หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

By admin, เดือนมิถุนายน 27, 2011

แบบบันทึกองค์ความรู้

ชื่อ – สกุล             นางสาวปภัสสร      ปัญญา

image002

ตำแหน่ง                พัฒนาการอำเภอหางดง

สังกัด     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่อง  หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ชาวบ้านได้อะไร

๑.      ทุนชุมชนได้รับการพัฒนา

๒.    พัฒนา OTOP

๓.     ชุมชนเข้มแข็ง

เนื้อเรื่อง

ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่  ๒  ปีเศษซึ่งเป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่หลายหมู่บ้านกระจายอยู่ทุกตำบล ด้วยความหลากหลายของวิถีชีวิต  วัฒนธรรม  วัดวาอาราม  วิถีชีวิตของชาวบ้าน  การประกอบอาชีพหัตถกรรม  งานแกะสลักไม้  ปั้นดินผลิตเครื่องเคลือบดินเผา  วาดภาพศิลปะล้านนา  ผลิตงานไม้เน้นของใช้  ของประดับ  ตกแต่ง  และเฟอร์นิเจอร์

หมู่บ้านท่องเที่ยวที่รู้จักได้แก่

๑.บ้านถวาย  ตำบลขุนคง  มีศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย

๒. บ้านดู่  ตำบลบ้านแหวน  มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านดู่

๓.บ้านป่าตาล  ตำบลสันผักหวาน  มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านป่าตาล

๔.บ้านท่าขี้นาค  ตำบลหนองตอง  และบ้านบริวาร  มีผู้ผลิตโคมลอยกระดาษขายทั่วประเทศและส่งออก

-๒-

๕. บ้านเหมืองกุง  ตำบลหนองควาย  มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

๖. บ้านกวน  ตำบลหารแก้ว  ผลิตหม้อดินขนาดต่างๆ

๗.บ้านไร่กองขิง   ตำบลหนองควาย  มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ในหมู่บ้านเหล่านี้ล้วนมีการดำเนินงานของหมู่บ้านท่องเที่ยวควบคู่ไปกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดย

๑.      มีการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสล่า (ช่าง) และศิลปิน  ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น

๒.    ใช้ทุนชุมชน  เงินออม  เงินกองทุนหมู่บ้าน เป็นหลักในการผลิตสินค้า  ผลิตภัณฑ์ชุมชน

๓.     มีอัตลักษณ์ของคนทั้งวิถีชีวิต และงานอาชีพที่เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์

๔.     สร้างรายได้  สร้างงาน จากอาชีพหัตถกรรมและงานบริการในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนน่าอยู่

๕.     มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง โดยเป็นสมาชิกกลุ่ม  วิสาหกิจชุมชน  เข้าถึงแหล่งความรู้

๖.      การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตลาดของสินค้าทุกระดับ  ฉะนั้นอำเภอหางดงจึงมีนักท่องเที่ยวมาเยือนอยู่เสมอทั้งชาวไทย  ต่างชาติ และผู้นำประมุขของประเทศต่างๆ

การบันทึกองค์ความรู้

๑.วิถีชีวิต

การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวแบบวิถีชีวิตผสานวัฒนธรรม  อาชีพที่เป็นเอกลักษณ์จะเกี่ยวข้องกับ

-ปราชญ์ชาวบ้าน  สล่า (ผู้มีฝีมือช่าง)

-ชุมชนดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นชุมชนน่าอยู่  สุขสงบ

-ผู้นำ  แกนนำ  คณะกรรมการ  เข้าใจบทบาทหน้าที่ช่วยกันดุแลชุมชน

๒. การบริหารจัดการทุนของชุมชนแบบยั่งยืน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

๓. การประชาสัมพันธ์ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล/สารสนเทศชุมชนอย่างต่อเนื่อง  ผ่านสื่อต่างๆรวมทั้งสื่อเว็ปไซด์  แสดงให้เห็นวิถีชุมชนที่น่าสนใจ

๔.ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

๕.จัดให้มีมุมสวยงาม High  Light เพื่อถ่ายภาพสำหรับผู้มาเยือน

OfficeFolders theme by Themocracy