การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่สูงร่วมกับชาวไทยภูเขา ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่

By admin, เดือนกันยายน 20, 2011

ภาพนิ่ง1จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยชนเผ่า หลากหลาย ประกอบด้วย เผ่าม้ง สีซอ กระเหรี่ยง หลักและแนวทางในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชนเผ่าต่างๆ จะต้องอาศัยหลักและแนวทางในการทำงานหลายรูปแบบ ทั้งในการสังคมวิทยา ทางรัฐศาสตร์ (การปกครอง) ตลอดจนการใช้หลักกฎหมาย คือนิติศาสตร์ ในการดำเนินงานบางกรณี เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายในการปฏิบัติงานของทางราชการ
ศักยภาพและบริบทของชุมชนในแต่ละท้องที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกัน ดังนั้น จึงไม่มีบทสรุปหรือแบบเรียนหลักในการทำงานที่ เป็นรูปแบบที่ตายตัว จำเป็นต้องอาศัยการประยุกต์ใช้ในการทำงาน ในแต่ละท้องที่ ตามประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 หลักการทำงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชนในการทำงานร่วมกับชุมชนบนที่สูง จะต้องเป็นบุคคลากรที่เข้าใจ ภูมิหลัง ของชนเผ่าที่จะต้องเข้าทำงานด้วย หมายความว่า จะต้องศึกษาว่า ชนเผ่าหรือกลุ่มองค์กรที่จะเข้าไปร่วมกิจกรรมนั้น มีพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร มีขนบธรรมเนียม ศิลปะวัฒนาธรรมอย่างไร และจะต้องรู้และทราบว่า มีสิ่งไหนที่เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขา เราก็อย่างทำ
ประเด็นที่ 2 หลักการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จึงสำนึกไว้เสมอว่า เรามาทำงานเพื่อช่วยเหลือเขาไม่ใช่การเข้ามาเป็นนาย เป็นผู้ปกครอง หรือ จ้องแต่จะเอาผลประโยชน์จากเขาเพียงอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ให้ การให้ในที่นี้หมายความว่าการให้ความรู้ ให้แนวทาง ในการดำเนินชีวิต และการทำกิจกรรมร่วม
ประเด็นที่ 3 จะต้องแสวงหาแนวร่วมในการทำงาน คือการให้บุคลากรในพื้นที่เป็นผู้มีบทบาทในการทำกิจกรรม เพื่อตอบเสนอความต้องการของ องค์กร และมีการกล่าวชมเชยเมื่อภารกิจเสร็จสิ้น โดยเฉพาะผู้นำแกนนำต่างๆในพื้นที่
ประเด็นที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม ที่แก้ไขปัญหาของชาวบ้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพราะจะทำให้เกิดความเชื่อถือ เคารพและสามารถนำการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ 5 จงอย่าทำตัวให้แตกต่าง ให้พยายามทำตัวให้เป็นมิตรกับกลุ่มองค์กร ในฐานะของผู้ร่วมงานไม่ใช่ทำตัวในฐานะของผู้บังคับบัญชา กับผู้ใต้บังคับบัญชา จงคิดเสมอว่า ชาวบ้านไม่ใช่ ลูกน้องเรา เขาเป็นผู้ร่วมกิจกรรมในการพัฒนาของเรา และให้คำนึงอยู่เสมอว่า ศักยภาพของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องมีความอดทน และเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
เทคนิคการทำงาน
1.หาแนวร่วม การทำกิจกรรม (หาบุคลากรที่มีความรู้ในชุมชน) เข้ามาทำงานร่วมกัน
2.เข้าหาผู้นำ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
3.ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนอย่างต่อเนื่อง
4.ชี้แจงการดำเนินงานให้แกนนำทำความเข้าใจและ หาแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน
5.บางกรณี ต้องใช้ล่าม ต้องอธิบาย หลักการ กระบวนการทำงานและเป้าหมายให้กับล่าม เข้าใจให้ละเอียด เพื่อประกันความผิดพลาดในการดำเนินงานร่วมกัน

OfficeFolders theme by Themocracy