ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ลำปาง ปี 2548-2550
ร่างฯ นี้ผมเขียนเมื่อปี 2548 ตอนนั้นอยู่ที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 เป็นการเขียนร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ลำปาง สมัยนั้นก็มีนายอุดม มณีขัตย์ เป็นผู้อำนวยการฯ เพื่อกำหนดทิศทางว่าอีก 3 ปี จะนำพาเทคโนโลยีสารสนเทศของ ศพช. ไปทางทิศใด เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์ และอาจเป็นองค์ความรู้ ที่หน่วยงานอาจไปประยุกต์ใช้ ได้ไม่มากก็น้อย แผนแม่บทฯ ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญและเป็นเข็มทิศในการนำพาองค์กรอย่างมีหลัก
ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ลำปาง ปี 2548-2550
ส่วนที่ 1 บททั่วไป วิสัยทัศน์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์
เป็นเลิศในการเป็นผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน
วิสัยทัศน์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
เป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาใช้สนับสนุนการบริหาร และการ
บริการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 5 ลำปาง
พันธกิจ
เป็นหน่วยหลักในการผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดย
การผลิต พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปตามมาตรฐาน
พันธกิจศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
1.1. พัฒนาระบบข้อมูล /คลังข้อมูล
“มีการพัฒนาระบบข้อมูล /คลังข้อมูล ระบบบริหารที่ใช้งานร่วมกัน เพื่อการบริหารจัดการและ
การให้บริการ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างหน่วยงาน และการเข้าถึงบริการข้อมูลของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และมีคุณภาพ มีมาตรการจัดทำฐานข้อมูล และเครือข่ายฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและให้บริการแก่ภาครัฐและประชาชน”
1.2. พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
“มีการพัฒนา บริหารจัดการ และสร้างความปลอดภัย ระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้
การติดต่อสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูล การบริการข้อมูลข่าวสาร มีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง”
1.3. พัฒนาบุคลากร การให้ความรู้/การให้คำปรึกษา
“มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคน บนพื้นฐานและหลักการการใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนทันการณ์ และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุน และประสานการผลิตกำลังคนด้านการพัฒนาชุมชน”
1.4. เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
“ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงข้อมูล ได้รับ
บริการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง และเหมาะสม และสร้างความเข้มแข็งกลุ่มประชาคมด้านการพัฒนาชุมชน”
1.5. การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
“มีการจัดตั้งหน่วยบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในชื่อ ศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้เกิดบูรณาการและเอกภาพในการวางแผน การดำเนินงาน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ การติดตามประเมินผล และรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ ศพช.เขตที่ 5 ลำปาง เพื่อการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ”
ยุทธศาสตร์โดยรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการ
-ปรับปรุงระบบและวิธีบริหารงาน บริหารคน และการจัดการทรัพยากรให้สอดรับกับหลักการบริหารจัดการที่ดี
-ปรับเปลี่ยนบทบาทและกลไกการบริหารจัดการที่ส่งเสริมหลักการกระจายอำนาจ
-ปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน และการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงาน
-พัฒนาศูนย์รวมข้อมูลด้านการพัฒนาชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อการใช้ประโยชน์ระหว่างภาคีเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนและภาคีเครือข่าย
-พัฒนาระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนและชุมชนให้ตระหนัก และมีสำนึกต่อสาธารณะ
เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน
-พัฒนากระบวนการให้ความรู้ และการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมหวงแหนท้องถิ่น
ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับหลักวิชาการเพื่อการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม
-สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายภายในชุมชนและระหว่างชุมชนเพื่อเกิดการเรียนรู้
อย่างเท่าทัน และร่วมมือพิทักษ์สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ
-เสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรท้องถิ่นในการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
ดำเนินการด้านการพัฒนาชุมชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
-สร้างและสนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ในกระบวนการแก้ไข
ปัญหา การกำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี
-สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมองค์ความรู้
และเทคโนโลยีที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
-สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการศึกษาวิจัย และการผลิตเทคโนโลยีทั้งในระดับท้องถิ่นและการ
พัฒนาสู่สากล
-สร้างศักยภาพและทักษะของนักวิชาการในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อผสาน
เทคโนโลยี / องค์ความรู้สมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
-สร้างและพัฒนาทีมงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งด้านบริหาร และด้านวิชาการ
-พัฒนาระบบให้บริการทางวิชาการ เพื่อการเข้าถึงข้อมูล และเกิดการเรียนรู้อย่างทั่วถึงในทุกระดับ
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์สถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.1. บทวิเคราะห์สถานภาพด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เฉพาะภายในหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านต่างๆ ดังนี้
2.1.1. ปัจจัยด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย
จุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ
-หน่วยงานศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบคอมพิวเตอร์
และเครือข่ายภายในหน่วยงานของตนเอง
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีการพัฒนาระบบงานด้าน
บริหารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
จุดอ่อน/ปัญหา
-จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ Personal Computer
ไม่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอต่อการใช้งานกับโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน
-ระบบเครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ไม่สามารถ
รองรับการทำงานของระบบงานคอมพิวเตอร์ รวมถึงปริมาณข้อมูลที่มีการรับ-ส่งระหว่างเครือข่ายในปัจจุบัน และขาดระบบรักษาความปลอดภัย และระบบบริหารจัดการเครือข่าย
-การพัฒนาระบบสารสนเทศของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
ขาดการวางแผนพัฒนาระบบในภาพรวม ขาดมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
-ขาดการบริหารจัดการด้านกระบวนการเก็บข้อมูล ไม่มีทะเบียนที่อยู่ของข้อมูล มีความ
ซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล
2.1.2. ปัจจัยด้านบุคลากร
จุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ
-มีการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
-บุคลากรศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีความต้องการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จุดอ่อน/ปัญหา
-จำนวนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่มี
หน้าที่รับผิดชอบงานด้านอื่น
-บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
-จำนวนบุคลากรมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการเกลี่ยอัตรากำลัง
2.1.3. ปัจจัยด้านงบประมาณ
จุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ
-สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้การจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานราชการ
น้อยลง
จุดอ่อน/ปัญหา
-ไม่มีการวางแผนการใช้งบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้
ขาดทิศทางที่ชัดเจน
2.1.4. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
จุดแข็ง/ข้อได้เปรียบ
-ผู้บริหารทุกระดับมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จุดอ่อน/ปัญหา
-โครงสร้างขององค์กรที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่ชัดเจน
-ขาดแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
-ขาดการวางแผนและการประสานงาน และติดตามประเมินผลด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
2.2. บทวิเคราะห์สถานภาพด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
ภายนอก รวมทั้งปัจจัยหรืออิทธิพลจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของหน่วยงาน
2.2.1. หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
โอกาส
-มีหน่วยงานระดับชาติ กระทรวงและกรม ดำเนินการ / สนับสนุนการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
-ความตื่นตัวในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของเจ้าหน้าที่และประชาชน
เพิ่มขึ้น
-มีภาคีการพัฒนาที่ใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มีความเชี่ยวชาญด้าน
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง เป็นศูนย์กลางในการบริหารกับสำนักงาน
พัฒนาชุมชนจังหวัด 6 จังหวัดและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/กิ่งอำเภอ 79 แห่ง
-สถานที่ตั้งของศูนย์ฯ อยู่ใกล้กับจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบ/อุปสรรค
-ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้บุคลากรไม่
สามารถพัฒนาองค์ความรู้ได้ทัน
-ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของระบบสารสนเทศในหน่วยงาน (Hacker , Cracker ,
Virus ) การแพร่กระจายไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายก่อกวนระบบข้อมูลยากต่อการดูแล
-หน่วยงานภาครัฐขาดการวางแผนและประสานงานกันในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร ขาดการบูรณาการและเอกภาพ
2.2.2. ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และข้อกำหนดในแผนแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศ พ.ศ. 2545-2549
โอกาส
-รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐอย่างชัดเจน เพื่อให้หน่วยงาน
ราชการมีลักษณะเป็น e-government
-รัฐบาลสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานภาครัฐมีการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการ
สื่อสาร เพื่อให้มีการวางแผนการพัฒนาและการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน
ผลกระทบ/ภัยคุกคาม
-ผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของหน่วยงาน ขาดความเข้าใจใน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสาร ของประเทศไทย
2.2.3. มาตรฐาน ข้อกำหนด กฎ ระเบียบ กฎหมาย
โอกาส
-การเผยแพร่ข้อมูลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
-มีเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ระบบเปิดจำนวนมาก ที่นำมาพัฒนาต่อยอดได้
ผลกระทบ/ภัยคุกคาม
-กฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
มีการกำหนดรายละเอียดที่ล้าสมัยไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
-ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศ
ส่วนที่ 3 เป้าหมายโดยรวมและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.1. เป้าหมายโดยรวมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
“ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
การปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายตามภารกิจ และพัฒนาระบบข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อการเผยแพร่ที่ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาชุมชน ที่ครบถ้วน รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์”
3.2. ยุทธศาสตร์ที่ 1. พัฒนาระบบการบริหารภายในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
“การพัฒนาซอฟต์แวร์ Back Office เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในระบบบริหารขั้นพื้นฐาน เพื่อ
สนับสนุนการปฏิรูประบบราชการโดยการใช้เครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัย ให้ส่วนราชการใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพลดความซ้ำซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดการบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โปร่งใส มีความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง”
3.2.1. เป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 1
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบบริหารงานสำนักงานอัตโนมัติ
ได้แก่ ระบบงานสารบรรณและการติดตามเอกสาร ระบบบุคลากร ระบบการประชุมทางไกล ระบบแผนงาน ภายในปี 2549
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบการกำกับติดตามประเมินผลการ
-ดำเนินงานของหน่วยงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ภายในปี 2549
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านการสร้างเสริมการพัฒนาชุมชน
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ภายในปี 2549
3.2.2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่สามารถบรรลุยุทธศาสตร์ที่ 1
แผนงาน 1.1. การพัฒนาระบบการบริหารงาน
แผนงาน 1.2. การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 1.3. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหาร
แผนงาน 1.4. การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการการพัฒนาชุมชน
แผนงาน 1.5. การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
3.3. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการให้บริการ
“การพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน และเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ประโยชน์จากบริการ รวมถึงการแสดงความคิดเห็น ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานได้”
3.3.1. เป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 2
-ทุกหน่วยงานในสังกัด ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีการให้บริการ
ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ภายในปี 2549
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบฐานข้อมูล ที่สามารถเชื่อมโยง
และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นตามมาตรฐานกลางที่กำหนด ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีสื่อความรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านการพัฒนาชุมชน
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบให้บริการข้อมูลข่าวสารตาม
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ภายในปี 2549
3.3.2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่สามารถบรรลุยุทธศาสตร์ที่ 2
แผนงาน 2.1. การพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน ผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต
แผนงาน 2.2. การพัฒนาสื่อความรู้อิเล็กทรอนิกส์ ด้านการพัฒนาชุมชน
แผนงาน 2.3. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารกรมอนามัย ตามพรบ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
3.4. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการบริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศ
“ระบบเครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง สามารถรองรับระบบงาน
ปริมาณข้อมูล และผู้ใช้ระบบ ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความปลอดภัย ระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล ทำให้การติดต่อสื่อสาร การรับส่งข้อมูลมีความรวดเร็วครบถ้วนตลอดเวลา”
3.4.1. เป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 3
-ทุกหน่วยงานในสังกัดสามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2549
-ทุกหน่วยงานในสังกัดสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ภายในปี พ.ศ. 2549
-ระบบเครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีความปลอดภัยจากการ
โจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.4.2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่สามารถบรรลุยุทธศาสตร์ที่ 3
แผนงาน 3.1. การพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต
ที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 3.2. การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือทาง
วิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
3.5. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ให้มีความรู้และ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยดำเนินการให้เกิดความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี (Technology Literacy) ด้าน
สารสนเทศ (Information Literacy)”
3.5.1. เป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 4
-บุคลากรของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง สามารถใช้ประโยชน์จาก
ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
-บุคลากรของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ได้รับการฝึกอบรมด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบการให้ความรู้และคำปรึกษาด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.5.2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่สามารถบรรลุยุทธศาสตร์ที่ 4
แผนงาน 4.1. การพัฒนาบุคลากร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.6. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารและการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
“การจัดโครงสร้างการบริหารด้านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ที่ชัดเจนในการบูรณาการและเอกภาพในการวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ การติดตามประเมินผล ซึ่งสามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างคุ้มค่า”
3.6.1. เป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ 5
-ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีหน่วยงานบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-มีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารศูนย์ช่วยเหลือทาง
วิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
-หน่วยงานศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีการดำเนินการตามแผน
แม่บทและแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
3.6.2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่สามารถบรรลุยุทธศาสตร์ที่ 5
แผนงาน 5.1. การจัดตั้งองค์กร และกลไกขององค์กรเพื่อสนับสนุนงานด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ และการสื่อสาร โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนงาน 5.2. การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
ส่วนที่ 4 การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
4.1. การบริหารจัดการ
การดำเนินการในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง รับผิดชอบในการบริหารแผน มีผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีกรรมการ 1 ชุด ในการบริหารระบบข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยกรรมการ รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ทุก 3 เดือน
1. ให้มีศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นองค์กรรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
2. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีสารเสนเทศ ทุก 2 เดือน
องค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แบ่งเป็น 3 ระดับ
1. ระดับศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับเขต
2. ระดับจังหวัด มีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับจังหวัด
3. ระดับอำเภอ มีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับอำเภอ
ผังโครงสร้างการบริหารจัดการงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
-กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมายของการพัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง และกรมการพัฒนาชุมชน
-ประสานงานกับคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับจังหวัด และอำเภอ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-พิจารณาให้ความเห็นแผนการดำเนินงาน (Implementation plan) ในหน่วยงาน
-รวมทั้งแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นภายใต้กรอบนโยบายของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-ติดตาม ควบคุม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
-ผลักดันให้เกิดองค์กรหรือรูปแบบการทำงานภายใต้คณะทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับหน่วยงาน
-สนับสนุนส่งเสริมและประสานการดำเนินงานของคณะทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทและหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
-บริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
-การจัดทำร่างแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้าน ICT ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ให้สอดคล้องกับแผน ICT ของกรมฯ ปรับปรุงแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ให้สอดคล้องกับแผนแม่บท ICT ของกรม กระทรวงและระดับชาติ
-กำกับ ดูแลการดำเนินการตามนโยบาย ICTศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย
-กำกับดูแล ติดตามประเมินผลโครงการ ICT ของหน่วยงานในสังกัดศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง และรายงานในระดับเขต
-เสนอแนะโครงการด้าน ICT ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและบริการของศูนย์
ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง และจังหวัด/อำเภอ
-กำกับ ดูแลการพัฒนา ICT ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและการพัฒนาการใช้ให้มีประภาพ
เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
-ประสานและให้ความร่วมมือกับผู้บริหารและคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของเขต/จังหวัด/อำเภอ ในการจัดทำโครงการ ICT เพื่อแลกเปลี่ยนหรือใช้ข้อมูลร่วมกัน
-ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูล
-เป็นกรรมการที่เกี่ยวกับโครงการ ICT ของเขต
-ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2. การติดตามประเมินผล
การกำหนดตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ เพื่อวัดผลสำเร็จของแผนในภาพรวม หรือวัดผลกระทบ
สุดท้ายของการพัฒนาในชั้นต้น ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบการบริหารภายใน
1.1. ระบบการบริหารงานสำนักงานอัตโนมัติ ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้
1.2. ปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐที่ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
1.3. ระบบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร
1.4. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.5. ระบบกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบการให้บริการ
2.1. จำนวนหน่วยงานสังกัดศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปางและจำนวนผู้เข้า
เยี่ยมชม ที่ให้บริการข้อมูลความรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2.2. ระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
2.3. จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาชุมชน และการจัดการสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน
2.4. จำนวนระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตัวชี้วัดการจัดการบริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1. หน่วยงานภายในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายในและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2. ความเร็วในการเข้าถึงโครงข่ายหลัก
3.3. ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง มีระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตัวชี้วัดการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.1. จำนวนหลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้กับบุคลากรศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
4.2. จำนวนผู้ผ่านหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
4.3. ระบบการให้ความรู้ คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตัวชี้วัดการบริหารและการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
5.1. หน่วยงานบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5.2. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
5.3. แผนปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
5.4. ระบบกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ส่วนที่ 5 สรุปยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แผนงาน/
โครงการ/กิจกรรมหลัก ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย
และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย
5.1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารภายในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน
เขตที่ 5 ลำปาง ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 คือ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.3.(1) ให้เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวงโดยตั้งศูนย์
แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ และใช้มาตรฐานข้อมูลเดียวกัน โดยใช้เครือข่าย Intranet ของภาครัฐความเร็วสูงที่มีระบบการกำกับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม (Government Data Exchange:GDX)
แผนงานกิจกรรมที่ 7.3.(3) พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายในกระทรวงให้ทำหน้าที่สนับสนุน
การตัดสินใจของผู้บริหาร (MIS) การบริหารงานภายในของส่วนราชการ (Back Office) และการให้บริการประชาชน ( Front Office) เช่นการให้บริการประชาชน การลงทะเบียนบุคคล การบริการฐานข้อมูลด้านต่างๆ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.4. รัฐจัดให้มีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System :
GIS) ของประเทศที่ทันสมัย และนำมาใช้งานกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากร และการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ แบบบูรณาการ และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทยและกรมการพัฒนาชุมชน คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการและบริการประชาชน
แผนงานที่ 1.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการของกระทรวงมหาดไทยให้มี ประสิทธิภาพและทันสมัย
แผนงานที่ 1.4 พัฒนาระบบข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการบริหารจัดการชุมชนและแก้ไขปัญหา
ความยากจน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพและขีดความสามารถในการให้บริการ
– คุณภาพของระบบสารสนเทศ
- การใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศ
แผนงานตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 1.1. การพัฒนาระบบการบริหารงาน
แผนงาน 1.2. การพัฒนาระบบการกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 1.3. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ
การตัดสินใจของผู้บริหาร
แผนงาน 1.4. การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาชุมชน และการจัดการ
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน
แผนงาน 1.5. การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
หมายเหตุ
-การพัฒนาระบบบริหารขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบราชการโดยการใช้เครื่องมือ
การบริหารจัดการที่ทันสมัย ,มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
-การพัฒนาระบบข้อมูลศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ที่ใช้เป็นมาตรฐาน
เดียวกันและใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของ
หน่วยงานศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
5.2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการให้บริการ (Front Office)ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมไทย
แผนงานกิจกรรมที่ 2.3 ให้ใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา สร้างเนื้อหาความรู้ และใช้ในการ
เรียนการสอน โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สื่อความรู้ต่างๆ สามารถเข้าถึงได้จากทุกส่วนของประเทศไทย
แผนงานกิจกรรมที่ 2.5. ส่งเสริมการพัฒนาข้อมูลและความรู้ที่ช่วยในการครองชีพและยกระดับคุณภาพสังคมของชุมชน อาทิ การศึกษาต่อเนื่อง การสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาชุมชนไทย การเตือนการป้องกัน ฯ มาใช้ประโยชน์ร่วมกับ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นองค์ประกอ
หนึ่งที่ส่งเสริมนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและ
การให้บริการของภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.3.(3) พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายในกระทรวงให้ทำหน้าที่
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (MIS) การบริหารงานภายในของส่วนราชการ (Back Office) และการให้บริการประชาชน ( Front Office) เช่นการให้บริการประชาชน การลงทะเบียน การเก็บเงินด้านต่างๆ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.3.(5) จัดให้มีบริการข้อมูลที่เปิดสำหรับประชาชน ตาม
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการเพื่อให้ประชาชนมีความใกล้ชิดและมีความเข้าใจดีกับการดำเนินงานของรัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.8.(3) พัฒนาศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารสนเทศและบริการภาครัฐ
(e-Government Portal) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
แผนงานตามยุทธศาสตร์ที่ 2 ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทาง
วิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 2.1. การพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อการ
เรียนรู้และมีส่วนร่วม ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แผนงาน 2.2. การพัฒนาสื่อความรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านการพัฒนาชุมชน และการจัดการ
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน
แผนงาน 2.3. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต
ที่ 5 ลำปาง ตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
หมายเหตุ
-การพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อการเรียนรู้และการมี
ส่วนร่วม และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และมีคุณภาพ
-การพัฒนาระบบข้อมูลศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ที่ใช้เป็นมาตรฐาน
เดียวกันและใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-การพัฒนาระบบข้อมูลที่ผู้รับบริการสามารถใช้ประโยชน์จากบริการ รวมถึงสามารถแสดงความคิดเห็น
ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานได้
5.3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการบริหารการใช้โครงข่ายสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและ
การให้บริการของภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.5. ให้ส่วนงานภาครัฐของทุกกระทรวง จัดการบริหารการใช้
โครงข่ายสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคงโดยหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้ำซ้อน
แผนงานตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 3.1. โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 3.2. การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
หมายเหตุ
-การพัฒนาระบบเครือข่ายสามารถรองรับระบบงาน ปริมาณข้อมูล และผู้ใช้ระบบที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
-การสร้างความปลอดภัย ระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล ทำให้การติดต่อสื่อสาร การรับส่งข้อมูลมีความ
รวดเร็วครบถ้วนตลอดเวลา
5.4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บท
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.6. พัฒนาบุคลากรภาครัฐ ซึ่งจะเป็นทรัพยากรสำคัญในการบริหารจัดการระบบ
ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หมายเหตุ
การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง ให้มีความรู้ด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารและการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ซึ่งสอดคล้อง
กับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและ
การให้บริการของภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.2. ดำเนินการปฏิรูปการบริหารและการจัดการของหน่วยงานของ
หน่วยภาครัฐ
แผนงานกิจกรรมที่ 7.7. ให้พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลด้วยดัชนีชี้วัดตาม
มาตรฐานสากลที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อสามารถประเมินผลสำเร็จและวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของชาติตามแนวทางแผนแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนงานตามยุทธศาสตร์ที่ 5 ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือ
ทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 5.1. การจัดตั้งองค์กร และกลไกขององค์กรเพื่อสนับสนุนงานด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ และการสื่อสาร
แผนงาน 5.2. การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ลำปาง
แผนงาน 5.3. การพัฒนาระบบการกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
————
นายเล็ก
นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
forgiveness@phrasing.sucked” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî çà èíôó!…
raining@malden.fatal” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
refine@tallahoosa.hodosh” rel=”nofollow”>.…
благодарствую….
riddles@dandily.minutemen” rel=”nofollow”>.…
сэнкс за инфу!!…
hookworm@dogmatism.woe” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðñòâóþ….
connected@multiplying.biochemical” rel=”nofollow”>.…
thanks….
heeled@breathtaking.quakes” rel=”nofollow”>.…
ñýíêñ çà èíôó!!…
monsieur@suicides.vecchio” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
plasm@sturgeon.hauled” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðñòâóþ!…
dummkopf@taken.nowadays” rel=”nofollow”>.…
tnx!!…
stager@scrutinized.darlin” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî!…
rechartering@brannon.suspiciously” rel=”nofollow”>.…
ñïñ çà èíôó….
quakers@bullyboys.lovering” rel=”nofollow”>.…
ñïñ!…
whynt@torpor.auto” rel=”nofollow”>.…
thank you….
woodburys@sbas.dimensionally” rel=”nofollow”>.…
ñïñ!…
lambarene@disparity.centralized” rel=”nofollow”>.…
ñïñ!!…
fredrikshall@dealerships.dialed” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî çà èíôó….
melbourne@hierarchy.hephzibah” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðåí….
slickers@mantles.haughtons” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðþ!!…
grinds@orchards.chevalier” rel=”nofollow”>.…
ñïñ….
bertha@dynasties.gather” rel=”nofollow”>.…
hello!!…
romanza@pomham.resuspended” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî çà èíôó….
conlow@stews.dangled” rel=”nofollow”>.…
áëàãîäàðåí!!…
unauthorized@scarecrowish.krauts” rel=”nofollow”>.…
ñïñ çà èíôó!…
card@benched.laws” rel=”nofollow”>.…
ñïàñèáî!!…
chemists@misbranded.isham” rel=”nofollow”>.…
ñïñ çà èíôó!…
bramantes@whitetail.tinkers” rel=”nofollow”>.…
ñïñ….
seen@evidential.voyage” rel=”nofollow”>.…
thanks for information!!…
detroit@extend.gristmill” rel=”nofollow”>.…
ñýíêñ çà èíôó!!…