ปัญหาหมอกควัน

By admin, เดือนมิถุนายน 17, 2011

แบบบันทึกองค์ความรู้ (Km.)

ชื่อ – นามสกุล นายชัยวุฒิ  หงษ์ทอง

image004

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมนอำเภอพร้าว

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-7641022

ชื่อเรื่อง “ชมรมโลกสีเขียว”  อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ปัญหาหมอกควัน

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ตุลาคม 2552 – มิถุนายน 2554

สถานที่เกิดเหตุการณ์ ทุกหมู่บ้าน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

เนื้อเรื่อง

อำเภอพร้าว พยายามแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษ  โดยการปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเข้มงวดกวดขันไม่ให้เผาป่า และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัด การรณรงค์ให้ความรู้โดยสื่อต่างๆ  เป็นต้น แต่การดำเนินงานดังกล่าวขาดความต่อเนื่องและการสนับสนุนจากภาคประชาชน จึงสมควรจัดตั้ง “ชมรมโลกสีเขียวอำเภอพร้าว”   ขึ้น เพื่อเป็นองค์กรขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ภารกิจการรับนโยบาย “ปัญหาหมอกควัน” อำเภอพร้าว ซึ่งได้รับผลกระทบ ดังนี้

- ด้านสุขภาพ ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ทำลายระบบไหลเวียนเลือด ผื่นคัน ระคายเคืองที่ตา แสบตา ป่วย ภูมิแพ้ เยื่อหุ้มปอดอับเสบ โรคทางเดินหายใจ มะเร็งปอด

- ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเกรงกลัวจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชุมชนขาดรายได้ จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว

- สิ่งแวดล้อม เกิดภาวะโลกร้อน เรือนกระจกเพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เกิดจากการเผา จะเก็บกักความร้อนไว้ ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยายกาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

- สิ้นเปลืองงบประมาณ

การรณรงค์และแนวทางการปฏิบัติ

ห้ามเผา , ปลูกต้นไม้  , รดน้ำให้ความชุ่มชื้น , งดใช้เครื่องยนต์ รถยนต์ควันดำที่ทำให้เกิดควันพิษ , รณรงค์งดเผาศพด้วยฝืนและยางรถยนต์  , ลดการปิ้ง ย่าง  , งดเผาไร่ นา ป่า ขยะ , เศษผักไม้ทำปุ๋ยอินทรีย์  , งดปล่อยมลพิษ , คลุม ป้องกันฝุ่น ละอองต่างๆ

วัตถุประสงค์

-          เพื่อสร้างกระแส ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน องค์กรต่างๆให้เห็นถึงคุณค่า หวงแหนของป่าไม้ต้นไม้ ต้นน้ำ ลำธาร

-          เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้อย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว รั้วกินได้ สมุนไพร

-          สร้างอาสาสมัคร และผู้มีจิตสาธารณะ ร่วมกันดูแลพิทักษ์ป่า

-          ป้องกันมลพิษทางอากาศ โดยรณรงค์ ป้องกันการเผาป่า เผาขยะ เผาไร่

วิธีดำเนินการ

-          ประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อต่างๆ ได้แก่ วิทยุชุมชนทุกสถานีของอำเภอพร้าว เคเบิ้ลทีวี หนังสือพิมพ์สถานีตำรวจภูธรพร้าวทุกเดือน การประชุม ประชาคม การจัดทำแผนชุมชนทุกองค์กรในการรณรงค์ ป้องกันการเผาป่า เผาขยะ เผาไร่นา ทำลายป่า

-          เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรการมีส่วนร่วมกิจกรรมและสนับสนุนงบประมาณ  ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอำภอพร้าว ชมรมผู้สูงอายุทุกตำบล สภากาแฟ ผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  สถานศึกษา

-          รับสมัครสมาชิก “ชมรมโลกสีเขียว”

-          จักตั้ง “ธนาคารต้นไม้”

-          สนับสนุนการปลูกต้นไม้ทุกชนิด

-          จัดกิจกรรมสร้างฝายประชาอาสาประจำปี

-          จัดกิจกรรมด้านนันทนาการ กีฬา ของชมรมโลกสีเขียว

-          ประชาสัมพันธ์ทุกสื่อ ให้ความรู้ถึงคุณค่าของการปลูกต้นไม้ สมุนไพร การใช้ประโยชน์จากพืชโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

-          ส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด ลดภาวะโลกร้อนได้แก่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ผักสวนครัว รั้วกินได้ พืชสมุนไพร

-          ส่งเสริมกิจกรรมสมาชิก “ชมรมโลกสีเขียว” ให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้

-          ส่งเสริมอาสาสมัครและผู้ที่มีจิตสาธารณะร่วมดูแลพิทักษ์ป่า

-          ขับเคลื่อนปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” และโครงการพระราชดำริอื่นๆที่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)

-ภาวะโลกร้อน เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ในการบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า เผาขยะ เผาไร่

-การใช้สารเคมีด้านการเกษตร การทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ความไม่เข้าใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอากาศและปรากฏการณ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆเช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์

-ขาดการปลูกจิตสำนึกให้รักโลกสีเขียว

- การประสานงาน การมีส่วนร่วม การสนับสนุนเชื่อมโยงจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ

- การให้ความรู้แก่ ผู้นำ แกนนำ องค์กร ชาวบ้าน

- การสร้างความเชื่อมั่น การใช้ทรัพยากร การใช้ศักยภาพของชุมชน

- ส่งเสริมการขับเคลื่อนอย่างยั้งยืนตามปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”

-  การสร้างความภูมิใจ และการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน

แก่นความรู้ (Core Competency)

- การสร้างความรู้ความเข้าใจ แนวทาง โลกสีเขียว แก่ชุมชน

- ปรึกษาหน่วยงาน ภาคี การมีส่วนร่วม ที่เกี่ยวข้อง

- ศึกษา วิเคราะห์ ศักยภาพของชุมชน

- จัดเวทีประชาคมระดมความคิด หาข้อสรุปที่ตรงกัน

- ประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อต่างๆ ได้แก่ เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี  หนังสือพิมพ์สถานีตำรวจอำเภอ

- สร้างความเชื่อมั่น การต่อยอดกิจกรรมที่ยั่งยืน

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน

– การรับนโยบาย แนวทางจากนายอำเภอพร้าว

- การทำงานในรูปแบบกรรมการเป็นระบบ การทำงานเป็นทีม การเชื่อมโยง การประสานงานภาคี

- การสำรวจข้อมูล หมู่บ้าน ตำบล ที่ประสบปัญหาหมอกควัน

- แนวคิด ทฤษฎี ความรู้สู่การปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้อง

- กระบวนการมีส่วนร่วม การสนับสนุน วิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- การจัดเวทีประชาคม

– การประชาสัมพันธ์ การขายแนวความคิด

การต่อยอด กิจกรรมต่อเนื่อง

-          จัดเวทีประชาคม

-          จัดนิทรรศการ สื่อ วี ดี ทัศน์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

-  รวบรวมแหล่งความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์

-  เป็นแบบอย่างที่ดี และ การศึกษาดูงาน

แนวคิด/ปรัชญา

ในโลกปัจจุบันประชากรเพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ระมัดระวังขาดการสมดุล ก่อความเสียหายทำให้มนุษย์ได้รับผลกระทบต่อการดำรงค์ชีพ

นายชัยวุฒิ  หงษ์ทอง

ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

10 มิถุนายน 2554

OfficeFolders theme by Themocracy