การทำงานเอกสารให้เป็นไปตามตัวชี้วัดพัฒนาชุมชน

By admin, เดือนตุลาคม 29, 2011

แบบบันทึกองค์ความรู้

ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นางสุวิชาดา     หน่อปัน

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัดกลุ่ม/องค์กร สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ออน

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก ๐๘ ๑๙๕๐ ๙๒๗๕

image002

ชื่องาน การทำงานเอกสารให้เป็นไปตามตัวชี้วัดพัฒนาชุมชน

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การปรับทัศนคติ –การยืดหยุ่น-การบูรณาการ เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนให้บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัด

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมกราคม   ถึง  กันยายน ๒๕๕๔

สถานที่เกิดเหตุการณ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่

เนื้อเรื่อง การทำงานตามยุทธศาสตร์ และภารกิจในบทบาทพัฒนากรผู้ประสานงานรับผิดชอบประจำตำบล  และงานยุทธศาสตร์ต่างๆ  รวมทั้งงาน อื่น ๆ อีกมากมาย (ไม่สามารถอธิบายได้หมดและเข้าใจงานได้ในเวลาอันจำกัด) ทำให้ได้มีความรู้จักคน/กลุ่มองค์กรและผลการทำงานของกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่  รู้จักสถานการณ์  รู้จักแกนนำคนสำคัญ ๆ ที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมของชุมชนที่เด่นชัดประเด็นต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นธรรมชาติ (ที่มนุษย์พยายามชนะธรรมชาติ)    การสร้างภูมิคุ้มกันในการทำงานของตนเอง โดยการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์/กลยุทธ์และประเด็นต่างๆ ที่เป็นภารกิจหลัก  สำคัญตามบทบาทหน้าที่ของพัฒนากร –และการประเมินผลงานพัฒนาที่ทำเป็นกระบวนการ/กระบวนงาน จะเชื่อมโยงอย่างไรให้เป็นรูปธรรม   คิดทำอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงงานเหล่านั้นให้เป็นระบบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่แล้วของพัฒนากรในพื้นที่ขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดเป็นเนื้องาน แล้วเกิดเป็นผลงานการบริหารจัดการ ของทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

วิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการทำงาน

๑.ศึกษาข้อมูล/ผลงาน/วิเคราะห์  พื้นที่ เลือก  งานที่รับผิดชอบ กับเป้าหมาย KPI (รู้จัก)

๒ ศึกษาและหาการเชื่อมต่อของงานในกิจกรรมที่เกิดในพื้นที่ – กับแนวทางดำเนินงานตามวิธีการของนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

๓.พิจารณา /วิเคราะห์ / แจกแจง ประสานเชื่อมต่องานของ พื้นที่ (ในพื้นที่)  กับเงื่อนไขของนักวิชาการ ฯ และการประเมินผล-วัดจากเอกสาร  (ใช้ประเด็นทรัพยากร เป็นเครื่องมือการเรียนรู้-นำเสนอ)

๔.เตรียม/ปรับปรุง/ รวบรวม /เติมเต็ม  เพื่อสรุปให้เป็นผลงานภาพรวมของ กิจกรรมในพื้นที่แต่ละประเด็น KPI   โดยใช้การยืดหยุ่น  /ไม่มีรูปแบบตายตัว  ให้ครบถ้วน

๕. การตรวจสอบทบทวนให้ครบถ้วนทุกประเด็น  แล้วทำรูปเล่ม /รายงาน/ ส่งจังหวัด

๖. เนื้อหา/สาระ งานในพื้นที่  จัดส่งเป็น File / ให้ชุมชนได้ศึกษา –นำไปปรับใช้ ประชาสัมพันธ์

บันทึกขุมความรู้

๑.พัฒนากรต้องรู้ เข้าใจในยุทธศาสตร์ตามภารกิจของงาน และทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ (ศักยภาพของพื้นที่)  การสนับสนุน กิจกรรมงาน ในบทบาทพัฒนากรประจำตำบล  ทำการศึกษา  แนวทางการทำงาน  วิธีการ/ขั้นตอน  เป้าหมาย  ผลลัพท์สุดท้าย

๒.พัฒนากรต้องทำหน้าที่เอื้ออำนวยการให้การทำงานในพื้นที่ ร่วมกับเป้าหมาย เป็นไปอย่างราบรื่น บางครั้งรวดเร็ว รวบรัด ตามสถานการณ์

แก่นความรู้ (นำขุมความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้)

๑.การเชื่อมโยงภาพรวมของงานในพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ วิเคราะห์หาความต่างที่ขาดหายไป เพื่อเตรียมดำเนินการเติมเต็ม-จัดกิจกรรมในพื้นที่ให้ครอบคลุม

๒.รู้คน/รู้งาน/รู้สถานการณ์/รู้ข้อจำกัดของตนเอง-คนในพื้นที่

๓.การเติมเต็มในเรื่องของความรู้-ความเชื่อมโยง-คนพื้นที่ –สื่อที่ใช้ง่าย ๆ โดยเจ้าหน้าที่ศึกษาแนวทางการบูรณาการงาน  วิเคราะห์ถึงกิจกรรมที่จะนำมาเชื่อมโยงตามภารกิจ  และปฏิทินงานที่เกิดขึ้นในช่วงของการทำงาน ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่  (ความพร้อมในการนำเสนอ-เล่นประเด็นให้ครบตามเอกสาร KPI)

กลยุทธ์ในการทำงาน (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)

มีหน้าที่ – ทำ – ทำให้ดี – ทำให้ได้ -,มีขันติในการทำงาน

วิธีการ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ –ไม่ติดกับดักทางความคิด – จบงานเอกสารให้เป็น – ไม่หลงในความรู้ -ให้พอในเวลาอันกำหนด

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ไร้รูปแบบ/ใช้ทุกรูปแบบ  – ตามสถานการณ์

ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน เอกสารเพื่อประเมินผลการปฏิบัติราชการ

๑.     การทำงานพื้นที่ตามประเด็น/ตามกิจกรรม/ให้เป็นระบบ – ครบถ้วน -ครอบคลุม

๒.     การสร้างอารมณ์ในการทำงาน/ความคิดที่ดี ๆ เพื่อพัฒนาความรู้สึก ดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของผู้ปฏิบัติ และศักยภาพในพื้นที่ที่เรียนรู้ร่วมกัน-ทำงานร่วมกัน

๓.     การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง/ศึกษางานที่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่เลือกงานที่ชอบ-ไม่ชอบ  แล้วทำให้ดีที่สุด – ไม่ยึดไม่ติด พร้อมเปลี่ยนแปลงได้

OfficeFolders theme by Themocracy