ผ้าทอชาวเขาเผ่าปกากะญอ

By admin, เดือนมิถุนายน 13, 2011

แบบบันทึกองค์ความรู้

ชื่อ –สกุล       นางทิพย์วรรณ   เพียรสงวน

image002

ตำแหน่ง        นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

สังกัด            สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่อาย

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก  084-3714531

ชื่อเรื่อง  ผ้าทอชาวเขาเผ่าปกากะญอ

สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่

เนื้อเรื่อง

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาว 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้  ชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ลวดลาย สีสันของผ้าทอจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว จึงมีความสวยงาม และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยง มีการนำเมล็ดเดือย ซึ่งเป็นวัชพืชป่า ปักบนผืนผ้า สร้างเป็นลวดลายลักษณะเฉพาะ เป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ซึ่งสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้สตรีชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย นอกเหนือจากการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน เป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง

วิธีการทอผ้า

การขึ้นเครื่องทอ
เป็นการนำเส้นด้ายมาเรียงกันอย่างมีระเบียบตามแนวนอนขนานไปกับไม้ขึ้น เรียงลำดับไว้ ดังนี้ การเรียงด้ายจะใช้จำนวนคู่ เช่น 2 เส้น หรือ 4 เส้นครบก็ได้หากต้องการผ้าหนา หากเป็นเส้นด้ายพื้นเมืองปั่นเอง ปกตินิยมใช้ด้ายยืนเพียงเส้นเดียว เวลาเรียงใช้ 2 เส้นควบ หากเป็นด้ายสำเร็จรูป จะใช้ด้ายยืน 2 เส้นเวลาเรียงใช้ 4 เส้นควบ จำนวนด้ายอาจเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เป็นการทอผ้าลายนูนตามแนวยาว เช่น การทอเสื้อของผู้ชายสูงอายุของกะเหรี่ยงสะกอจะใช้ด้ายยืนปกติ คือ 1 เส้น เวลาเรียงใช้ 2 เส้นควบ เมื่อถึงเวลาจะเพิ่มด้ายยืนเป็น 2 หรือ 3 เส้น ฉะนั้นเวลาเรียงด้ายต้องใช้ 4 หรือ 6 เส้นควบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ

การเรียงด้าย มีขั้นตอนดังนี้
1. คล้องด้ายที่หลักที่ 1 และสาวด้ายทั้งหมดผ่านหลักที่ 2, 3, 4 และ 5 นำไปคล้องหลักที่ 6 และสาวกลับมาคล้องหลักที่ 1
2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันและนำมาพันรอบหลักที่ 2 ตามแนวเข็มนาฬิกา
3. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันมาทางด้านหน้าหลักที่ 3 ซึ่งเป็นจุดแยกได้ โดยใช้ด้ายอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างด้ายที่แยกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ด้ายส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกผ่านด้านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้อง ตะกอดึงผ่านด้านหน้าหลักที่ 4
4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ดึงให้ตึงสาวพันอ้อมหลักที่ 5 ตามแนวเข็มนาฬิกา
5. ดึง ด้ายทั้งหมดให้ตึงพันอ้อมหลักที่ 6 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่หากต้องการสลับสี ก็เปลี่ยนด้ายกลุ่มใหม่เป็นสีที่ต้องการ โดยเริ่มตั้งแต่หลักที่หนึ่งเช่นกัน ทำหมุนเวียนไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนด้ายที่เรียงมีความสูงเท่ากับความกว้างของผ้าทีต้องการใช้
6. ถอดไม้ทั้งหมดออกจากไม้ขึ้นเครื่องทอ และนำไม้หน่อสะยาสอดเข้าไป เก็บตะกอแทนไม้กลูโข่ (หลักที่ 6) ซึ่งต้องใช้สำหรับช่วยแยกด้ายเวลาทอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วทอจะมีลักษณะดังภาพ จากนั้นนำเครื่องทอทางด้านไม้รั้งผ้าไปผูกยึดกับฝา หรือเสาระเบียงบ้าน โดยให้ได้ระดับความสูงประมาณศรีษะของผู้ทอขณะที่นั่งราบกับพื้น ส่วนทางด้านไม้พันผ้า นำแผ่นหนังมาอ้อมรอบเอวด้านหลังของผู้ทอ และผูกรั้งหัวท้ายกับปลายทั้งสองของไม้พันผ้า พร้อมกับดึงเครื่องทอให้ตึงพอประมาณ โดยผู้ทอกระเถิบถอยหลังนั่งในตำแหน่งที่เหมาะสม

การทอผ้าของกะเหรี่ยง มี 2 ชนิด
1. การทอธรรมดาหรือทอลายขัด

2. การทอเป็นลวดลาย

การวางลาย
ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

image004image006

OfficeFolders theme by Themocracy