การทำบัญชีครัวเรือน

By admin, เดือนสิงหาคม 15, 2014

ชื่อ – นามสกุล นายยศวีร์ คงสวัสดิ์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนา
เบอร์โทร.ที่ติดต่อสะดวก ๐๙๐๔๖๗๙๗๐๗
ชื่อเรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน.
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี ๒๕๕๖
สถานที่เกิดเหตุ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อเรื่อง

อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอน้องใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอแม่แจ่มในยุคนั้นการคมนาคมไม่สะดวกสบาย เป็นถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญมากชุมชนอยู่กันแบบพอเพียงจริงๆไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ อาศัยพึ่งพาตนเองเป็นหลัก เมื่อเปิดอำเภอใหม่ ในปี ๒๕๕๓ เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ขึ้น กับชุมชน ถนนหนทาง การคมนาคม สะดวกขึ้น มีถนนคอนกรีต มีไฟฟ้า มีร้านรวงเกิดขึ้นมากมาย วิถีชีวิตของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับชุมชนอย่างรุนแรง บ้านแม่ละอูปหมู่ที่ ๓ ตำบลแจ่มหลวง ก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่โดนผลกระทบนี้เช่นกันแต่บ้านแม่ละอูปเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอกัลยาณิวัฒนาประชาชนเป็นชาวปะกากะญอ ได้ผ่านการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ทำแผนชีวิต และทำบัญชีครัวเรือนโดยเริ่มจากครัวเรือนเป้าหมาย ๓๐ ครัวเรือนและขยายเป็น ๖๐ ครัวเรือนในที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้คนในชุมชนรู้ทันอนาคตเพื่อจะปรับตัวให้ทันความเจริญที่ถาโถมเข้ามาคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือนซึ่งหมายถึงการบันทึกรายการและจำนวนเงินส่วนที่เป็นรายรับและรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือน เป็นประจำทุกวันที่มีการรับและจ่าย พร้อมทั้งสรุปผลเพื่อเป็นสถิติเปรียบเทียบ เพื่อใช้ในการพิจารณาถึงงบดุลของครัวเรือน การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นและเป็นอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผน กำหนดแนวทางการใช้จ่ายของครอบครัวอย่างพอประมาณและสามารถนำข้อมูลของทุกครัวเรือนมาสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้านในการจัดทำแผนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครัวเรือนในหมู่บ้านมีกิจกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ หลังจากทำบัญชีครัวเรือนแล้วผลที่เกิดขึ้นกับบ้านแม่ละอูป ได้แก่
๑. การกำหนดแนวทางการใช้จ่ายลดค่าอบายมุขลงอย่างได้ผล
๒. ครอบครัวมีการดัดแปลงการผลิตของกิน ของใช้ ใช้ทดแทนเพื่อลดรายจ่าย
๓. ครอบครัวอบอุ่นได้ร่วมกันคิดและเขียนบัญชี
๔. ครอบครัวได้ศึกษาความรู้ด้วยกัน
๕. ชุมชนเกิดมีการออมหลายรูบแบบ
เมื่อชุมชนรู้ว่าเรื่องใดควรแก้ไข เรื่องใดควรรักษาไว้ก็จะปรับปรุงแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนได้ด้วยสาเหตุและแนวทางแก้ใขร่วมกัน จึงทำให้ชุมชนสามารถอยู่กันอย่างมีความสุขและปรับตัวเข้าทันกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเจออยู่ในปัจจุบัน
บันทึกขุมความรู้
-การปฏิบัติตามขั้นตอนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
-การส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนและหมั่นตรวจให้กำลังใจครัวเรือน
-การประเมินผู้เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน
-ชี้แจงสาเหตุ สร้างความเข้าใจ ความถูกต้องและประโยชน์ของชุมชน
-สร้างความพอใจให้ทุกฝ่าย
-กรรมการสามารถบริหารงานได้อย่ามีประสิทธิภาพ
แก่นความรู้
-ศึกษาปัญหา หาข้อมูล
-ปรึกษาหารือ
-ศึกษา ทำความเข้าใจกับวิธีการ วัตถุประสงค์การทำบัญชีครัวเรือน
-สร้างความพึงพอใจของทุกฝ่าย

OfficeFolders theme by Themocracy