัดหา
๒.รู้คน/รู้งาน/รู้สถานการณ์/รู้ข้อจำกัดของตนเอง-คนในพื้นที่ –การประสานงาน-การทำใจ-การพร้อมแก้ไขปัญหา
๓.การเติมเต็มในเรื่องของเจ้าหน้าที่ (ความรู้ทางวิชาการ-เล่นประเด็นให้ครบตามเอกสาร KPI – หลงเข้าไปในความรู้ของตนเอง-จบไม่ลงและไม่ทันเวลาที่ต้องส่ง)
๔.ความคิดดี ดี เอาไว้ปรับใช้เตรียม KPI ปีต่อไป-จะได้รู้แนวตั้งรับถ้าไม่เปลี่ยนแปลง)คิดมากเดี่ยวไม่ทัน หลายงานมาก
กลยุทธ์ในการทำงาน (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)
การเตรียมตัว/เตรียมงาน โดยใช้แนวทางของปีก่อน-ตั้งรับ / ศึกษาแนวทาง-งาน-ผลลัพท์ที่มีหน้าที่ – ทำ – ทำให้ดี – ทำให้ได้ -มีขันติในการทำงาน
การเตรียมจิตใจเมื่อพบปัญหา – ต้องพร้อมแก้ไขปัญหา – ทำให้ดีที่สุด – ถ้าไม่ได้แล้ว – Let it be ! –ใช้ประสบการณ์ ความเก๋าที่ได้สั่งสมมาแก้ไขปัญหา
การติดต่อประสานงาน / การสื่อความต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ -จัดหามาให้
วิธีการ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ –ไม่ติดกับดักทางความคิด – จบงานเอกสารให้เป็น – ไม่หลงในความรู้ -ให้พอในเวลาอันกำหนด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง – ไร้รูปแบบ/ใช้ทุกรูปแบบ – ตามสถานการณ์
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน เอกสารเพื่อประเมินผลการปฏิบัติราชการ
๑. การทำงานพื้นที่ตามประเด็น/ตามกิจกรรม/ให้เป็นระบบ – ครบถ้วน –ครอบคลุม-รู้การบูรณาการการวัดและประเมินผลเพื่อหาภาคีในการทำงานท พึ่งพาอาศัยกันได้
๒. การสร้างอารมณ์ในการทำงาน/ความคิดที่ดี ๆ เพื่อพัฒนาความรู้สึก ถ่ายทอดประสานการทำงานและสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้เข้าใจมากที่สุด เพื่อจะได้รับรู้ เห็นกระบวนงาน –ทำงาน-ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
๓. การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง/ศึกษางานที่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่เลือกงานที่ชอบ-ไม่ชอบ แล้วทำให้ดีที่สุด – ไม่ยึดไม่ติด พร้อมเปลี่ยนแปลงได้
๔. การพัฒนาจิตใจ – การปรับอารมณ์ -วุฒิภาวะทางอารมณ์ –การมีทัศนคติที่ดีต่อประโยชน์หรือแนวทางการประเมินผลงานเพื่อนำไปใช้ต่อยอดของงานนั้นได้ – รู้สึกดี- รู้จริง-รู้ลึก-รู้รอบ