เทคนิคการบริหารจัดการโครงการมหกรรมแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ

By admin, เดือนสิงหาคม 15, 2014

ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นายเอกฉัตร กันหอม
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 053-112647
ชื่องาน เทคนิคการบริหารจัดการโครงการมหกรรมแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการโครงการมหกรรมแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ
จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2557
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่

เนื้อเรื่อง
กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้วยการขจัดความยากจนในชนบท มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นงานสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในการตอบสนองต่ออุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย 120 ปี และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 150 ปี วันประสูตร และครบ 50 ปี ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ถวายพระเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย และเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชน จึงจัดทำโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต โดยการบูรณาการความร่วมมือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวทั้งด้านการพัฒนาทักษะอาชีพตามศักยภาพ และการได้รับการสงเคราะห์ดูแลจากหน่วยงานและชุมชนสำหรับครัวเรือนยากจนบางส่วนที่ไม่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ จังหวัดเชียงใหม่ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนจำนวน ๙๗๒ ครัวเรือน ใน ๓๑๓ หมู่บ้าน ๗๒ ตำบล ๑๖ อำเภอ สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยการขจัดความยากจนในชนบทเกิดความต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต และเพื่อแสดงความพร้อมในการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดเชียงใหม่สู่สาธารณชนในวงกว้าง ตลอดจนเป็นกลยุทธ์ในการดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงจัดมหกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนขึ้น

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1) จังหวัด โดยคณะกรรมการบริหาร ศจพ.จ. คณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) วางแผนการดำเนินงาน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และประสานขอใช้สถานที่ดำเนินกิจกรรม
2) อำเภอประสานกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบให้เข้าร่วมกิจกรรม
3) จังหวัดจัดมหกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้แนวคิด “มหกรรมแก้จน สร้างคน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน” และแนวคิด “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางการพัฒนาตนเองให้แก่ครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนตระหนักและเรียนรู้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างมีทิศทาง และเพื่อสร้างกระแสการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจน โดยสนับสนุนกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส

แก่นความรู้ (Core Competency)
1. การวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้แต่ละอำเภอเชิญผู้แทนครัวเรือนยากจนมาร่วมกิจกรรม
2. การประชุมซักซ้อมแนวทางกับคณะทำงาน เพื่อกำหนดวางแผนแนวทางในการจัดงาน “มหกรรมแก้จน”
3. การประสานหัวหน้าส่วนราชการ ภาคีการพัฒนาเพื่อร่วมการลงนามแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่างส่วนราชการกับผู้ว่าราชการจังหวัด
4. ในการดำเนินดำเนินการ ขั้นตอนการ
5. ชี้แจงให้อำเภอทราบและมีส่วนร่วมในงานดังกล่าว
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การประสานงานแต่ละภาคส่วนอย่างชัดเจน รวดเร็ว และถูกต้อง
2. การอำนวยความสะดวก (facilitator) ให้กับทุกภาคส่วน ในการร่วมกับจัดกิจกรรมทั้งเรื่องการเตรียมวางแผน หนังสือเชิญ แจ้งหน่วยงาน และขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ
3. การทำงานที่มีเป้าหมายและยืดหยุ่นในวิธีการ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏี ทีเกี่ยวข้อง
1. หลักการพัฒนาชุมชน
2. หลักการทำงานเป็นทีม
3. หลักการมีส่วนร่วม
วันที่จัดการความรู้ 3 กรกฎาคม 2557

OfficeFolders theme by Themocracy